Show simple item record

Humanitarian Services Behaviors: Patients’ vs. Providers’ Perspectives

dc.contributor.authorชื่นฤทัย ยี่เขียนth_TH
dc.contributor.authorChuenrutai Yeekianen_US
dc.date.accessioned2017-06-28T07:43:07Z
dc.date.available2017-06-28T07:43:07Z
dc.date.issued2560-06-30
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 11,2 (เม.ย.-มิ.ย. 2560) : 238-247th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4736
dc.description.abstractการวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบมุมมองของผู้ป่วยและผู้ให้บริการต่อพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีมนุษยธรรม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและผู้ให้บริการที่โรงพยาบาลสมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา สภากาชาดไทย กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ตารางเคร์จซีและมอร์แกน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสำรวจพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีมนุษยธรรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าคะแนนแบบลิเคิร์ท มีค่าดัชนีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ 1.7-2.0 คะแนน จากช่วงคะแนน 0-2 คะแนน มีความเที่ยงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟาที่ 0.95 การเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีมนุษยธรรมระหว่าง 3 กลุ่ม ใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว การเปรียบเทียบคะแนนพฤติกรรมการให้บริการอย่างมีมนุษยธรรมระหว่าง 2 กลุ่ม (ผู้ป่วยและผู้ให้บริการ) ใช้สถิติทีที่เป็นอิสระ กำหนดค่าความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ค่า p น้อยกว่า 0.01 ผู้ตอบแบบสำรวจเป็นผู้ป่วยนอก 500 ราย ผู้ป่วยใน 630 ราย และผู้ให้บริการ 1,250 คน โดยผู้ตอบแบบสำรวจผู้ป่วยในมีอายุเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาเป็นผู้ให้บริการและผู้ป่วยนอกตามลำดับ (ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) = 41.4 (16.1), 36.9 (10.3), 33.9 (9.6) ปี, p<0.001) ทั้ง 3 กลุ่มมีคะแนนความคิดเห็นต่อพฤติกรรมบริการอย่างมีมนุษยธรรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ โดยเรียงลำดับคะแนนจากน้อยไปมาก เป็นผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยในและผู้ให้บริการ (ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) = 80.8 (14.4), 82.0 (10.4), 85.3 (10.9) คะแนน จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน, p<0.001) ข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพบริการผู้ป่วยนอก คือ ควรให้ความสำคัญกับการพัฒนาพฤติกรรมบริการอย่างมีมนุษยธรรมในกลุ่มผู้ให้บริการทั่วไป และจุดที่ควรพัฒนา เช่น การอธิบายทางเลือกการรักษา การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ การอยู่เป็นเพื่อนและให้กำลังใจเมื่อผู้รับบริการเผชิญกับความทุกข์ทรมาน การให้ผู้รับบริการปฏิบัติตามศาสนา/ความเชื่อของตนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectระบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการทางการแพทย์th_TH
dc.subjectผู้ให้บริการth_TH
dc.titleพฤติกรรมบริการอย่างมีมนุษยธรรม : มุมมองระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการth_TH
dc.title.alternativeHumanitarian Services Behaviors: Patients’ vs. Providers’ Perspectivesen_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeA cross-sectional survey research aimed to compare the humanitarian behaviors between patients’ and providers’perspectives. The samples were out- and in-patients and staff of Queen Savang Vadhana Memorial Hospital, The Thai Red Cross Society. The sample sizes were estimated by Krejcie & Morgan table. Data were collected by the generated questionnaire with Likerts’ scale from 1 to 5 scores. Its indexes of item objective congruence were 1.7-2.0 from range 0-2 scores, and its reliability was 0.95 by Cronbach’s alpha. One-way analysis of variance and independent t-test were used to compare the humanitarian behavior scores among the three groups, and between the two groups including patients and provider. A p value less than 0.01 was defined as significant difference. Five hundred out-patients, 630 in-patients, and 1250 staffs answered the questionnaires. The average age of in-patients was the highest, followed by of staffs, and of out-patients (mean (SD) = 41.4 (16.1), 36.9 (10.3), 33.9 (9.6) year old (p<0.001), respectively). The humanitarian services behavior scores among the three groups were significant different, and the scores from lowest to highest were in-patients, out-patients, and staffs (mean (SD) = 80.8 (14.4), 82.0 (10.4), 85.3 (10.9) from 100 scores (p<0.001), respectively). The suggestions for quality improvement of the out-patient service were to emphasize on the humanitarian services behaviors of the general service staffs; such as, explaining the choices of treatments, participating in decision making, being presence and encouraging when the patients faced suffering, providing opportunity for patients’ compliance to their religious activities.en_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมบริการth_TH
.custom.citationชื่นฤทัย ยี่เขียน and Chuenrutai Yeekian. "พฤติกรรมบริการอย่างมีมนุษยธรรม : มุมมองระหว่างผู้ป่วยกับผู้ให้บริการ." 2560. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4736">http://hdl.handle.net/11228/4736</a>.
.custom.total_download3460
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month39
.custom.downloaded_this_year297
.custom.downloaded_fiscal_year481

Fulltext
Icon
Name: hsri_journal_v11n ...
Size: 248.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1334]
    บทความวิชาการ

Show simple item record