Show simple item record

สิทธิสุขภาพ สิทธิมนุษยชน

dc.contributor.authorสุรสม กฤษณะจูฑะth_TH
dc.contributor.authorธวัช มณีผ่องth_TH
dc.contributor.authorสันติพงษ์ ช้างเผือกth_TH
dc.contributor.authorอุ่นใจ เจียมบูรณะกุลth_TH
dc.contributor.authorรัชนี นิลจันทร์th_TH
dc.date.accessioned2018-04-05T07:39:21Z
dc.date.available2018-04-05T07:39:21Z
dc.date.issued2550-10
dc.identifier.isbn9789740949152
dc.identifier.otherhs1457
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4873
dc.description.abstractการผสมผสานสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพในสังคมไทย ดูเหมือนว่าจะไม่ได้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกัน การทุ่มเถียงระหว่างแพทย์ในฐานะผู้รักษากับคนไข้และคนรอบข้างในประเด็น “สิทธิผู้ป่วย” เป็นตัวอย่างของความไม่ลงรอยนี้ ฝ่ายหนึ่งเรียกร้องความเป็นมนุษย์ของแพทย์ ที่ไม่สามารถรักษาหายได้ทุกโรค เนื่องด้วยข้อจำกัดที่ไม่อาจเสกสร้างมนุษย์ให้อมตะชั่วนิรันดร์ และในฐานะมนุษย์ผู้สามารถผิดพลาดพลั้งเผลอได้ แพทย์ต้องการความสบายใจในการรักษาพยาบาล มิใช่ติดกับดักอยู่ในกรอบของความหวาดระแวงที่จะถูกฟ้องร้อง กับอีกฟากฝ่ายหนึ่งที่เรียกร้องสิทธิในการรับผิดชอบต่อชีวิตที่สูญเสียไปโดยเหตุอันไม่สมควร ในฐานะผู้ได้รับการรักษา พึงมีสิทธิที่จะได้รับการปกป้องคุ้มครองจากความผิดพลาดของแพทย์ การโต้เถียงวิวาทะเป็นรายกรณีเกิดขึ้นเป็นระยะๆ และยังมองไม่เห็นแสงสว่างปลายทางที่จะทำให้เกิดความพึงพอใจ หรือหาทางออกที่ยุติธรรมซึ่งเป็นคำตอบแก่สังคม หนังสือเล่มนี้คงไม่สามารถทำหน้าที่เป็นคนกลางไกล่เกลี่ยให้แพทย์กับคนไข้เลิกทะเลาะกัน หากแต่เป็นความพยายามหนึ่งในการที่จะเข้าใจโลกของแนวคิดสิทธิมนุษยชนกับโลกของสุขภาพ และมองหาแนวทางในการเชื่อมและผสมผสานสองความคิดดังกล่าว ทั้งนี้ จะพบว่าทั้งสิทธิมนุษยชนและสุขภาพล้วนมีเป้าหมายในการปกป้องคุ้มครองและเปิดทางให้มนุษย์มีความสุขสมบูรณ์มากขึ้น แต่ในวิถีทางที่ต่างกัน ย่อมต้องถากถางทางเพื่อให้โลกทางความคิดและโลกแห่งการปฏิบัติสองฟากฝ่ายมาบรรจบพบเจอกัน การวิจัยเพื่อทบทวนและท้าทายองค์ความรู้ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพในครั้งนี้ ได้ใช้วิธีการที่เรียกว่าการ “ย้อนพินิจ” ซึ่งหมายถึงการสำรวจตรวจสอบไปยัง “ฐานคิด” ที่สร้างความหมายให้กับทั้งสิทธิมนุษยชนและสุขภาพ ทั้งในระดับปรัชญา วาทกรรม และภาคปฏิบัติการที่เกิดขึ้นในสังคม โดยจะพบว่า ความหมายของทั้งสิทธิมนุษยชนและสุขภาพมีหลากหลายมิติ และเมื่อนำมาเปรียบเทียบกัน จะพบว่าฐานคิดว่าด้วยสิทธิมนุษยชนและสุขภาพมีทั้งด้านซึ่งไม่ลงรอยและด้านซึ่งสามารถปรับคลื่นเข้าหากันได้ อย่างไรก็ตาม การย้อนพินิจในที่นี้มิได้หมายความเพียงแค่การขุดค้นหาความหมายที่แท้จริงของสิทธิมนุษยชนหรือสุขภาพ แต่การย้อนพินิจมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะจุดประกายให้ได้ครุ่นคิดว่าในหนทางข้างหน้าซึ่งทั้งสิทธิมนุษยชนและสุขภาพในฐานะเป้าหมายสำคัญของมนุษยชาติ จะสามารถเรียนรู้กันและกันได้มากขึ้น ฉะนั้นแล้วการย้อนพินิจจึงไม่ได้เป็นเพียงการสืบค้นความเป็นมาเป็นไปในอดีต แต่มุ่งหมายเพื่อตรวจสอบ “กระบวนการสร้างความหมายทางสังคม” (Social Construction of Meaning) ให้แก่สิ่งหนึ่งสิ่งใด กล่าวอีกนัยหนึ่ง การย้อนพินิจหมายถึงการศึกษาประวัติศาสตร์ของความหมายทางสังคม ซึ่งความหมายต่างๆ ล้วนถูกสร้างขึ้นเพื่อรับใช้บริบททางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง ในห้วงเวลา/พื้นที่หนึ่งๆ เราจึงควรจะตรวจสอบความหมายที่ถูกสร้างขึ้นมานี้อย่างรอบคอบระมัดระวัง ขณะเดียวกัน การย้อนพินิจมิใช่การจับผิดว่ามีการแปลความหมายได้ถูกต้องสมบูรณ์เพียงใด แต่หมายถึงการเปิดกว้างรับฟังความหมายที่หลากหลาย เป็นการรับฟังความอย่างรอบด้านแล้วครุ่นคิดตรึกตรอง ก่อนจะพิจารณาถึงหนทางแห่งอนาคตที่คนในสังคมกำลังจะก้าวเดินไป กล่าวโดยสรุป การทำให้สิทธิมนุษยชนกับสุขภาพมาบรรจบกันไม่ใช่เรื่องง่ายเสียทีเดียวนัก หรือการสักแต่พูดขึ้นลอยๆ จากการครุ่นคิดในอากาศ แต่จะต้องมาจากการสำรวจตรวจสอบกลับไปยังความเป็นไปในอดีต เพื่อชี้ให้เห็นว่าในช่วงบริบทของสังคมแบบไหนที่เอื้ออาทรต่อการงอกเงยของฐานคิดสิทธิมนุษยชนและ/หรือสุขภาพ ในขณะที่ห้วง บริบทใดที่สังคมเก็บกดปิดกั้นแนวคิดสิทธิมนุษยชนและ/หรือสุขภาพไม่ให้สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น การแสวงหาทิศทางข้างหน้าในการผสมผสานสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพเข้าด้วยกัน จึงไม่ใช่เพียงแค่มองอย่าง “อุดมคติเพ้อฝัน” เท่านั้น แต่จะต้อง “ย้อนกลับ” ไปมองเงื่อนไขหรือเส้นทางประวัติศาสตร์ที่สิทธิมนุษยชนและสุขภาพที่ต่างได้เติบโตมาอย่างยาวนานด้วย อย่างไรก็ตาม หนังสือเล่มนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการ ที่จะเข้าใจฐานคิดของสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพเท่านั้น การเข้าใจโลกทางความคิดอันกว้างใหญ่ไพศาลเป็นภารกิจอันเกินกว่าจะทำความเข้าใจอย่างรอบด้านในที่นี้ หากแต่หวังว่า งานบุกเบิกชิ้นนี้จะเป็นการกรุยทางสู่การถกเถียงอย่างเข้มข้นถึงมิติการเชื่อมโยงระหว่างสิทธิมนุษยชนกับสุขภาพต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.subjectแนวคิดสุขภาพth_TH
dc.subjectสิทธิมนุษยชนth_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleสิทธิสุขภาพ สิทธิมนุษยชนth_TH
dc.typeDocumentth_TH
dc.identifier.contactno49ค016
.custom.citationสุรสม กฤษณะจูฑะ, ธวัช มณีผ่อง, สันติพงษ์ ช้างเผือก, อุ่นใจ เจียมบูรณะกุล and รัชนี นิลจันทร์. "สิทธิสุขภาพ สิทธิมนุษยชน." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4873">http://hdl.handle.net/11228/4873</a>.
.custom.total_download83
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year4

Fulltext
Icon
Name: hs1457.pdf
Size: 2.329Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record