Show simple item record

วัฒนธรรม ความตาย กับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ : มอญ โซ่ง กะเหรี่ยง ม้ง เย้า

dc.contributor.authorสมรักษ์ ไชยสิงหกานนท์th_TH
dc.contributor.authorสรินยา คำเมืองth_TH
dc.contributor.authorอธิตา สุนทโรทกth_TH
dc.date.accessioned2018-04-05T09:26:53Z
dc.date.available2018-04-05T09:26:53Z
dc.date.issued2550-07
dc.identifier.isbn9789748485737
dc.identifier.otherhs1454
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4875
dc.description.abstractพระไพศาล วิสาโล พระนักคิดนักปฏิบัติที่มีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้สังคมไทยได้เรียนรู้จากความตาย เคยกล่าวว่า แม้ความตายจะเป็นสิ่งที่สังคมทุกวันนี้ไม่ได้นึกถึงและไม่ได้ให้ความสำคัญเท่าไรนัก แต่แท้ที่จริงแล้ว ความตายมีบทบาทสำคัญในอารยธรรมยิ่งใหญ่ทั้งหลายของโลก ดังที่เราจะเห็นได้ว่า อารยธรรมต่างๆ ล้วนมีการสร้างคำอธิบาย วิถีการปฏิบัติและทัศนะต่อความตายที่ละเอียดซับซ้อน มีการสร้างสรรค์ทั้งด้านศาสตร์และศิลป์ที่ประกอบกันเป็นพิธีกรรมที่หลากหลายเกี่ยวกับความตาย แม้แต่สิ่งก่อสร้างที่ยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์อารยธรรมโลกก็ล้วนเป็นสักขีพยานให้เห็นถึงความสำคัญของความตาย ไม่ว่าจะเป็น ปิรามิดในอียิปต์ ปราสาททัชมาฮาลที่อินเดีย หรือสุสานจิ๋นซีในจีน เหล่านี้ล้วนแต่เป็นนฤมิตกรรมที่เกี่ยวข้องกับความตายและการตายทั้งสิ้น สาเหตุที่ความตายมีอิทธิพลมากมายเช่นนี้อาจเป็นเพราะความตายเป็นความจริงที่ไม่มีใครต้องการแต่ก็ไม่มีใครจะหลีกเลี่ยงได้ ไม่ว่าจะเป็นมหาราชาหรือจักรพรรดิที่ยิ่งใหญ่และทรงไว้ซึ่งอำนาจเพียงใดก็ตาม ความตายก็ไม่เคยลดราวาศอกให้ แม้จะอาศัยอำนาจและราชทรัพย์ที่สามารถบัญชาให้สิ่งต่างๆ เป็นไปได้อย่างที่ใจปรารถนาก็ไม่อาจแสวงหายาอายุวัฒนะที่จะทำให้ชีวิตเป็นนิรันดร์ได้ เมื่อการหลีกหนีความตายเป็นไปไม่ได้ หนทางที่เหลืออยู่ก็คือ ทำอย่างไรให้การตายที่เราหลีกเลี่ยงไม่ได้นั้นเป็นการตายที่ดี อารยธรรมโลกทั้งหลายจึงได้สร้างแบบแผนวิธีคิดและคำอธิบายเกี่ยวกับเรื่องความตาย การตาย และชีวิตหลังตายไว้อย่างหลากหลาย เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสู่การตายที่ดีไม่ใช่แต่เฉพาะอารยธรรมที่ยิ่งใหญ่ของโลกเท่านั้นที่มีระบบวิธีคิดและแบบแผนการปฏิบัติที่ละเอียดซับซ้อนเกี่ยวกับความตาย จะว่าไปแล้วความตายและการตายที่ดีเป็นโจทย์สำคัญในทุกสังคม ทุกวัฒนธรรม ระบบวัฒนธรรมต่างๆ จึงมีการสร้างคำอธิบายที่ให้ความหมายเกี่ยวกับที่มาและที่สิ้นสุดของชีวิต เราจึงเห็นร่องรอยระบบวิธีคิดเกี่ยวกับความตายปรากฏได้ทั้งในเรื่องเล่า ตำนาน ปรัมปราคติ ตลอดทั้งที่แฝงอยู่ในพิธีกรรมและแบบแผนการปฏิบัติที่สังคมสร้างและสืบต่อกันจนเป็นจารีตประเพณี ที่สำคัญจารีตต่างๆ เหล่านี้ก็ยังมีการปรับตัวตามบริบทเปลี่ยนแปลงไป ความหมายของความตายจึงไม่เพียงจะแตกต่างกันตามจารีตของแต่ละสังคม แต่ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปได้ตามบริบททางสังคมและประวัติศาสตร์อีกด้วย เมื่อทัศนะและแบบแผนการปฏิบัติเกี่ยวกับความตายเป็นส่วนสำคัญในระบบวัฒนธรรมต่างๆ การศึกษาเรียนรู้จารีตประเพณีเรื่องความตายและการตายที่แตกต่างกันระหว่างวัฒนธรรมต่างๆ จึงเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้าใจกันในพหุสังคมที่ประกอบด้วยกลุ่มชาติพันธ์ที่หลากหลาย หนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของการประมวลองค์ความรู้เกี่ยวกับมิติทางวัฒนธรรมของความตายในกลุ่มชาติพันธ์ุต่างๆ เพื่อเป็นเครื่องช่วยการเรียนรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับความตาย โดยหวังให้เป็นประโยชน์กับผู้ที่ต้องทำงานเกี่ยวข้องกับชีวิต ความเจ็บป่วย หรือทำงานช่วยเหลือผู้คนในวาระสุดท้ายของชีวิต การได้เข้าใจถึงระบบวิธีคิด ประเพณีและแบบแผนจารีตปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับความตายจะช่วยให้เรามีท่าทีและการปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมในเวลาที่ต้องเกี่ยวข้องกับชีวิตในวาระสุดท้าย ซึ่งถือเป็นช่วงเวลาที่สำคัญทั้งของผู้ที่กำลังจากไปและผู้เกี่ยวข้องที่ต้องมีชีวิตอยู่ต่อไปหลังการจากไปของญาติพี่น้องหรือคนรัก ความตายเป็นปรากฏการณ์ทางสังคมที่วัฒนธรรมต่างๆ ได้สร้างและสะสมองค์ความรู้ในรูปแบบต่างๆ ภูมิปัญญาที่สังคมสร้างขึ้นนี้ ช่วยให้มนุษย์สามารถรับมือกับการสูญเสียคนรักหรือการจากไปของสมาชิกในครอบครัวและคนใกล้ชิด โดยการให้คำอธิบายที่สัมพันธ์เกี่ยวโยงกับศาสนธรรมและจักรวาลทัศน์ในท้องถิ่นซึ่งช่วยให้มนุษย์สามารถปล่อยวางหรือละจากความเศร้าโศกเสียใจ การเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีคิดและการปฏิบัติเกี่ยวกับความตายจำเป็นต้องเข้าใจระบบความคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตที่สังคมวัฒนธรรมหนึ่งๆ ได้ผูกสร้างขึ้น กรอบวิธีคิดเกี่ยวกับโลกและชีวิตหรือจักรวาลทัศน์นี้เป็นกรอบอ้างอิงในการอธิบายสรรพสิ่งที่ปรากฏเป็นเอกลักษณ์ส่วนหนึ่งของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาเหล่านี้นับวันจะถูกละเลยและหมดความสำคัญลงไป การทบทวนฟื้นฟูภูมิปัญญารวมทั้งการปรับสื่อ ภาษา และพิธีกรรมให้สมสมัย จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างสัมมาทิฐิและสัมมาปฏิบัติเกี่ยวกับความตายได้th_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข,สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ, สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักวิจัยสังคมและสุขภาพth_TH
dc.subjectความตายth_TH
dc.subjectกลุ่มชาติพันธุ์--ผู้ป่วย--การดูแลth_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleวัฒนธรรม ความตาย กับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ : มอญ โซ่ง กะเหรี่ยง ม้ง เย้าth_TH
dc.typeDocumentth_TH
dc.identifier.callnoDS570 ส275ว 2550
dc.identifier.contactno49ค016
.custom.citationสมรักษ์ ไชยสิงหกานนท์, สรินยา คำเมือง and อธิตา สุนทโรทก. "วัฒนธรรม ความตาย กับความหลากหลายทางชาติพันธุ์ : มอญ โซ่ง กะเหรี่ยง ม้ง เย้า." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4875">http://hdl.handle.net/11228/4875</a>.
.custom.total_download144
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year11

Fulltext
Icon
Name: hs1454.pdf
Size: 3.677Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record