Show simple item record

Evaluation and lesson distilled on implementation of Chronic Kidney Disease clinic, under policy of Ministry of Public Health

dc.contributor.authorสสิธร เทพตระการพรth_TH
dc.contributor.authorสิริมา มงคลสัมฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorธีรพันธ์ แก้วดอกth_TH
dc.contributor.authorศุภางค์ วัฒนเสยth_TH
dc.contributor.authorณิชมน รักกะเปาth_TH
dc.date.accessioned2018-04-10T06:55:16Z
dc.date.available2018-04-10T06:55:16Z
dc.date.issued2561-03
dc.identifier.otherhs2405
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4878
dc.description.abstractจากนโยบายของกระทรวงสาธารณสุขให้โรงพยาบาลในสังกัดมีการจัดตั้งคลินิกโรคไตเรื้อรัง (CKD clinic) ขึ้น ในการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการดำเนินงานตามนโยบาย CKD clinic ของกระทรวงสาธารณสุข โดยใช้รูปแบบการศึกษาแบบ Mixed method และ CIPP model เป็นแนวทางในการดำเนินงาน ผลจากการศึกษาจากโรงพยาบาล 140 แห่ง ใน 12 เขตสุขภาพ พบว่า แนวทางการจัดตั้ง CKD clinic มีการปฏิบัติตามนโยบายของกระทรวง ร้อยละ 70.71 มีการจัดตั้งขึ้นเองตามนโยบายของผู้บริหารโรงพยาบาล ร้อยละ 22.14 และไม่มีการจัดตั้ง CKD clinic ร้อยละ 7.14 ซึ่งมีข้อจำกัดในเรื่องของสถานที่ บุคลากร และงบประมาณ สำหรับโรงพยาบาลที่มีการจัดตั้ง CKD clinic ได้มีการแยกบริการ CKD clinic ออกมาโดยเฉพาะพบร้อยละ 82.31 โดยมีการกำหนดให้วันใดวันหนึ่งในสัปดาห์เป็นคลินิกโรคไต และใช้สถานที่ร่วมกันกับคลินิกอื่นๆ เช่น NCD clinic แต่โรงพยาบาลที่ไม่มีการแยกเฉพาะ CKD clinic ร้อยละ 17.69 มีการดำเนินงานในรูปแบบอื่นๆ เช่น CKD corner ใน DM หรือ HT clinic การสื่อสาร ทิศทาง นโยบายเป้าหมาย และแผนของ CKD clinic ไปยังผู้มีส่วนร่วมทุกระดับ พบว่า ส่วนใหญ่มีการประชุมชี้แจงและรับฟังความคิดเห็น (2 way communication) ทิศทาง นโยบาย เป้าหมายและแผนปฏิบัติการ ให้ผู้ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลและเครือข่ายนอกโรงพยาบาลทราบ ร้อยละ 44.62 รองลงมาเป็น มีการประกาศ (one way communication) ให้ผู้ปฏิบัติในโรงพยาบาล และเครือข่ายนอกโรงพยาบาลได้รับรู้ทั่วถึงกัน (ภายใน และภายนอกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง) ร้อยละ 27.69 แต่พบว่าไม่มีการสื่อสาร ทิศทาง นโยบาย เป้าหมาย แผนปฏิบัติการ ร้อยละ 3.08 และมีการประเมินผลแนวทางการสื่อสารและช่องทางการสื่อสารอย่างมีส่วนร่วม และนำไปใช้ในการปรับปรุงการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ร้อยละ 14.62 การสนับสนุนงบประมาณการจัดตั้ง CKD clinic ไม่เพียงพอ ร้อยละ 63.21 ซึ่งแหล่งของงบประมาณส่วนใหญ่มาจากเงินบำรุงของโรงพยาบาลเอง และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้การสนับสนุนบางส่วน การดำเนินงานแบบทีมสหสาขาวิชาชีพ พบว่า มีเพียงร้อยละ 58.46 ของโรงพยาบาลที่มีการดำเนินงานครบทีมสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัด เภสัชกร และนักโภชนาการหรือนักกำหนดอาหาร ซึ่งพบว่าในส่วนของนักโภชนากร ร้อยละ 20.77 ของโรงพยาบาลไม่มี เนื่องจากโรงพยาบาลไม่มีอัตราตำแหน่งรองรับ ดังนั้นผู้ที่ทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำเกี่ยวกับโภชนาการในทีมสหวิชาชีพจึงเป็นพยาบาลวิชาชีพ แต่สำหรับโรงพยาบาลที่มีนักโภชนาการอยู่ในทีมด้วยเนื่องจากเป็นการบริหารจัดการของโรงพยาบาลในการใช้เงินบำรุงจัดจ้างเองในตำแหน่งลูกจ้างชั่วคราว นอกจากนี้ ร้อยละ 95.38 ของโรงพยาบาลมีระบบฐานข้อมูลการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูลผู้ป่วย CKD แต่มีเพียงร้อยละ 42.31 ที่มีฐานข้อมูลตัวชี้วัดผลการดูแลรักษาผู้ป่วย CKD ในแง่ของ 1) ผล serum Cr และ eGFR 2) ความดันโลหิต 3) ระดับน้ำตาลในเลือด 4) การได้รับยา ACE-I หรือ ARB และ 5) การได้รับการตรวจ urine protein แต่ส่วนใหญ่ยังไม่มีการนำข้อมูลผู้ป่วยเหล่านั้นมาวิเคราะห์เพื่อใช้ในการติดตามผลการดูแลรักษาผู้ป่วย เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานมีภาระงานมาก ดังนั้นการใช้ข้อมูลจึงมุ่งตอบตัวชี้วัดผลการดูแลตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาเป็นหลักth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคไตเรื้อรังth_TH
dc.subjectChronic Kidney Diseaseen_EN
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการประเมินผลและถอดบทเรียนการดำเนินงานของคลินิกโรคไตเรื้อรังภายใต้นโยบายกระทรวงสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeEvaluation and lesson distilled on implementation of Chronic Kidney Disease clinic, under policy of Ministry of Public Healthen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe policy of Ministry of Public Health states that all hospitals under MOPH should establish Chronic Kidney Disease Clinics (CKD clinics). This study aims to evaluate the implementation of CKD clinics using mixed method research and the CIPP model. Results from 140 hospitals in 12 regional service providers showed that 70.71% of established CKD clinics in line with MOPH policy, while 22.14% already had CKD clinics prior to the MOPH policy statement, and the remaining 7.14% hospitals had not developed CKD clinic citing limitations due to area, personnel or budget. In total, 82.31% established sole purpose CKD clinics providing at least one day per week, but occupied the space used by other clinics. Whereas 17.69% did not separate CKD clinic from other health clinic and ran CKD services in parallel to other clinics. For example, some centers had a ‘CKD corner’ as part of their regular DM/HT clinic. In terms of the hospitals that had implemented CKD clinics, 44.62% of centers used both consultative meetings and two ways communication about policy, goals, future plans of CKD clinics to all health personnel and other stakeholders. Whereas, 27.69% used only two ways communication to realize policy, goals and planning of CKD clinic to among interested parties. The remaining 3.08% hospital used no clear consultative process in developing their clinics. Almost all hospitals reported that the supporting budget for CKD clinic was insufficient. Most hospitals (63.21%) funded the establishment of their CKD clinics from their own operating budgets and some fund support from National Health Security Office (NHSO). In terms of human resource, 58.46% have professional team (full) including physician, nurse, pharmacist physical therapist, and nutritionist or Dietitians. However, we found that 20.77% of hospital did not have funded position for nutritionists and in this cases, the advice about nutrition was provided by nurses. All hospitals with professional nutritionists funded this position of their own accord with temporary employee’s position. In addition, 95.38% of all hospital had implemented and maintained CKD patient databases, but only 42.31% of these contained all recommended clinical measures such as Serum Cr and eGFR, blood pressure, blood sugar, take ACE-I or ARB drug, and urine protein. For the most part, patient data were not utilized to track patient disease progression. Most personnel reported the reason for not using routine CKD patient data to gauge patient disease progression and outcomes was excessive workload. In general, CKD patient data was mainly used to report CKD’s KPI to the Ministry of Public Health.en_EN
dc.identifier.callnoWJ340 ส845ก 2561
dc.identifier.contactno60-035
.custom.citationสสิธร เทพตระการพร, สิริมา มงคลสัมฤทธิ์, ธีรพันธ์ แก้วดอก, ศุภางค์ วัฒนเสย and ณิชมน รักกะเปา. "การประเมินผลและถอดบทเรียนการดำเนินงานของคลินิกโรคไตเรื้อรังภายใต้นโยบายกระทรวงสาธารณสุข." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4878">http://hdl.handle.net/11228/4878</a>.
.custom.total_download324
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year11

Fulltext
Icon
Name: hs2405.pdf
Size: 1.913Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record