Show simple item record

Urbanites’ Accessibility, Understanding, Evaluation and Application of Health Information for their Self Care in International Spreading of Emerging Infectious Disease

dc.contributor.authorพนม คลี่ฉายาth_TH
dc.contributor.authorPhnom Kleechayaen_EN
dc.date.accessioned2018-06-06T06:52:21Z
dc.date.available2018-06-06T06:52:21Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2423
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4899
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการเข้าถึงความเข้าใจ การประเมินคุณค่าและความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารสุขภาพเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง และการนำข้อมูลข่าวสารมาใช้ในการป้องกันและดูแลตนเองให้ปลอดภัย ผู้วิจัยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมผสาน โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์เชิงลึกแพทย์ เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และสื่อมวลชนในจังหวัดที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองระหว่างประเทศ 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย หนองคาย อุบลราชธานี และสงขลา และกรุงเทพมหานคร จำนวน 18 คน และการวิจัยเชิงสำรวจซึ่งเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามในกลุ่มตัวอย่างที่อาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอที่มีด่านตรวจคนเข้าเมือง หรือมีสนามบินนานาชาติใน 7 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร เชียงราย ตาก สงขลา หนองคาย อุบลราชธานี และภูเก็ต รวมจำนวนตัวอย่างทั้งสิ้น 1,400 คน ผลการวิจัยพบว่า กระทรวงสาธารณสุขมีระบบงานและมาตรการควบคุมโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศอย่างชัดเจนและรัดกุม มีการทำงานร่วมกับหน่วยงานสาธารณสุขของต่างประเทศอย่างเข้มข้น มีทั้งมาตรการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการระบาด รวมทั้งแผนการบริหารการสื่อสารความเสี่ยง ประชาชนมักจะมีการตื่นตัวเมื่อโรคเข้าใกล้ตัวและเกิดการตื่นตัวขึ้นเฉพาะพื้นที่ที่ระบาด เมื่อการระบาดเข้ามาใกล้หรือเข้ามาในประเทศจะมีการตื่นตัวมากขึ้นตามความกังวลใจเกี่ยวกับอันตรายของโรคที่ใกล้ตัวมากขึ้น และมักจะตื่นตัวในช่วงแรกที่มีข่าวการระบาด แต่การตื่นตัวก็จะลดลงเมื่อข่าวเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ไม่ได้รับการรายงานในสื่อมวลชน เมื่อมีการรายงานข่าวเกี่ยวกับการระบาด ความรุนแรงของโรค การไม่มียารักษา การเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อมากขึ้น ผนวกกับการได้รับข้อมูลไม่เพียงพอ จนกลายเป็นความตื่นตระหนก ทั้งนี้การตื่นตระหนกของประชาชนจะลดลงได้ ด้วยการได้รับข่าวสารเกี่ยวกับมาตรการและการดำเนินงานเกี่ยวกับการควบคุมโรคของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขจนเกิดความมั่นใจในมาตรการ และการดำเนินงานที่สามารถคัดกรอง ป้องกัน และควบคุมโรคที่จะระบาดเข้ามาในประเทศได้ การสื่อสารเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศ มีทั้งการสื่อสารผ่านสื่อมวลชนในลักษณะการรายงานข่าวของสื่อมวลชน และการสื่อสารจากส่วนงานสาธารณสุขไปยังประชาชนในพื้นที่ โดยมีแนวทางการสื่อสารทั้งแบบการให้ข้อมูลเพื่อให้เกิดการรับรู้ถึงความรุนแรงของโรค เพื่อกระตุ้นเตือนให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และการให้ข้อมูล ให้ความรู้เกี่ยวกับโรค นำไปสู่ความเข้าใจ และเสนอทางเลือกเพื่อความปลอดภัยให้นำไปปฏิบัติด้วยตนเอง การเข้าถึงข่าวสารเกี่ยวกับโรคติดต่ออุบัติใหม่ฯ ของประชาชนพบว่ามีการเข้าถึงผ่านสื่อมวลชน สื่อบุคคล ได้แก่ อสม. แกนนำสุขภาพครอบครัว (กสค.) เพื่อนบ้าน อาสาสมัครต่างด้าว สื่อรณรงค์เฉพาะกิจ สื่อท้องถิ่น สื่อชุมชน และสื่อออนไลน์ ทั้งนี้ผลการสำรวจชี้ให้เห็นว่าประชาชนมีระดับความถี่การเปิดรับข่าวสารโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าโทรทัศน์คือสื่อที่เปิดรับด้วยความถี่ระดับบ่อยๆ และสื่อที่เปิดรับระดับปานกลาง ได้แก่ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เพื่อน แพทย์ พยาบาล อสม. เคเบิลทีวี โรงพยาบาล วิทยุชุมชน เฟซบุ๊ก (Facebook) ไลน์ (LINE) เว็บไซต์หนังสือพิมพ์ทั่วไป เว็บไซต์สุขภาพทั่วไป ป้ายไวนิล แผ่นพับ หอกระจายข่าว ในด้านลักษณะการเข้าถึงข่าวสารพบว่ามีความเข้มข้นในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารอยู่ในระดับปานกลาง แต่ความเข้มข้นในด้านจำนวนช่องทาง และการติดตามข่าวสารอยู่ระดับน้อย นอกจากนี้ความกระตือรือร้นในการเข้าถึงข่าวสาร และความผูกพันกับเนื้อหาอยู่ในระดับปานกลาง ความเข้าใจสาระเนื้อหาในภาพรวมพบว่า มีความเข้าใจในระดับดี ทั้งนี้มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจด้านสถานการณ์การระบาดในเรื่องโอกาสในการติดเชื้อมากที่สุด สำหรับความเข้าใจด้านข้อมูลเกี่ยวกับโรคมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าใจในเรื่องที่ยังไม่มียารักษามากที่สุด และความเข้าใจด้านการปฏิบัติตนมีจำนวนกลุ่มตัวอย่างที่เข้าใจเรื่องความสำคัญในการติดตามข่าวอย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดการระบาดมากที่สุด การประเมินคุณค่าและความถูกต้องข้อมูลข่าวสารพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาในรายละเอียดพบว่าการประเมินด้วยการพิจารณาถึงประโยชน์ที่จะใช้ดูแลตนเองให้ปลอดภัยอยู่ในระดับสูง ในขณะที่การตั้งเงื่อนไขเบื้องต้น และการตรวจสอบความถูกต้องอยู่ในระดับปานกลาง การนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ประโยชน์พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยนำไปใช้ปฏิบัติตนเพื่อป้องกันการติดเชื้อและการระบาด และนำไปใช้ดูแลสุขภาพของตนเองในการกินอยู่อย่างถูกลักษณะ สำรวจอาการเจ็บป่วยของตนเอง และการแสวงหาและติดตามข่าวสาร ผลการทดสอบสมมติฐานความสัมพันธ์พบว่าความถี่ในการเข้าถึงข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับความเข้าใจเนื้อหา ลักษณะการเข้าถึงขอมูลข่าวสารและความเข้าใจเนื้อหามีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการประเมินคุณค่าและความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นอกจากนี้ยังพบว่าลักษณะการเข้าถึง ความเข้าใจ และการประเมินคุณค่าและความถูกต้องของข้อมูลข่าวสารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการนำข้อมูลข่าวสารไปใช้ประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการทดสอบสมมติฐานเชิงเปรียบเทียบพบว่าการเข้าถึงความเข้าใจการประเมินคุณค่าและความถูกต้อง และการนำไปใช้ประโยชน์มีความแตกต่างกันในกลุ่มอายุและระดับ การศึกษาที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการสื่อสารทางการแพทย์th_TH
dc.subjectโรคติดต่อ--ระบาดวิทยาth_TH
dc.subjectโรคติดต่อth_TH
dc.subjectHealth Information Systemsen_EN
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพth_TH
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมืองth_TH
dc.title.alternativeUrbanites’ Accessibility, Understanding, Evaluation and Application of Health Information for their Self Care in International Spreading of Emerging Infectious Diseaseen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research aims to explore and describe the Urbanites’ Accessibility, Understanding, Evaluation and Application of Health Information for their Self Care in Emerging Infectious Disease International Spreading. Mixed method was used in collecting data including in-depth interview of doctors, public health facilitators, village health volunteers (Or Sor Mor) and local press in the 4 provinces where immigration checkpoints are--Chiangrai, Nong Khai, Ubon Ratchathani and Songkhla—and administration of questionnaire for survey research on sample group living either Amphoe Mueang (a capital district of a province) or an Amphoe (districts) where immigration checkpoint or international airports is located. Those areas belong to the 7 provinces namely Bangkok, Chiangrai, Tak, Songkhla, Nong Khai, Ubon Ratchathani and Phuket. The overall data was collected from 1,400 samples in total. The finding indicated that Thai Ministry of Public Health has a well-developed system and strong policy and control measures on the management of infectious diseases spread internationally as well as beneficial cooperation between Thailand and other countries. Measures on disease surveillance, control and prevention together with risk communication plan have been installed and are actively used. The finding revealed the people become more aware when infectious diseases start to spread closer into the country and their hometown. The level of awareness fluctuates in accordance with the severity level of diseases. Usually, people’s awareness level rises high during the first period of news announcement about infectious diseases and gradually lowers as media ceases to report about diseases. On the other hand, when there is news report on the severity of infectious diseases, lack of treatment and mortality number of the infected combined with insufficient amount of information, the awareness level soars up and turns into panic. This can be alleviated by news informing people of government’s countering measures and procedures in screening, preventing and controlling contagious diseases. The health information about emerging infectious diseases spreading internationally are both news reports by the press and media created by Public Health facilities. Information sent are consisted of both arousing information of the severity of diseases warning them to change their behaviors and plain information of diseases aiming for understanding and procedures to follow for their safety. It is found that people access information about emerging infectious diseases spreading internationally through various media; mass media, personal media such as village health volunteers, neighbors, specialization media, local press and online media. The survey result shows that the overall frequency of people media exposure is medium. The most frequent media used is television. Radio, newspaper, friends, public health facilitators, village health volunteers, Facebook, LINE, news website, health care website, vinyl banners, pamphlets and broadcast towers have medium usage frequency. The accessibility level to the information of infectious diseases internationally spreading is medium. However, the number of channels accessed by the people and frequency of follow ups are low. The eagerness and content engagement are at medium level. Overall, the level of understanding is high. The most understanding of well-informed topic for the sample group are the chance of getting infected, the lack of treatment and the importance of following news trailed by following instructions. The survey result indicated that level of value and correctness of information evaluation is medium. Looking closely, sample group indicated that they mostly evaluate on the benefits of information in ensuring personal safety, however, they set up basic assumptions and check the validity of information, so these two topics are at medium level. Application of information is found to be at high level. Sample group usually use the information learnt to protect themselves from infectious diseases, practice sanitary behaviors, self-observe for sickness and find further news and information. The result of a test on the hypothetic relationship reveals that the frequency of information access is positively correlate to understanding of content. Also, the mean of access to information varies positively correlate to evaluation of value and correctness of information. Both pairs have significant relationships shown statistically at .05 In addition, the information accessibility, understanding and evaluation of value and correctness of information all have significant positive relationship with application of information shown statistically at .05 It is found from comparative hypothesis testing that information accessibility, understanding, evaluation and application vary significantly between age groups and levels of education at .05 based on statistic.en_EN
dc.identifier.callnoWC100 พ187ก 2561
dc.identifier.contactno60-040
dc.subject.keywordการสื่อสารสุขภาพth_TH
dc.subject.keywordโรคอุบัติใหม่th_TH
.custom.citationพนม คลี่ฉายา and Phnom Kleechaya. "การเข้าถึง เข้าใจ ประเมิน และใช้ข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อการดูแลตนเองให้ปลอดภัยจากโรคติดต่ออุบัติใหม่ที่แพร่มาจากต่างประเทศของประชาชนในเขตเมือง." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4899">http://hdl.handle.net/11228/4899</a>.
.custom.total_download368
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year12

Fulltext
Icon
Name: hs2423.pdf
Size: 5.320Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record