Show simple item record

Patients’ Experiences on Using Non-Contracted Private Hospitals and Applying Eligibility for the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP)

dc.contributor.authorสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorSamrit Srithamrongsawaten_US
dc.contributor.authorไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาลth_TH
dc.contributor.authorPaibul Suriyawongpaisalen_US
dc.contributor.authorพงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์th_TH
dc.contributor.authorPongsakorn Atiksawedpariten_US
dc.date.accessioned2018-09-28T02:37:32Z
dc.date.available2018-09-28T02:37:32Z
dc.date.issued2561-09
dc.identifier.citationวารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,3 (ก.ค.-ก.ย. 2561) : 370-383th_TH
dc.identifier.issn0858-9437
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4934
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินประสบการณ์ของผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไปขอใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (Universal Coverage for Emergency Patients: UCEP)” ในโรงพยาบาลเอกชนนอกเครือข่ายระบบประกันสุขภาพภาครัฐ ทั้งในกลุ่มที่ประเมินแล้วผ่านเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตและกลุ่มที่ประเมินแล้วไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤต โดยการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ด้วยแบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง ประชากรของการศึกษาครั้งนี้คือ ผู้ป่วยฉุกเฉินภายใต้ระบบประกันสุขภาพภาครัฐหลักสามกองทุน คือ ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ และระบบประกันสังคม ที่ไปรับบริการที่โรงพยาบาลเอกชนนอกเครือข่ายระบบประกันสุขภาพภาครัฐระหว่างเดือนกรกฎาคม–ตุลาคม 2560 ที่มีการบันทึกข้อมูลเข้าโปรแกรมประเมินอาการเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉิน (emergency pre-authorization: PA) ของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (simple random sampling) โดยกำหนดโควตาให้กับผู้ป่วยของแต่ละสิทธิในแต่ละเดือนในสัดส่วนเท่าๆ กัน ได้ตัวอย่างที่ติดต่อได้และยินดีให้ข้อมูลจำนวน 212 และ 210 จากจำนวนที่ทำการติดต่อ 393 และ405 คิดเป็นร้อยละ 54 และ 52 ในกลุ่มที่ประเมินผ่านและไม่ผ่านเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสถิติ SPSSpc version 18 โดยถ่วงน้ำหนักตามสัดส่วนของผู้ใช้สิทธิจริงในแต่ละสิทธิหลักประกันสุขภาพของแต่ละเดือน ผลการศึกษาพบว่า นโยบาย “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP)” ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานค่อนข้างดี ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตเข้าถึงสิทธิมากขึ้น เหตุผลหลักที่ไปใช้บริการที่โรงพยาบาลเอกชนเพื่อขอใช้สิทธิ UCEP อันดับแรกคือระยะทางใกล้ เดินทางสะดวก รองลงมาคือความเชื่อมั่นในโรงพยาบาลนั้นและเป็นโรงพยาบาลที่ใช้บริการประจำ ในขณะที่กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินที่ขอใช้สิทธิ UCEP แต่ประเมินไม่ผ่านเกณฑ์ PA มีแนวโน้มเลือกโรงพยาบาลมากกว่า นโยบายนี้คุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤตจากภาระค่าใช้จ่ายช่วงก่อนพ้นภาวะฉุกเฉินได้ค่อนข้างดี ขณะที่กลุ่มผู้ป่วยฉุกเฉินที่ไม่เข้าเกณฑ์ฉุกเฉินวิกฤตจ่ายค่ารักษาพยาบาลด้วยตนเองเกินกว่าครึ่ง อย่างไรก็ตาม การบังคับใช้ พรบ. สถานพยาบาล ในการคุ้มครองผู้ป่วยฉุกเฉินไม่ให้ถูกถามสิทธิ/ไม่ให้ถูกเรียกเก็บเงินมัดจำก่อนให้บริการ/ไม่ให้ถูกเรียกเก็บค่าบริการก่อนพ้นภาวะฉุกเฉินวิกฤตใน 72 ชม.แรก รวมถึงการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงช่องทางในการร้องเรียนนั้น ยังต้องพัฒนาให้เข้มแข็งมากขึ้นอีกth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectบริการการแพทย์ฉุกเฉินth_TH
dc.subjectEmergency Medical Servicesen_US
dc.subjectภาวะฉุกเฉิน--การพยาบาลth_TH
dc.subjectEmergencies--nursingen_US
dc.titleประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนนอกเครือข่ายระบบประกันสุขภาพภาครัฐและขอใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP)”th_TH
dc.title.alternativePatients’ Experiences on Using Non-Contracted Private Hospitals and Applying Eligibility for the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP)en_US
dc.typeArticleth_TH
dc.description.abstractalternativeThis study aimed to assess patients’ experiences on using non-contracted private hospitals and applying for eligibility under the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP). A telephone survey was conducted by using a semi-structured questionnaire. Populations were beneficiaries of three public health insurance schemes, Universal Coverage Scheme (UCS), Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) and Social Security Scheme (SSS) who used non-contracted private hospitals and applying for eligibility through the Emergency Pre-Authorization program (PA) during July–October 2017. A simple random sampling was employed with an equal quota of samples for each scheme in each month for calling. Samples of the study included 212 and 210 cases who were receiving the call and willing to provide information out of 393 and 405 or 54 and 52 percent of calls made for those who met and did not meet the criteria of critical emergency respectively. Data analysis was done by using SPSSpc version 18 and weighted according to actual proportion of each scheme users was applied. Results show that the Universal Coverage for Emergency Patients (UCEP) was quite successful in the implementation. Patients with critical emergency conditions increased in access to financial protection under the program. Convenience in transportation to the hospital and being trust in regular hospital were two main reasons of getting emergency care from the private hospitals. Those with non-critical emergency conditions were more likely to choose their regular hospital than those with critical emergency conditions. The program could protect eligible patients quite well from financial risk during the critical period or the first 72 hours of admission; however, more than half of those with non-critical emergency conditions spent out of their own pocket to cover the cost of care. Furthermore, strengthening of enforcement process of the Sanatorium Act is needed to prevent patients with emergency conditions from being asking for payments prior to provision of services or during the critical period in addition to strengthening of public relations on channel for making complaints.en_US
dc.subject.keywordนโยบายเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตth_TH
dc.subject.keywordUniversal Health Coverage for Emergency Patientsen_US
.custom.citationสัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, Samrit Srithamrongsawat, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล, Paibul Suriyawongpaisal, พงศกร อธิกเศวตพฤทธิ์ and Pongsakorn Atiksawedparit. "ประสบการณ์ของผู้ป่วยที่ใช้บริการในโรงพยาบาลเอกชนนอกเครือข่ายระบบประกันสุขภาพภาครัฐและขอใช้สิทธิ “เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤต มีสิทธิทุกที่ (UCEP)”." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4934">http://hdl.handle.net/11228/4934</a>.
.custom.total_download3999
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month34
.custom.downloaded_this_year113
.custom.downloaded_fiscal_year412

Fulltext
Icon
Name: hsri-journal-v12n ...
Size: 261.7Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

  • Articles [1326]
    บทความวิชาการ

Show simple item record