Show simple item record

Developing of Network and Model in Community Screening, Rehabilitation, and Long-Term Care for Hearing Disabled Elders

dc.contributor.authorขวัญชนก ยิ้มแต้th_TH
dc.contributor.authorKwanchanok Yimtaeen_US
dc.contributor.authorพนิดา ธนาวิรัตนานิจth_TH
dc.contributor.authorPanida Thanawirattananiten_US
dc.contributor.authorพรเทพ เกษมศิริth_TH
dc.contributor.authorPornthep Kasemsirien_US
dc.contributor.authorภาธร ภิรมย์ไชยth_TH
dc.contributor.authorPatorn Piromchaien_US
dc.contributor.authorภีม เอี่ยมประไพth_TH
dc.contributor.authorPheem Leomprapaien_US
dc.contributor.authorสาธิต ก้านทองth_TH
dc.contributor.authorSathit Kanthongen_US
dc.contributor.authorชฎาธาร เหลืองสว่างth_TH
dc.contributor.authorChadarthan Luangsawangen_US
dc.date.accessioned2018-11-23T03:37:59Z
dc.date.available2018-11-23T03:37:59Z
dc.date.issued2561-09
dc.identifier.otherhs2444
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4958
dc.description.abstractความพิการทางการได้ยินเป็นปัญหาที่มีพบบ่อยโดยเฉพาะในผู้สูงอายุ สำหรับประเทศไทยพบว่าสัดส่วนประชากรมีผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทุกปี ปัญหาการเข้าถึงบริการตรวจประเมินความพิการและฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์สำหรับผู้พิการทางการได้ยินนั้นเป็นปัญหาในระดับประเทศ เนื่องจากขั้นตอนการตรวจการได้ยิน การรับอุปกรณ์ช่วย เช่น เครื่องช่วยฟัง จำเป็นต้องได้รับการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีใบประกอบโรคศิลปะ คือ นักแก้ไขการได้ยินหรือเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ทำงานภายใต้การควบคุมของแพทย์หู คอ จมูก ซึ่งขาดแคลนอย่างหนักและมีการกระจายตัวของนักแก้ไขการได้ยินไม่เหมาะสม ในขณะที่กำลังการผลิตบุคลากรนักแก้ไขการได้ยินของประเทศอยู่ในอัตราการเพิ่ม 10-20 คนต่อปี สถานการณ์การเข้าถึงบริการตรวจวินิจฉัยและฟื้นฟูสมรรถภาพการได้ยินจะเข้าขั้นวิกฤตมากขึ้น การพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบการค้นหาผู้พิการและการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการได้ยินในชุมชนเป็นแนวทางที่แนะนำในประเทศที่มีทรัพยากรบุคคลจำกัด โดยมีหลักการกระจายงานที่ไม่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะของวิชาชีพให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขและผู้ช่วยบุคลากรทางการแพทย์และความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญจากนอกพื้นที่มาให้บริการเสริมในหน่วยงานที่มีจำนวนจำกัด ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการค้นหาผู้พิการทางการได้ยินในโครงการนี้ใช้การคัดกรองสองขั้นตอนโดยใช้แบบสอบถามการได้ยินห้านาทีฉบับภาษาไทยเป็นขั้นตอนแรกของการค้นหาผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินและเมื่อผลการคัดกรองการได้ยินด้วยแบบสอบถามมีค่าคะแนนมากกว่า 12 ขึ้นไป จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยด้วยการตรวจการได้ยินด้วยเครื่องตรวจการได้ยินแบบไฟฟ้า ซึ่งวิธีการนี้พบว่ามีประสิทธิภาพและความคุ้มค่า สามารถลดจำนวนผู้สูงอายุที่จำเป็นต้องได้รับการตรวจการได้ยินโดยนักแก้ไขการได้ยินลงได้จากจำนวน 9,698 รายเหลือเพียง 4,317 รายหรือประมาณครึ่งหนึ่ง พบผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินจำนวน 2,175 คน ผู้สูงอายุที่รับเครื่องช่วยฟังเพียงหนึ่งในสี่ของผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยิน ผู้สูงอายุที่ใช้เครื่องช่วยฟังมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นหลังใส่เครื่องช่วยฟัง ไม่ว่าจะเป็นการประเมินจาก IOI-HA หรือ HUI-3 อารมณ์ดีขึ้น การสื่อสารดีขึ้น ผลกระทบของปัญหาการได้ยินต่อการใช้ชีวิตลดลง ผู้สูงอายุประเมินว่าเครื่องช่วยฟังคุ้มค่าแม้ว่าเขาจะไม่ต้องจ่ายเงินเพื่อซื้อก็ตาม ขั้นตอนการประเมินเครื่องและเลือกเครื่องช่วยฟังเป็นขั้นตอนที่สำคัญในการคงอยู่ของการใช้เครื่องช่วยฟังอย่างสม่ำเสมอ ผู้สูงอายุในโครงการนี้ใช้เครื่องช่วยฟังมากกว่าวันละ 4 ชั่วโมง ทำให้จำนวนผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินและต้องการการดูแลเฉพาะด้านลดลง ระบบการดูแลผู้สูงอายุที่มีความพิการทางการได้ยินของทั้งประเทศจะมีประสิทธิภาพขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการขยายตลาดเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเครื่องช่วยฟังที่ผลิตขึ้นในประเทศต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการได้ยินth_TH
dc.subjectการได้ยินผิดปกติth_TH
dc.subjectการฟื้นฟูสมรรถภาพth_TH
dc.subjectRehabilitationen_US
dc.subjectภาวะการสูญเสียการได้ยินth_TH
dc.subjectHearing Lossen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบค้นหาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการได้ยินในชุมชนต่อเนื่องระยะยาวth_TH
dc.title.alternativeDeveloping of Network and Model in Community Screening, Rehabilitation, and Long-Term Care for Hearing Disabled Eldersen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.identifier.callnoHV2391 ข261ก 2561
dc.identifier.contactno58-065
.custom.citationขวัญชนก ยิ้มแต้, Kwanchanok Yimtae, พนิดา ธนาวิรัตนานิจ, Panida Thanawirattananit, พรเทพ เกษมศิริ, Pornthep Kasemsiri, ภาธร ภิรมย์ไชย, Patorn Piromchai, ภีม เอี่ยมประไพ, Pheem Leomprapai, สาธิต ก้านทอง, Sathit Kanthong, ชฎาธาร เหลืองสว่าง and Chadarthan Luangsawang. "การพัฒนาเครือข่ายและรูปแบบค้นหาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการทางการได้ยินในชุมชนต่อเนื่องระยะยาว." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4958">http://hdl.handle.net/11228/4958</a>.
.custom.total_download87
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs2444.pdf
Size: 1.733Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record