แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

อัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานและการศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยการนอนหลับและระดับกรดยูริกในเลือดกับระดับ HbA1c ในเลือดในผู้ที่มีภาวะ prediabetes ปีที่ 2

dc.contributor.authorธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวีth_TH
dc.contributor.authorThunyarat Anothaisintaweeen_US
dc.contributor.authorดำรงรัตน์ เลิศรัตนานนท์th_TH
dc.contributor.authorDumrongrat Lertrattananonen_US
dc.contributor.authorแสงศุลี ธรรมไกรสรth_TH
dc.contributor.authorSangsulee Thamakaisonen_US
dc.contributor.authorสิริมนต์ ริ้วตระกูลth_TH
dc.contributor.authorSirimon Reutrakulen_US
dc.contributor.authorอัมรินทร์ ทักขิญเสถียรth_TH
dc.contributor.authorAmmarin Thakkinstianen_US
dc.date.accessioned2018-11-23T04:36:08Z
dc.date.available2018-11-23T04:36:08Z
dc.date.issued2561-05
dc.identifier.otherhs2458
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4959
dc.description.abstractโรคเบาหวานเป็นโรคที่พบบ่อยในประชากรไทยและมีแนวโน้มที่จะพบสูงขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย, โรคเส้นเลือดในสมองตีบและโรคมะเร็ง ดังนั้นการป้องกันไม่ให้เกิดโรคเบาหวานจึงมีความสำคัญต่อการลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวานในประชากรไทย ในปัจจุบันพบว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวาน คือ การที่ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) และภาวะการทำงานของตับอ่อนที่แย่ลง (pancreatic β-cell dysfuction) ทั้ง 2 ภาวะนี้ทำให้ร่างกายเกิดการควบคุมระดับน้ำตาลที่ผิดปกติหรือเรียกว่าภาวะ prediabetes ภาวะ prediabetes เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของการเกิดโรคเบาหวานในอนาคต โดย 60% ของผู้ป่วยเบาหวานจะมีภาวะ impaired fasting glucose (IFG) หรือ impaired glucose tolerance (IGT) นำมาก่อนประมาณ 5 ปี แต่ในปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับภาวะ prediabetes ยังมีความไม่แน่นอนในหลายๆ ด้าน ทั้งด้านความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวาน (progression rate) ในแต่ละปีของคนที่มีภาวะ prediabetes นอกจากนี้ในปัจจุบันยังพบปัจจัยเสี่ยงใหม่ๆ ที่มีความสำคัญต่อการเกิดโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น เช่น ภาวะกรดยูริกสูงในเลือด (hyperuricemia) และการนอนหลับพักผ่อนที่ไม่เพียงพอ (short sleep duration, poor sleep quality) แต่ยังไม่มีการศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของปัจจัยเหล่านี้ต่อการเกิดโรคเบาหวานในประชากรไทย ดังนั้นการศึกษานี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อศึกษาหาอัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานในแต่ละปี (progression rate to diabetes mellitus) ของผู้ที่มีภาวะ prediabetes และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับการนอนหลับ (short sleep duration และ poor sleep quality) และระดับกรดยูริกในเลือด (serum uric acid level) กับระดับ HbA1C ของผู้ที่มีภาวะ prediabetes ระเบียบวิธีการศึกษา: การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบ retrospective cohort study โดยทำการเก็บข้อมูลในผู้ป่วยที่มีภาวะ prediabetes ที่มารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว โรงพยาบาลรามาธิบดี โดยจะทำการเก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือน มีนาคม พ.ศ. 2561 โดยตัวแปรต้น (dependent variables) ที่สนใจศึกษาแบ่งออกเป็น 7 ส่วนคือ 1) ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย เช่น อายุ, เพศ, ระดับการศึกษา, ประวัติการเป็นโรคเบาหวานในญาติสายตรง 2) โรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเส้นเลือดสูง 3) พฤติกรรมทางด้านสุขภาพ เช่น การดื่มเหล้า, สูบบุหรี่ 4) ข้อมูลเกี่ยวกับการนอนหลับ โดยระยะเวลาการนอนหลับและคุณภาพของการนอนหลับ (sleep duration and quality) จะวัดโดยใช้แบบสอบถาม Pittsburgh Sleep Quality Index (PSQI), ความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ obstructive sleep apnea จะวัดโดยใช้แบบสอบถาม Berlin 5) ข้อมูลเกี่ยวกับภาวะซึมเศร้าที่ส่งผลต่อการนอนหลับจะถูกวัดโดยใช้แบบสอบถาม Center for Epidemiological Studies-Depression (CES-D) 6) การตรวจร่างกาย เช่น น้ำหนัก, ส่วนสูง, ความดันโลหิต, เส้นรอบเอวและรอบสะโพก 7) ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น fasting plasma glucose (FPG), HbA1C และ serum uric acid level ตัวแปรตาม (outcome of interest) คือ การเกิดโรคเบาหวาน โดยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคเบาหวานตามเกณฑ์ของ American Diabetes Association ปี 2014 การหาอัตราการพัฒนาไปเป็นเบาหวานที่ 24-, 48-, 72-, 96-, 120- เดือน หลังจากได้รับการวินิจฉัยภาวะ prediabetes คำนวณโดยใช้วิธีการของ Kaplan-Meier method การหาปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานจะใช้วิธีการของ multivariate Cox regression model การหาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับการนอนหลับกับระดับ HbA1C ใช้วิธีการของ multivariate linear regression model การหาความสัมพันธ์ระหว่างระดับกรดยูริกกับ HbA1c ใช้วิธีการ mediation analysis ผลการศึกษาพบว่า อัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานที่ 24-, 48-, 72-, 96-, 120- เดือนหลังจากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น prediabetes อยู่ที่ 4.12% (95% CI: 3.44, 4.94), 9.11% (95% CI: 8.03, 10.33), 14.71% (95% CI: 13.22, 16.35), 21.98% (20.02, 24.10) และ 27.99% (95% CI: 25.57, 30.58) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานในผู้ที่มี fasting plasma glucose ระหว่าง 100-109 mg/dL กับผู้ที่มี fasting plasma glucose ระหว่าง 110-125 mg/dL พบว่าอัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (chi-square from Log-rank test = 43.82, P-value < 0.001) จากการวิเคราะห์แบบ multivariate Cox regression model พบว่าการสูบบุหรี่, ภาวะอ้วน, และ FPG ระหว่าง 110-125 mg/dL เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานอย่างมีนัยสำคัญในผู้ที่มีภาวะ prediabetes โดยมี hazard ratios เท่ากับ 1.65 (95% CI: 1.08, 2.52), 1.79 (95% CI: 1.38, 2.33) และ 1.86 (95% CI: 1.56, 2.23) ตามลำดับ ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยเกี่ยวกับการนอนหลับและระดับ HbA1C พบว่าในผู้ที่มีภาวะ prediabetes การเข้านอนช้ามีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c อย่างมีนัยสำคัญโดยมี β-coefficient =0.014 (95% CI: 0.0002, 0.029, P-value =0.047) นอกจากนี้คุณภาพการนอนที่ดีมีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1c ที่ลดลง โดยค่า β-coefficient ของ modified PSQI score = -0.011 (95% CI: -0.019, -0.003, P-value =0.010) ส่วนระยะเวลาการนอนหลับไม่มีความสัมพันธ์กับระดับ HbA1C ในผู้ที่มีภาวะ prediabetes ผลการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง serum uric acid และระดับ HbA1C พบว่า serum uric acid มีผลโดยตรง (direct effect) ต่อ HbA1c โดยการเพิ่มขึ้นของ serum uric acid 1 mg/dL ทำให้ HbA1c เพิ่มขึ้น 0.02% (95% CI: 0.008, 0.033) นอกจากนี้ serum uric acid ยังมีผลโดยอ้อม (indirect effect) ผ่านทางเส้นรอบเอวโดยพบว่า ทุกๆ 1 mg/dL ที่เพิ่มขึ้นของ serum uric acid มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของเส้นรอบเอวและส่งผลให้ระดับ HbA1c สูงขึ้นประมาณ 0.006% (95% CI: 0.004, 0.010) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectเบาหวานth_TH
dc.subjectDiabetes mellitusen_US
dc.subjectน้ำตาลในเลือด--การควบคุมth_TH
dc.subjectBlood Sugar--Controlen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleอัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานและการศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยการนอนหลับและระดับกรดยูริกในเลือดกับระดับ HbA1c ในเลือดในผู้ที่มีภาวะ prediabetes ปีที่ 2th_TH
dc.title.alternativeProgression rate to diabetes mellitus and association between sleep factors, serum uric acid level, and HbA1c level in prediabetic peopleen_US
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeBackground and rationale: Diabetes mellitus (DM) is the major public health burden in Thailand. DM is the significant risk factors of cardiovascular disease, end stage renal disease and cancer. Therefore, to decrease morbidity and mortality from diabetic complications, prevention of DM is an important issue. Insulin resistance and pancreatic β-cell dysfuction are the major mechanisms of developing DM. These 2 mechanisms lead to abnormal glucose regulation, called prediabetes that comprises of impaired fasting glucose or impaired glucose tolerance. Previous evidences found that prediabetes is a significant risk factor of DM. Around 60% of diabetic patients had prediabetes 5 years before developing DM. Until now, there has been no study that investigate about the progression rate to DM in Thai prediabetes patients. In addition, currently, there is new proposed risk factors of DM such as serum uric acid and sleep factors. Therefore, this study aims to estimate the progression rate to DM and assess the association between sleep factors, serum uric acid, and HbA1C level. Methods: This study was retrospective cohort study. Prediabetes patients who visited the outpatient clinic at Department of Family Medicine, Ramathibodi hospital during September 2015 to March 2018 were recruited to this study. The independent variables was divided into 7 categories, including 1) demographic data (i.e. age, sex, education level, family history of diabetes) 2) underlying diseases (i.e. hypertension, dyslipidemia) 3) health risk behavior (i.e. smoking, alcohol drinking) 4) sleep factors (i.e. sleep duration, sleep quality, risk of obstructive sleep apnea (OSA), circadian factors) 5) depressive symptoms 6) physical examination (i.e. body weight, height, waist circumference) 7) laboratory (i.e. fasting plasma glucose (FPG), HbA1C, serum uric acid). Outcome of interest was incidence of DM defined according to criteria of American Diabetes Association 2014. Progression rates of developing DM at 24-, 48-, 72-, 96-, 120- months after diagnosis of prediabetes were calculated using Kaplan-Meier method. Multivariate Cox regression analysis was applied to explore the independent relationship between factors and risk of DM. Association between sleep factors and HbA1C was estimated using multivariate linear regression model. Direct and indirect effects of serum uric acid on HbA1c level were investigated using mediation analysis. Results: Progression rates to DM 2, 4, 6, 8, and 10 years after diagnosis of prediabetes were 4.12% (95% CI: 3.44, 4.94), 9.11% (95% CI: 8.03, 10.33), 14.71% (95% CI: 13.22, 16.35), 21.98% (20.02, 24.10) and 27.99% (95% CI: 25.57, 30.58), respectively. Participants with FPG = 110-125 mg/dL had a significant higher progression rate to DM than participants who had FPG = 100-109 mg/dL (chi-square from Log-rank test = 43.82, P-value < 0.001). Results from multivariate Cox regression analysis show that current smokers, obesity defined by body mass index ≥27.5 kg/m2 and FPG = 110-125 mg/dL were independently associated with risk of developing diabetes. Hazard ratios of current smokers, obesity and FPG = 110-125 mg/dL were 1.65 (95% CI: 1.08, 2.52), 1.79 (95% CI: 1.38, 2.33) and 1.86 (95% CI: 1.56, 2.23), respectively. Results from multivariate linear regression analysis found that later chronotype measured by mid sleep time on free day was significantly associated with HbA1C level (β-coefficient =0.014 [95% CI: 0.0002, 0.029, P-value =0.047]). In addition, patients with higher modified PSQI score had significantly lower HbA1C level than patients with lower modified PSQI score (β-coefficient = -0.011 [95% CI: -0.019, -0.003, P-value =0.010]). However, sleep duration were not significantly associate with HbA1C level. Serum uric acid had the direct effect on HbA1c level. Increased 1 mg/dL of serum uric acid was significantly associated with 0.02% (95% CI: 0.008, 0.033) increased HbA1c level. In addition, serum uric acid also had the indirect effect on HbA1c via waist circumference.en_US
dc.identifier.callnoWK810 ธ454อ 2561
dc.identifier.contactno60-042
.custom.citationธัญญรัตน์ อโนทัยสินทวี, Thunyarat Anothaisintawee, ดำรงรัตน์ เลิศรัตนานนท์, Dumrongrat Lertrattananon, แสงศุลี ธรรมไกรสร, Sangsulee Thamakaison, สิริมนต์ ริ้วตระกูล, Sirimon Reutrakul, อัมรินทร์ ทักขิญเสถียร and Ammarin Thakkinstian. "อัตราการพัฒนาไปเป็นโรคเบาหวานและการศึกษาความสัมพันธ์เกี่ยวกับปัจจัยการนอนหลับและระดับกรดยูริกในเลือดกับระดับ HbA1c ในเลือดในผู้ที่มีภาวะ prediabetes ปีที่ 2." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4959">http://hdl.handle.net/11228/4959</a>.
.custom.total_download144
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year4

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2458.pdf
ขนาด: 2.944Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย