แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การพัฒนาชุดตรวจสำเร็จรูป (แบบ ELISA และ แบบรวดเร็ว) เพื่อตรวจหา antifilarial IgG4 ที่จำเพาะต่อพยาธิเท้าช้างโดยใช้ ecombinant antigen

dc.contributor.authorสิริจิต วงศ์กำชัยth_TH
dc.contributor.authorSirichit Wongkamchaien_EN
dc.contributor.authorลัดดาวัลย์ โควาวิเศษสุตth_TH
dc.contributor.authorLadawan Khowawisetsuten_EN
dc.contributor.authorปฏิมาพร วงษ์พรหมพิทักษ์th_TH
dc.contributor.authorPatimaporn Wongprompitaken_EN
dc.contributor.authorสุมาศ ลอยเมฆth_TH
dc.contributor.authorSumas Loymeken_EN
dc.contributor.authorศันสนีย์ โรจนพนัสth_TH
dc.contributor.authorSunsanee Rojanapanusen_EN
dc.contributor.authorถาวรชัย ลิ้มจินดาพรth_TH
dc.contributor.authorThawornchai Limjindapornen_EN
dc.date.accessioned2018-11-23T05:27:51Z
dc.date.available2018-11-23T05:27:51Z
dc.date.issued2561
dc.identifier.otherhs2456
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4961
dc.description.abstractโรคเท้าช้างเกิดจากพยาธิฟิลาเรีย ได้แก่ Wuchereria bancroti, Brugia malayi, B. timori โดยมียุงเป็นพาหะนำโรค โรคเท้าช้างเป็นโรคอันดับสองที่ทำให้เกิดความพิการ ซึ่งก่อปัญหาทั้งด้านสังคมและเศรษฐกิจของประเทศในเขตร้อนและชิดเขตร้อนรวมถึงประเทศไทย ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวชาวพม่าเข้ามาทำงานตามจังหวัดต่างๆ ของไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งพบว่ามีการติดเชื้อพยาธิเท้าช้างในแรงงานเหล่านี้ จึงจำเป็นต้องมีการเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในแรงงานเหล่านี้ ตลอดจนต้องเฝ้าระวังในคนไทยที่อาศัยในจังหวัดที่เคยเป็นแหล่งระบาดของโรคเท้าช้าง เพื่อป้องกันการกลับมาแพร่ระบาดใหม่ เนื่องจากวิธีการตรวจหาพยาธิระยะไมโครฟิลาเรีย ซึ่งจำเป็นต้องเจาะเลือดตรวจในเวลากลางคืน ดังนั้น จำเป็นต้องพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างที่สะดวกและมีประสิทธิภาพสูง คณะผู้วิจัยจึงได้ทำการผลิตรีคอมบิแนนท์โปรตีน iPGM และ SXP จากนั้นนำโปรตีนรีคอมบิแนนท์ที่ผลิตได้มาทำให้บริสุทธิ์ แล้วใช้เป็นแอนติเจนสำหรับผลิตชุดตรวจสำเร็จรูปต้นแบบคือ rapid test kit และ ELISA based test kit จากนั้นนำชุดตรวจที่พัฒนาขึ้น มาทดสอบประสิทธิภาพในระดับห้องปฏิบัติการและในภาคสนามในจังหวัดตาก แม่ฮ่องสอนและนราธิวาส ผลการประเมินประสิทธิภาพในระดับห้องปฏิบัติการพบว่า เมื่อเทียบกับวิธีการตรวจหาพยาธิระยะไมโครฟิลาเรียโดยการย้อมฟิล์มเลือดหนา (gold standard) ชุดตรวจแบบรวดเร็ว (FilariaDIAGRAPID test kit) ที่ใช้โปรตีนรีคอมบิแนนท์ SXP เป็นแอนติเจน มีความไว (Sensitivity), ความจำเพาะ (Specificity), Positive predictive value และ Negative predictive Value 97.9%, 98.9%, 95.8% และ 99.4% ตามลำดับ ในขณะที่ชุดตรวจแบบรวดเร็ว ที่พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรตีนรีคอมบิแนนท์ iPGM เป็นแอนติเจน มีความไว (Sensitivity), ความจำเพาะ (Specificity), Positive predictive value และ Negative predictive Value คือ 72.3%, 68.8%, 51.6% และ 90.5% ตามลำดับ สำหรับผลการศึกษาประสิทธิภาพในระดับห้องปฏิบัติการของชุดตรวจสำเร็จรูปแบบ ELISA based test kit (FilariaDIAG test kt) สำหรับใช้ในห้องปฏิบัติการที่พัฒนาขึ้นโดยใช้โปรตีนรีคอม บิแนนท์ SXP เป็นแอนติเจนมีความไว (Sensitivity), ความจำเพาะ (Specificity), Positive predictive value (PPV) และ Negative predictive Value (NPV) คือ 98.1%, 98.9%, 96.3% และ 99.4% ตามลำดับ ผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจที่พัฒนาขี้นในภาคสนาม โดยใช้ตรวจคัดกรองการติดเชื้อพยาธิเท้าช้างในชาวพม่าตามแนวตะเข็บชายแดน ไทย-พม่า (ริมแม่น้าเมย) ที่อำเภอแม่สอดและอำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 509 ราย พบแอนติบอดีชนิด antifilarial IgG4 จำนวน 6 ราย (6/509) ซึ่งคิดเป็นความชุก 1.2% สำหรับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อพยาธิเท้าช้างในชาวพม่าตามตะเข็บชายแดน ไทย-พม่า (ริมแม่น้าสาละวิน) ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 363 ราย พบ antifilarial IgG4 บวก 7 ราย (7/363) ซึ่งคิดเป็นความชุก 1.9% และสำหรับการตรวจคัดกรองการติดเชื้อพยาธิเท้าช้างในชาวไทยในอำเภอสุไหงโกลก สุไหงปาดีและอำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาส จำนวน 525 ราย ตรวจพบแอนติบอดีชนิด antifilarial IgG4 จำนวน 3 ราย (3/525) ซึ่งคิดเป็นความชุก 0.59% สำหรับผลการประเมินประสิทธิภาพของชุดตรวจสำเร็จรูป แบบ ELISA based test kit (FilariaDIAG) โดยใช้น้ำเหลืองจากชาวพม่าตามตะเข็บชายแดน ไทย-พม่า (ริมแม่น้าเมย) ที่อำเภอแม่สอดและอำเภอพบพระ จังหวัดตาก จำนวน 509 ราย และน้ำเหลืองจากชาวพม่าตามตะเข็บชายแดน ไทย-พม่า (ริมแม่น้าสาละวิน) ตำบลแม่สามแลบ อำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 363 ราย พบความชุกของ antifilarial IgG4 คือ 1.2% (6/509) และ 1.9% (7/363) ตามลำดับ ผลการวิจัยสรุปว่าชุดตรวจวินิจฉัยโรคเท้าช้างต้นแบบทั้งสองชุด ซึ่งใช้รีคอมบิแนนท์โปรตีน SXP เป็น แอนติเจนมีประสิทธิภาพสูงและเหมาะที่จะใช้ในการคัดกรองโรคเท้าช้างและเฝ้าระวังโรคเท้าช้างในจังหวัดที่เคยเป็นแหล่งระบาดของโรคเท้าช้างรวมถึงในแรงงานชาวพม่าth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectโรคเท้าช้างth_TH
dc.subjectElephantiasisen_EN
dc.subjectโรคเท้าช้าง--การป้องกันและควบคุมth_TH
dc.subjectElephantiasis, Filarial--prevention & controlen_EN
dc.subjectผลิตภัณฑ์ วัคซีน และเทคโนโลยีทางการแพทย์ (Medical Products, Vaccines and Technologies)th_TH
dc.titleการพัฒนาชุดตรวจสำเร็จรูป (แบบ ELISA และ แบบรวดเร็ว) เพื่อตรวจหา antifilarial IgG4 ที่จำเพาะต่อพยาธิเท้าช้างโดยใช้ ecombinant antigenth_TH
dc.title.alternativeDevelopment of a test kits (ELISA and lateral flow rapid format) for detection of antifilarial IgG4 using recombinant antigenen_EN
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeLymphatic filariasis (LF), commonly known as elephantiasis is caused by Filaria parasite i.e. Wuchereria bancrofti, Brugia malayi, B. timori and transmitted by mosquitoes. There are about 40 million people in tropical and subtropical areas suffer from severe disfigurement and disability caused by the disease. It is estimated that more than million Myanmar migrant workers have settled in Thailand and some of them also carry Wuchereria bancrofti. Moreover, Thailand was certified by WHO for successful elimination of lymphatic filariasis and now is in surveillance phase to prevent reemergeing of the disease. Since microfilariae detection by thick blood smear staining technique need night blood collection. Thus, convenience and effective diagnositic tool is needed for the management of filarial infection both at the level of the individual treatment and disease control in populations in regions endemic for filariasis. In the present study, two recombinant proteins iPGM and SXP were produced. Then prototype two test kits, an enzyme-linkedimmunosorbentassay (ELISA) based test kit (FilariaDIAG test kit) and a chromatographic rapid test kit (FilariaDIAGRAPID), were developed, using iPGM recombinant protein and SXP recombinant protein as antigen. Efficacy of the developed test kits were validated in both laboratory condition and in field. Sensitivity of the rapid test kit using recombinant protein SXP antigen shows 97.9% sensitivity, 98.9% specificity, 95.8% positive predictive value and 99.4% negative predictive value when using microfilaria detection by thick blood smear staining as gold standard. The rapid test kit using recombinant protein iPGM antigen reveals sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value of 72.3%, 68.8%, 51.6% and 90.5% respectively. For the ELISA based test kit (FilariaDIAG test kit) showed sensitivity, specificity, positive predictive value and negative predictive value of 98.1%, 98.9%, 96.3% and 99.4% accordingly. For field validation, the prevalence of bancroftian filariasis in 509 Myanmar live in Thai-Myanmar boarder in Masod and Phoppha district, Tak province was 1.2% (6/509) while the prevalence of bancroftian filariasis in 363 Myanmar live in Thai-Myanmar boarder in SopMye district, Mahongsorn province was 1.9% (7/363). For prevalence of brugian filariasis in Thai people live in Tak Bai, Sugnai-Padee and Sugai-kolok Narathiwat province (endemic areas of B. malayi) was 0.57% (3/525). Using the ELISA based test kit (FilariaDIAG), antifilarial IgG4 was detected in 1.2% (6/509) of sera collected from Myanmar live in Thai-Myanmar boarder in Masod and Phoppha district, Tak province and in 1.9% (7/363) of sera collected from Myanmar live in Thai-Myanmar boarder in SopMye district, Mahongsorn province. In conclusion, the 2 prototype test kits are useful as tools for screening and surveillances of lymphatic filariasis in B. malayi-endemic areas as well as in Myanmar workers.en_EN
dc.identifier.callnoWC880 ส821ก 2561
dc.identifier.contactno60-045
dc.subject.keywordLymphatic filariasis (LF)en_EN
.custom.citationสิริจิต วงศ์กำชัย, Sirichit Wongkamchai, ลัดดาวัลย์ โควาวิเศษสุต, Ladawan Khowawisetsut, ปฏิมาพร วงษ์พรหมพิทักษ์, Patimaporn Wongprompitak, สุมาศ ลอยเมฆ, Sumas Loymek, ศันสนีย์ โรจนพนัส, Sunsanee Rojanapanus, ถาวรชัย ลิ้มจินดาพร and Thawornchai Limjindaporn. "การพัฒนาชุดตรวจสำเร็จรูป (แบบ ELISA และ แบบรวดเร็ว) เพื่อตรวจหา antifilarial IgG4 ที่จำเพาะต่อพยาธิเท้าช้างโดยใช้ ecombinant antigen." 2561. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4961">http://hdl.handle.net/11228/4961</a>.
.custom.total_download77
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year6

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2456.pdf
ขนาด: 4.091Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย