Show simple item record

An evaluation of governmental homes for the aged: case studies of the three homes for the aged

dc.contributor.authorจิราลักษณ์ จงสถิตมั่นen_US
dc.contributor.authorChiralak Jongsathitmanen_US
dc.contributor.authorพรประภา สินธุนาวาen_US
dc.contributor.authorนภัส ศิริสัมพันธ์en_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:34Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:35:31Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:34Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:35:31Z
dc.date.issued2543en_US
dc.identifier.otherhs0768en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1157en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยเรื่องนี้เป็นการประเมินสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐ ศึกษาเฉพาะกรณีสถานสงเคราะห์คนชรารวม 3 แห่ง โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณผสมผสานกับเชิงคุณภาพ กรอบแนวคิดที่ใช้นั้นได้ดัดแปลงมาจากรูปแบบการประเมิน CIPP และมีการนำมิติหญิงชายมาวิเคราะห์ข้อมูลร่วมด้วย ผลการศึกษาจากการประเมินบริบทแวดล้อมของสถานสงเคราะห์คนชรา พบว่าพื้นที่ของสถานสงเคราะห์และสภาพแวดล้อมมีผลต่อปฏิสัมพันธ์และพฤติกรรมของผู้สูงอายุและพบด้วยว่าชุมชนใกล้เคียงสถานสงเคราะห์และสาธารณชน ยังไม่มีส่วนร่วมในการดำเนินงานและการตรวจสอบการดำเนินงานของสถานสงเคราะห์คนชราแต่อย่างใด ในด้านการประเมินผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์คนชรา พบว่า ผู้สูงอายุที่เป็นกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นหญิงมากกว่าชาย และมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมอยู่ในระดับล่าง สาเหตุที่เข้ามาอยู่ในสถานสงเคราะห์ก็เพราะไม่มีผู้ดูแลอยู่ที่บ้าน ทั้งนี้ผู้สูงอายุในสัดส่วนที่สูงไม่เข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ของสถานสงเคราะห์เลยเพราะปัญหาสุขภาพ อย่างไรก็ดีผู้สูงอายุส่วนใหญ่ก็มีทัศนะว่าชีวิตในสถานสงเคราะห์ปัจจุบันดีขึ้นกว่าแต่ก่อน ซึ่งผลของการศึกษายังพบแนวโน้มที่ผู้สูงอายุจะมีการศึกษาและมีฐานะเศรษฐกิจสังคมสูงขึ้น ทำให้สถานสงเคราะห์ต้องเผชิญกับปัญหาการเรียกร้องสิทธิของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่อนำมิติหญิงชายมาวิเคราะห์ ก็พบว่าผู้สูงอายุชายมีฐานะทางเศรษฐกิจและสังคมดั้งเดิมดีกว่าผู้หญิง มีรายได้ปัจจุบันมากกว่าผู้หญิง สุขภาพร่างกายแข็งแรงมากกว่า และมีเครือญาติมากกว่าผู้หญิง อีกทั้งยังเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่าผู้หญิงด้วย ในด้านจิตใจพบว่าผู้สูงอายุชายมีสุขภาพจิตดีกว่าผู้สูงอายุหญิง มีความต้องการทางจิตใจและจิตวิญญาณน้อยกว่าผู้หญิง ส่วนในด้านศักยภาพก็พบว่า แม้สัดส่วนของผู้หญิงที่มีความถนัดหรือความชำนาญจะสูงกว่าผู้ชาย แต่เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว ผู้ชายต้องการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชนและสังคมมากกว่าผู้หญิง และในประการสุดท้าย ผู้สูงอายุหญิงต้องการอยู่ในสถานสงเคราะห์คนชราตลอดไปมากกว่าผู้ชาย ผลประเมินในด้านทรัพยากรในการบริหารงานของสถานสงเคราะห์ พบว่ามีการใช้จ่ายทรัพยากรไปในการสงเคราะห์ผู้สูงอายุต่อบุคคลค่อนข้างสูงถึงปีละ 34,500 บาท ในด้านนโยบายพบว่านโยบายของสถานสงเคราะห์คนชราต่างๆ ในสังกัดกรมประชาสงเคราะห์ยังขาดเอกภาพ เพราะยึดถือกรอบนโยบายหลายกรอบ และแผนงานกับโครงการก็มีความยืดหยุ่นสูงเกินไป อีกทั้งยังไม่มีกลไกในการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนงานกับโครงการดังกล่าวด้วย ในด้านการบริหารงานก็พบว่า สถานสงเคราะห์คนชราในต่างจังหวัดมีความเป็น “อาณาจักร” สูง และยึดโยงกับส่วนกลางมากจนยังมิได้เป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคอย่างแท้จริง ส่วนในด้านการบริหารงบประมาณ ก็พบว่าสถานสงเคราะห์แต่ละแห่งยังต้องพึ่งพาการรับบริจาคจากสาธารณชนมาก และในด้านการบริหารบุคลากรก็พบว่า การกระจายตัวของบุคลากรในแต่ละสถานสงเคราะห์ยังไม่สมดุล และไม่เป็นไปตามกรอบอัตรากำลังที่ตั้งไว้ ในด้านการให้บริการของสถานสงเคราะห์ พบว่ามีการรับผู้สูงอายุที่ไม่เดือดร้อนจำเป็นจริงๆ เข้าสถานสงเคราะห์คนชรา และพบด้วยว่าจุดแข็งของสถานสงเคราะห์ ก็คือ สามารถตอบสนองความต้องการด้านกายภาพของผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดี แต่ข้อจำกัดก็คือไม่อาจตอบสนองความต้องการด้านจิตใจและจิตวิญญาณของผู้สูงอายุได้ ส่วนในด้านการปฏิบัติงานของบุคลากร ก็พบว่าปัญหาสำคัญ ได้แก่ บุคลากรระดับล่างยังไม่มีคุณภาพเท่าที่ควร และบุคลากรสถานสงเคราะห์เองก็ยังไม่อาจจะแก้ไขปัญหาของผู้สูงอายุในสถานสงเคราะห์ ที่นับวันก็จะทวีความรุนแรงมากขึ้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในด้านผลการดำเนินงานของสถานสงเคราะห์ พบว่าบริการและกิจกรรมมีความพอเพียงแล้ว และเจ้าหน้าที่ก็ปฏิบัติต่อผู้สูงอายุอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม แต่สิ่งที่ไม่เป็นธรรม ก็คือผู้สูงอายุที่มีฐานะดีและปานกลางค่อนข้างดี ได้รับประโยชน์จากสถานสงเคราะห์เท่าเทียมกับผู้สูงอายุที่ยากจน ไร้ที่พึ่งพา และการที่ผู้สูงอายุถดถอยยังเข้าไม่ถึงบริการกับกิจกรรมของสถานสงเคราะห์เท่าที่ควร ส่วนในด้านความยั่งยืนของบริการและกิจกรรม ก็พบว่าผู้สูงอายุเป็นผู้รอรับบริการมากกว่าการมีส่วนร่วม จึงยังไม่อาจเรียกได้ว่ามีความยั่งยืนอย่างแท้จริงได้ ในประการสุดท้าย คือ ผลกระทบที่เกิดจากสถานสงเคราะห์นั้น พบว่าการที่ผู้สูงอายุและครอบครัวยากจนได้รับประโยชน์จากการที่ผู้สูงอายุเข้ามารับการสงเคราะห์ จัดได้ว่าเป็นผลกระทบทางตรง ส่วนผลกระทบทางอ้อมที่สำคัญ ก็คือ การที่สถานสงเคราะห์เป็นจุดให้กำเนิดของศูนย์บริการผู้สูงอายุในชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1845098 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบสุขภาพของประชาชนกลุ่มต่างๆen_US
dc.subjectผู้สูงอายุ--สถานสงเคราะห์en_US
dc.titleการประเมินสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีสถานสงเคราะห์ 3 แห่งen_US
dc.title.alternativeAn evaluation of governmental homes for the aged: case studies of the three homes for the ageden_US
dc.description.abstractalternativeThis study is an assessment of the operation of Governmental Homes for the Aged through three case studies . The study employs both quantitative and and qualitative methods within the adapted CIPP framework utilizing gender dimensions for data analysis. Assessment of the environmental context of the Homes for the Aged revealed that the space and surroundings of the Home affected the interaction and behavior of the aging residents. Meanwhile, the community adjacent to the Homes and the public were found to have no participation in and investigation of such Homes. As far as the assessment of the aging residents in the Home is concerned, the sample population comprised the women in the lower socioeconomic strata as the majority. Most of the aging sample were admitted to the Homes due to no carer at home. The study found that the high proportion of the aging residents did not participate in any activity arranged by the Homes due to their health problems. However, the majority of the residents were of the opinion that their current lives were better off. The study also found the increasing trend of the Homes to admit the residents with better socio –economic conditions and to confront the residents’ voicing of their rights and benefits. The gender analysis yielded the results that the men residents had better previous socio-economic conditions and more current income than their women fellows. They also had better physical conditions, more kinship network, and participated more in the activities of the Home. The study also found that such men residents had better mental health, more psychological and spiritual needs compared with women. Regarding the potentiality, although the women residents who possessed certain skills were proportionately higher than men, men were more willing to contribute for the social goods than women . Besides, the women residents expressed the will to further live in the Homes more than men. Assessment of the administrative resources of the Homes disclosed that the unit cost per resident was as high as Baht 34,500 annually. In terms of policy, the policy formulated by each Home was found to be lacked of unity due to adherence to various policy orientation. Added to this, the programs and projects were extremely flexible while no mechanism was devised to monitor and evaluate them. Administratively, it was found that the Home locating in the provinces operated as independently as “the Kingdom” and was connected with the central administration than the provinces they attached. As far as the budget allocation was concerned, each Home was found to be highly dependent upon public donation. For personnel administration, the study found that the personnel distribution in each Home was imbalanced with those earmarked. With reference to the services provision, the study found that the aging residents who were not in dire need were admitted. The fact that the main strength of the Home was its capacity to respond to the physical needs of the residents while the main weakness of the Home was its unresponsiveness to psychological and spiritual needs of the residents were also found. For personnel performance, the major problem of the Home was the low quality of the personnel at the services level were also found to be incapable of solving the problems of the residents of the Homes effectively. As regards the operation of the Home, the study found that the services and activities provided were adequate and that the residents were indiscriminatory treated. However, the inequality existed was that the better off residents enjoyed similar benefits of the Home with the poor and needy residents and that the declining residents were somewhat inaccessible to the services provision. Furthermore, since the residents were mere beneficiaries, the sustainability of the services and activities of the Home was far from reality. Lastly, the study found the direct impact of the Home to be the benefits the needy obtained from the Home while the main indirect impact was the inception of the Elderly Social Service Centers in the various communities.en_US
dc.identifier.callnoWT29 จ539ก 2543en_US
dc.subject.keywordGovernmental Homesen_US
dc.subject.keywordAge Groupsen_US
dc.subject.keywordHome for the ageden_US
dc.subject.keywordสถานสงเคราะห์คนชราen_US
.custom.citationจิราลักษณ์ จงสถิตมั่น, Chiralak Jongsathitman, พรประภา สินธุนาวา and นภัส ศิริสัมพันธ์. "การประเมินสถานสงเคราะห์คนชราของรัฐ : ศึกษาเฉพาะกรณีสถานสงเคราะห์ 3 แห่ง." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1157">http://hdl.handle.net/11228/1157</a>.
.custom.total_download200
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs0768.pdf
Size: 1.579Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record