แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้าง ในภาคเหนือ พ.ศ.2537-2538 : การศึกษาเชิงปริมาณ

dc.contributor.authorอภินันท์ อร่ามรัตน์en_US
dc.contributor.authorApinun Aramraten_US
dc.contributor.authorพงศ์เทพ วิวรรธนะเดชen_US
dc.contributor.authorกรรณิการ์ บรรเทิงจิตรen_US
dc.contributor.authorอัญชลี สิงหเนตรen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:17:36Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:42Z
dc.date.available2008-12-04T05:17:36Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:42Z
dc.date.issued2539en_US
dc.identifier.otherhs0006en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1160en_US
dc.description.abstractการศึกษาปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้าง ในภาคเหนือพ.ศ.2537-2538 : การศึกษาเชิงปริมาณการศึกษาครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการร่วมมือวิจัยปัญหาดังกล่าว ทั่วประเทศ โดยใช้โครงร่างการวิจัยเดียวกันใช้แบบฟอร์มและวิธีการเก็บข้อมูลอย่างเดียวกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ข้อมูลพื้นฐานของปัญหาสังคมและสาธารณสุขของ คนงานก่อสร้าง แบ่งเป็นสองส่วนใหญ่ ๆ คือ การศึกษาเชิงปริมาณ และเชิงคุณภาพ รายงานนี้เป็นผลของการศึกษาเชิงปริมาณโดยทำการสำรวจภาคตัดขวาง เก็บข้อมูลการก่อสร้าง ปัญหาสังคม สิ่งแวดล้อมและสาธารณสุขของแหล่งก่อสร้างและคนงานในภาคเหนือ การสำรวจกระทำในเขตเทศบาลของ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่และพิษณุโลก โดยสำรวจเฉพาะแหล่งก่อสร้างที่อยู่ในระยะวางรากฐานและมีคนงาน มากกว่า 20 คน แล้วสุ่มเลือกแหล่งก่อสร้างทั้งขนาดใหญ่ พื้นที่เมื่อสร้างเสร็จมากกว่า 10,000 ตารางเมตร และขนาดเล็ก รวมทั้งหมด 40 แห่ง ทำการสัมภาษณ์ผู้รับเหมาหรือตัวแทน และสังเกตปัญหาการทำงาน สิ่งแวดล้อม สังคม การเกิดอุบัติเหตุและโรคภัยต่าง ๆ ทั้งในที่ทำงานและที่พัก สุ่มเลือกคนงานก่อสร้างแห่งละ 20 คน มาทำการสัมภาษณ์ปัญหาต่าง ๆ ประมาณ 100 คำถาม ครอบคลุมทั้งปัญหาทางด้านประชากร สังคม เศรษฐกิจและสาธารณสุข การสำรวจพบว่ามีผู้รับเหมาทั้งหมด 49 บริษัท มีคนงานรวม ประมาณกว่า 4,000 คน แหล่งก่อสร้างขนาดเล็กมีคนงานน้อยกว่าและมีการหมุนเวียนเข้าออกระยะสั้น เป็นสัดส่วนสูงกว่าขนาดใหญ่ มีเพียงแหล่งขนาดเล็ก 2 แห่งที่ไม่มีที่พักให้คนงาน จากการสัมภาษณ์ผู้รับเหมาหรือตัวแทน พบว่าตั้งแต่เริ่มงานก่อสร้างมีคนงานเสียชีวิตรวม 5 คน ทำให้พอจะคะเนหยาบ ๆ ได้ว่า อัตราตายของคนงานก่อสร้าง น่าจะไม่ต่ำกว่า 1.17 ราย/1,000 คน อัตราบาดเจ็บไม่ต่ำกว่า 8.9 ราย/1,000 คน/เดือน ส่วนใหญ่เกิดจากตะปูตำเท้า สภาพความปลอดภัย สุขาภิบาล สิ่งแวดล้อม และการดูแลเอาใจใส่คนงานก่อสร้างด้านต่าง ๆ ทั้งในที่ทำงานและในที่พักอยู่ในระดับต่ำ โดยเฉพาะแหล่งก่อสร้างขนาดเล็ก มีปัญหาทางสังคมและโรคระบาด (ท้องร่วงและไข้หวัดใหญ่) เกิดขึ้นเป็นครั้งคราว คนงาน 802 รายถูกสุ่มมาทำการสัมภาษณ์ พบว่า เป็นชายมากกว่าหญิง ส่วนใหญ่อายุ 20-49 ปี มีการศึกษาระดับประถม มาจากภาคเกษตรกรรม ประมาณ ร้อยละ 90 มีภูมิลำเนาอยู่ในภาคเหนือ กว่าครึ่งหนึ่งมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดเดียวกันกับการก่อสร้าง ประมาณ ร้อยละ 60 พักในที่พักคนงาน ร้อยละ 80 แต่งงานแล้วและมีลักษณะครอบครัวแบบ nuclear type ประมาณ ร้อยละ 20 ต้องแยกอยู่กับลูก และ ร้อยละ 10 ลูกขาดโอกาสทางการศึกษา ร้อยละ 90 มีรายได้จากการก่อสร้างต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน แม้จะรวมรายได้ของครอบครัวจากด้านอื่นแล้วยังคงมีอีกประมาณ ร้อยละ 50 ที่รายได้รวมของครอบครัวต่ำกว่า 5,000 บาท ต่อเดือน โดยทั่วไปสภาพการจ้างงาน สิทธิตามกฎหมาย สวัสดิการต่าง ๆ และการดูแลความปลอดภัยที่คนงานได้รับจากผู้รับเหมารายใหญ่จะดีกว่าผู้รับเหมารายย่อย แต่ยังคงอยู่ในระดับต่ำ คนงานดูเหมือนจะยอมรับสภาพดังกล่าว โดยส่วนใหญ่บอกว่า พอใจในการทำงานนี้ แต่ก็มีเพียงส่วนน้อยที่อยากจะให้ลูกหลานตนเองมาทำงานเช่นนี้ การรวมตัวกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์อันพึงมีของคนงานเป็นสิ่งหายาก การคอยตรวจตราดูแลจากทางหน่วยราชการก็น้อยเกินไป ไม่น้อยกว่าหนึ่งในสี่ของคนงานจึงมีโอกาสเจ็บป่วยหนักจนต้องหยุดงาน ในระยะ 1 ปี โดยมีสัดส่วนของอุบัติเหตุต่อโรคอื่น ๆ เท่ากับหนึ่งต่อสี่ สาเหตุส่วนใหญ่ของอุบัติเหตุคือตะปูตำเท้า สาเหตุส่วนใหญ่ของโรคอื่น ๆ คือไข้ไม่ทราบสาเหตุ และไข้หวัดใหญ่ ระหว่างการเจ็บป่วยมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่ยังคงได้รับค่าจ้าง และการช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาลจากนายจ้าง คนงานเหล่านี้ใช้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขในด้านต่าง ๆ จากโรงพยาบาลของรัฐและสถานีอนามัยเป็นส่วนใหญ่ คนงานหญิงเป็นกลุ่มที่มีความลำบากมาก ต้องทำงานที่ต้องใช้แรงกายค่อนข้างหนัก ค่าตอบแทนต่ำกว่าชาย มีความรู้ในสิทธิต่าง ๆ น้อย มีโอกาสก้าวหน้าในงานน้อยกว่าชาย และยังมีภาระทางครอบครัวมากกว่าen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectSocial Problemsen_US
dc.subjectHealthen_US
dc.subjectLaboren_US
dc.subjectQuality of Lifeen_US
dc.subjectไทย(ภาคเหนือ)en_US
dc.titleการศึกษาปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้าง ในภาคเหนือ พ.ศ.2537-2538 : การศึกษาเชิงปริมาณen_US
dc.title.alternativeThe Social and Health Problems of Construction Workers in the Northern Regionen_US
dc.description.abstractalternativeThe social and health related problems of construction workers in the northern regionThis study was a part of the research collaboration project of the same study conducted throughout the country, using the same research framework, format, and methodology. Its aim was to acquire social and health-related information of construction workers. It consisted of both quantitative and qualitative study. This paper is a report of the quantitative study, using a cross-sectional survey to collect information on the social, environmental, and health-related problems of construction areas and the workers in the northern region. The survey was conducted in Muang Chiangmai and Muang Pitsanulok Municipalities. It included 40 small and large construction areas that employed more than 20 workers and were in the early stage of construction. The contractors and the workers were interviewed. The study showed that the mortality rate was about 1.17 per 1000 and injury rate was 8.9/1000/month. Safety, sanitation, environment and living condition of the workers were poor. Most of the workers were male, aged between 20 – 49, completed primary level of education, and were from agricultural background. 90% of them were from the northern region, and more than 50% resided in the same province as their workplace. 80% of the workers were married, 20% living separately from their children, and 10% had children with no opportunity for education. The study also reported that 90% of the workers earned less than 5,000 Baht/month and most of them were satisfied with their job although their living condition was poor, including the employment status, the right and benefits, and the safety issues. It was rare to see the workers gathering for the protection of their right and benefits. There was also little support and supervision from government.No less than 25% had such serious illness that they had to stop working during the past year. The major cause of illness was fever of unknown origin and influenza. While on sick leave, only one-third of them received wages and support from employer. Female workers were in worse condition than male, with lower wages, less career opportunity, and more family responsibilities.Recommendation for further studiesSet up guidelines for the protection and reduction of mortality and injury rateConduct a long term study of the family of the workersStudy an organization structure of workers that is suitable for employment status and working conditionStudy problems associated with alien workers and its effect to Thai workersen_US
dc.identifier.callnoWA20.5 อ163ก 2539en_US
dc.subject.keywordคนงานก่อสร้างen_US
dc.subject.keywordปัญหาสังคมen_US
dc.subject.keywordคุณภาพชีวิตแรงงานen_US
.custom.citationอภินันท์ อร่ามรัตน์, Apinun Aramrat, พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช, กรรณิการ์ บรรเทิงจิตร and อัญชลี สิงหเนตร. "การศึกษาปัญหาสังคมและสาธารณสุขของคนงานก่อสร้าง ในภาคเหนือ พ.ศ.2537-2538 : การศึกษาเชิงปริมาณ." 2539. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1160">http://hdl.handle.net/11228/1160</a>.
.custom.total_download49
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0006.pdf
ขนาด: 1.875Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย