dc.contributor.author | ขนิษฐา พอนอ่วม | en_US |
dc.contributor.author | Kanitta Puan-Auam | en_US |
dc.contributor.author | สาทิศ สุขผ่องศรี | en_US |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:18:03Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:33:17Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:18:03Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:33:17Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.other | hs0735 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1223 | en_US |
dc.description.abstract | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช การวิจัยการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง : ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวใหม่ คือการท่องเที่ยวเชิงนิเวศซึ่งเป็นการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น และแหล่งวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบนิเวศ โดยมีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของผู้เกี่ยวข้องภายใต้การจัดการสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมของท้องถิ่น เพื่อมุ่งเน้นให้เกิดจิตสำนึกต่อการรักษาระบบนิเวศอย่างยั่งยืน โดยการเลือกพื้นที่ศึกษาที่ชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นตัวแบบในการศึกษาทั้งทางด้านศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของพื้นที่ ความต้องการและความคิดเห็นของคนในชุมชน ปัญหาผลกระทบด้านต่างๆ ตลอดจนแนวทางในการพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชนในพื้นที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ขยายผลกับชุมชนอื่นๆ ที่มีศักยภาพของการท่องเที่ยวอย่างเดียวกัน ในการวิจัย ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลจากพื้นที่ศึกษา โดยออกแบบสอบถามตัวอย่างประชากรในพื้นที่ จำนวน 346 ตัวอย่าง และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์และสัมภาษณ์เจาะลึก โดยเจาะจงตัวอย่างจากผู้นำทางการและผู้นำทางธรรมชาติ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่เกี่ยวข้องและนักท่องเที่ยว จำนวน 50 ตัวอย่าง แล้วนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงสถิติ ผลจากการวิจัยพบว่า พื้นที่คีรีวงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศทั้งปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต ประชาชน องค์กรชุมชนและนักท่องเที่ยว มีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวเชิงนิเวศของชุมชนคีรีวงในระดับหนึ่ง ปัญหาและผลกระทบส่วนใหญ่เกิดจากด้านกายภาพ มากกว่าปัญหาในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม สุขภาพและคุณภาพชีวิต โดยมีแนวทางในการพัฒนาและอนุรักษ์ชุมชนด้วยการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างมีระบบ ได้รับการสนับสนุนร่วมมือด้วยดีทั้งในชุมชนและภายนอกชุมชนในแบบพหุภาคีและสามารถนำไปขยายผลแลกเปลี่ยนความรู้กับชุมชนอื่นๆ ที่มีทรัพยากรท่องเที่ยวและแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศเช่นกัน | en_US |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 2204386 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Tourism | en_US |
dc.subject | การท่องเที่ยว | en_US |
dc.subject | ชุมชนคีรีวง--วิจัย | en_US |
dc.subject | นครศรีธรรมราช | en_US |
dc.title | การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช | en_US |
dc.title.alternative | Ecotourism: the study area, the Khiri Wong community, Tambon Kamlon, Amphur Lan Saka, Nakhon Si Thammarat Province | en_US |
dc.description.abstractalternative | Ecotourism : The study area, the Khiri Wong community, Tambon Kamlon, Amphoe Lan Saka, Nakhon Si Thammarat Province The objectives of this research were to study the new aspect of loval tourism management i.e. ecotourism, which refers to tourism in natural areas with local identity and culture that has been related to the ecological system. In ecotourism, all related parties share a common learning process under the enviromental and tourism management , which focuses on local participation. It is intended to encourage awareness towards sustainable preservation of the eco-system. The study area, the Khiri Wong Community, Tambon Kamlon, Amphoe Lan Saka, Changwat Nakhon Si Thammarat, was selected as a site for a case study on ecotourism potential, the needs as well as attitudes of the community, various possible impacts, and guidelines for the development and conservation ot the communtiy to be further refered to as a model for other communities with similar potential. The data were collected from the study area through questionnaires, which were distributed to local people totaling 346 samples. More information was gained from observation and specific interviews of local leaders and natural interpreters as well as other related agencies in the public and private sectors totaling 50 samples. All data were then processed and analyzed by statistical methods. The result of this research indicates that Khiri Wong is of high potential for ecotourism development and promotion both at present and in the future. The people, the community, as well as the visitors had a certain level of satisfaction for ecotourism at Khiri Wong. The impacts to the community were caused mostly by physical factor rather than economic, social, cultural, as well as health and life quality factors. The community's guidelines for development and conservation were based on systematic ecotourism management which had been well participated and cooperated by the local community, both at the community level and the bi-lateral level with other bodies outside the community. The guidelines con be exchanged with other communities with similar concept for ecotourism management. | en_US |
dc.identifier.callno | WA30 ข226ร 2543 | en_US |
dc.subject.keyword | ระบบนิเวศ | en_US |
.custom.citation | ขนิษฐา พอนอ่วม, Kanitta Puan-Auam and สาทิศ สุขผ่องศรี. "การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ : กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1223">http://hdl.handle.net/11228/1223</a>. | |
.custom.total_download | 334 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 7 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |