dc.contributor.author | ประคิณ สุจฉายา | th_TH |
dc.contributor.author | Prakin Suchaxaya | en_US |
dc.contributor.author | ศรีมนา นิยมค้า | th_TH |
dc.contributor.author | อมรรัตน์ งามสวย | th_TH |
dc.coverage.spatial | th | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-12-04T05:19:08Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:48:52Z | |
dc.date.available | 2008-12-04T05:19:08Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:48:52Z | |
dc.date.issued | 2548 | en_US |
dc.identifier.other | hs1169 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/1370 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยมีวัตถุประสงค์ศึกษาการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด-5 ปี และพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของเด็กภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ศึกษาโดยการใช้แบบวิจัยเชิงพรรณนา และการสัมภาษณ์เจาะลึก ตัวอย่างประกอบด้วยเอกสารการจัดการบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค บิดามารดา/ผู้ปกครองที่พาเด็กมารับบริการที่โรงพยาบาลและศูนย์สุขภาพชุมชน ในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,000 คน ผู้ให้บริการสุขภาพ 12 คน และผู้ทรงคุณวุฒิ ข้อมูลรวบรวมโดยการตอบแบบสอบถามและการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า 1. สถานบริการสุขภาพทุกระดับทั้งโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลชุมชน และศูนย์สุขภาพชุมชนต่างมีการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี ในสถานบริการทั้งก่อนและหลังการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยไม่ได้มีการกำหนดนโยบาย แนวปฏิบัติ จัดสรรอัตรากำลัง พัฒนาบุคลากรหรือจัดสรรทรัพยากรใหม่เพื่อรองรับนโยบาย นอกจากนี้ยังขยายการให้บริการไปในชุมชน ซึ่งมีข้อจำกัดของบุคลากรและเวลา ผู้ให้บริการโดยส่วนใหญ่ไม่รับรู้ในชุดสิทธิประโยชน์ที่จัดทำใหม่ และยังมีข้อจำกัดของการประเมินพัฒนาการ การกระตุ้น/ส่งเสริมพัฒนาการ การจัดมุมส่งเสริมพัฒนาการ และการให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยวิธีต่างๆ ส่วนการตรวจ Thalassemia รายที่พ่อแม่เป็น Trait หรือเป็นโรค และการตรวจภาวะพร่องไทรอยด์ฮอร์โมนและส่งต่อในรายที่มีข้อบ่งชี้ยังมีการให้บริการน้อย 2. ชุดสิทธิประโยชน์ที่จัดทำใหม่ เมื่อเปรียบเทียบกับบริการที่จัดให้ในต่างประเทศ พบว่ามีความใกล้เคียงกัน ทั้งในสหราชอาณาจักรและประเทศสหรัฐอเมริกา จะมีกิจกรรมของการซักประวัติครอบครัว ประวัติกรรมพันธุ์ การประเมินสายตาและการได้ยินเป็นระยะ การประเมินปฏิสัมพันธ์ระหว่างมารดาและทารก รวมทั้งการให้คำแนะนำสำหรับบิดามารดาในการดูแลเด็กในแต่ละช่วงอายุในเรื่องอาหาร การดูแลฟันและช่องปาก การป้องกันอุบัติเหตุ และการส่งเสริมพัฒนาการในแต่ละช่วงอายุ รวมทั้งการเสริมสร้างศักยภาพบิดามารดาในการเลี้ยงดู ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวสอดคล้องกับที่เสนอโดยราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย และสอดคล้องกับที่ผู้ทรงคุณวุฒิให้ข้อคิดเห็น 3. พฤติกรรมการใช้บริการของเด็กหรือพฤติกรรมการใช้บริการของบิดามารดา พบว่าผู้พาบุตรมารับบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคที่คลินิกสุขภาพเด็กดี ส่วนใหญ่เป็นมารดาซึ่งมีอาชีพรับจ้าง แม่บ้าน และรับราชการ เด็กที่มารับบริการมีทุกช่วงอายุ และมารับบริการตามนัด ส่วนใหญ่ ผู้ปกครองเลือกใช้บริการที่โรงพยาบาลเพราะบุตรคลอดที่นั่น และอยู่ใกล้บ้านหรือที่ทำงาน โดยบริการส่วนใหญ่ที่ได้รับคือ ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง และรับวัคซีน ส่วนการประเมินพัฒนาการ การได้รับคำแนะนำในการเลี้ยงดูบุตร และการได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับการส่งเสริมและกระตุ้นพัฒนาการยังมีน้อยกว่า และมีความพอใจต่อบริการที่ได้รับในระดับมาก ภายหลังการมีนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พฤติกรรมการใช้บริการไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก และร้อยละ 53.3 มีความพึงพอใจต่อบริการเท่าเดิม แต่พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p <.001 ในบริการการวัดส่วนสูง การรับวัคซีน การส่งเสริมพัฒนาการ การประเมินภาวะสุขภาพ และการได้รับคำแนะนำในการดูแลบุตร | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1228466 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/octet-stream | en_US |
dc.language | tha | en_US |
dc.language.iso | en_US | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | Health Promotion Service | en_US |
dc.subject | Heatlht Prevention and Control | en_US |
dc.subject | Health Behavior | en_US |
dc.subject | Health Insurance Systems | en_US |
dc.subject | Health Service Systems | en_US |
dc.subject | Child Health Services | en_US |
dc.subject | Child Behavior | en_US |
dc.subject | การส่งเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | การป้องกันและควบคุมโรค | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบประกันสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | en_US |
dc.subject | อนามัยเด็ก, การบริการ | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมเด็ก | en_US |
dc.subject | การบริการสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด - 5 ปี และพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของเด็กภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.title.alternative | Health promotion and disease prevention service for children from birth to 5 years old and children's health service behavior under universal health coverage system | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study was aimed to study the health promotion and disease prevention (HP-DP) service for children from birth to five years old, and the health service behavior of children under universal health coverage policy. Descriptive design with indepth interviewing was used for data collection. Subjects were documents, 1000 parents who brought the children to receive HP-DP service, 12 health care providers, and experts. Data were obtained by using questionnaires and interview guidelines. Findings were as follow: 1. All levels of health care service, university, regional and community hospitals and primary care units, have provided HP-DP service in the settings both before and after the institution of the universal health coverage policy. New institutional policies, guidelines, manpower allocation, staff development or resource allocation were not implemented to support the national policy. Service was extended to the community as well. However there was limitation of personnel and time. Many health care providers did not know about the new benefit package for children from birth to 5 years old. In addition they had limitations in developmental assessment, developmental stimulation or promotion, developmental promotion corner arrangement and providing recommendations on child rearing. Thalassemia screening for children whose parents showed traits or had the disease, and hypothyroid hormone testing for children with indicators, were rarely done. 2. The old and new benefit packages for health promotion and disease prevention in children from birth to five years were not much different. However the services recommended in the United Kingdom and the United States included family history; genetic history; vision and heaving testing; mother-child interaction; details for parental advice for child in each age group concerning food, oral care, accident prevention and developmental promotion; and empowering parents in child care. The recommended activities were consistent with the recommendations by the Royal College for Pediatricians and experts. 3. Children’s health service behavior or parents’ behavior in coming for HP-DP service. Mothers were found to be the ones who brought the child to the well baby clinic more than other persons. Most mothers were workers, housewives and public servants. They selected to receive the HP-DP service at the hospitals because their children were born there and they were rear home or office. Most received services were weight and height measurement, and vaccination. Developmental assessment and advice on child rearing and developmental promotion were limited. The health service behavior of children both before and after the universal health coverage policy was not different. About 53.3 percent of parents felt the same level of satisfaction with the service provided. The services on height measurement, vaccination, developmental promotion, health assessment and advice treatment when the child was ill were found to differ statistically significantly at p <.001 | en_US |
dc.identifier.callno | WA320 ป199ก 2548 | en_US |
dc.identifier.contactno | 46ค060 | en_US |
dc.subject.keyword | Health Promotion | en_US |
dc.subject.keyword | การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
.custom.citation | ประคิณ สุจฉายา, Prakin Suchaxaya, ศรีมนา นิยมค้า and อมรรัตน์ งามสวย. "การจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคสำหรับเด็กแรกเกิด - 5 ปี และพฤติกรรมการใช้บริการสุขภาพของเด็กภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1370">http://hdl.handle.net/11228/1370</a>. | |
.custom.total_download | 334 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 10 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 2 | |