Show simple item record

The development of health polices and strategies on health manpower

dc.contributor.authorสำนักงานปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขth_TH
dc.contributor.authorHealth Care Reform Officeen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:11Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:42:58Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:11Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:42:58Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1020en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1382en_US
dc.description.abstractการทำงานเพื่อพัฒนากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ รวมถึงการพัฒนากรอบกลไกการทำงานซึ่งเกี่ยวเนื่องกับกำลังคนด้านสาธารณสุขภายใต้ภาพระบบบริการสุขภาพในอนาคตครั้งนี้ เกิดขึ้นจากความเห็นชอบของคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติ (คปรส.) ที่ดำเนินการผ่านคณะกรรมการพัฒนานโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขที่แต่งตั้งขึ้น ซึ่งคณะทำงานได้กำหนดวิธีดำเนินการซึ่งประกอบด้วย การประมวลและรวบรวมองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและระบบบริการสุขภาพ และกำลังคนด้านสาธารณสุข ควบคู่ไปกับการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของคณะกรรมการและผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องกับประเด็นสำคัญๆ จากนั้นคณะทำงานจึงดำเนินการประมวลทัศนะความคิดเห็นรวมทั้งข้อมูลสภาพและสถานการณ์ต่างๆ พัฒนาขึ้นเป็นชุดข้อเสนอกลไกการทำงานเพื่อพัฒนานโยบายและยุทธศาตร์กำลังคนด้านสาธารณสุข นำเสนอต่อคณะกรรมการปฏิรูประบบสุขภาพแห่งชาติต่อไป จากการดำเนินงานสรุปว่า แนวคิดสำคัญของกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุข แบ่งพิจารณาเป็น 2 กลุ่มหลักคือ ระบบเพื่อการสร้างสุขภาพ ที่วางแผนตามนโยบายของรัฐเป็นหลัก ซึ่งต้องพัฒนาองค์ประกอบหลัก 4 เรื่อง ได้แก่ 1) สร้างความเข้าใจขององค์กรและบุคลากรต่อแนวคิดการสร้างสุขภาพให้เป็นมุมมองที่กว้างขวางและลึกซึ้งควบคู่ไปกับการพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร 2) การพัฒนาองค์กรดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดองค์กร การเชื่อมต่อกับนโยบาย และงบประมาณสนับสนุน 3) พัฒนากระบวนการทำงานให้มีลักษณะเป็นพันธมิตร (partnership) และสร้างให้ประชาชน ประชาคม องค์กรต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง 4) สนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีเฉพาะ ขณะเดียวกันอีกระบบที่ต้องพัฒนาควบคู่กันก็คือ ระบบเพื่อการดูแลอาการและความเจ็บป่วย ซึ่งวางแผนจากลักษณะอุปสงค์ อุปทาน (Demand and supply) ควรพัฒนาให้มีมีความหลากหลายตอบสนองต่อความต้องการที่มีหลายลักษณะทั้งในพื้นที่เมือง ชนบท รวมถึงความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากต่างประเทศ ดังนั้นวิธีการพัฒนาจึงต้องการความยืดหยุ่นสูงไม่ขีดวงจำกัดตามวิชาชีพเหมือนที่ผ่านมา ทิศทางนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนากำลังคน ประกอบด้วย 1) ควรครอบคลุมวิชาชีพอื่นที่นอกเหนือวิชาชีพทางการแพทย์ 2) การพัฒนาระบบกำลังคนเพื่อการสร้างสุขภาพ 3) สนับสนุนการทำงานร่วมกับประชาชน องค์กรท้องถิ่น องค์กรอื่นๆ ในการพัฒนาการบริการ การดูแลสุขภาพ ตลอดจนการวางแผน การผลิต และการพัฒนากำลังคน 4) พัฒนาระบบกำลังคนให้มีรูปแบบสอดคล้องกับความต้องการด้านสุขภาพของประชาชน 5) พัฒนาการศึกษาวิจัยเพื่อสร้างองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับเรื่องกำลังคน 6) พัฒนาระบบการจัดการ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่คำนึงถึงความต้องการด้านสุขภาพของสังคมไทย โดยปรับระบบกำลังคนให้มีลักษณะบูรณาการ 7) สนับสนุนการกระจายอำนาจเกี่ยวกับวางแผนการผลิตและการพัฒนากำลังคนระดับพื้นที่ 8) ค้นหามาตรการป้องกันผลกระทบทางลบที่เกิดจากระบบกำลังคนด้านสาธารณสุข ข้อเสนอสำหรับประเด็นที่ควรศึกษาและพัฒนาในอนาคต ประกอบด้วย 1) สร้างระบบกำลังคนเพื่อการสร้างสุขภาพด้วยการวางรากฐานของระบบเพื่อสร้างสุขภาพดี ที่เป็นรูปธรรมและมีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ 2) ปฏิรูประบบบริหารบุคคลและบริหารองค์กรให้มีความหลากหลายมีประสิทธิภาพเพื่อแก้ปัญหาการกระจายกำลังคนและปัญหาความแข็งตัวของการจัดกำลังคนในภาครัฐ 3) พัฒนาระบบกำลังคนแบบใหม่เพื่อตอบสนองความต้องการบริการสุขภาพที่เปลี่ยนแปลงเพื่อพัฒนาบริการที่ดูแลความเจ็บป่วยและโรคนั้นให้สอดคล้องกับความต้องการและความจำเป็นด้านสุขภาพของประชาชน 4) ปฏิรูประบบการวางแผน การผลิตและพัฒนากำลังคนสาธารณสุขในระบบเดิมเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการด้านสุขภาพและระบบต่างๆ ที่ปรับเปลี่ยนอย่างมีประสิทธิภาพ 5) สร้างเสริมสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชน ชุมชน องค์กรท้องถิ่นในระบบกำลังคนสาธารณสุขโดยให้มีการศึกษาและทดลองพัฒนาดำเนินการในประเด็นต่างๆ กลไกการดำเนินงานพัฒนาระบบกำลังคนฯ ในระยะเริ่มต้นนี้ ควรมีหลักการสำคัญๆ ประกอบด้วย 1) ควรเป็นกลไกที่สร้างการมีส่วนร่วมระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องในระดับต่างๆ รวมทั้งองค์กรท้องถิ่น และองค์กรชุมชน เป็นการประสานในแนวราบคู่กับแนวดิ่ง 2) ควรเป็นกลไกที่ประสานการสร้างความรู้กับการพัฒนานโยบายตลอดจนการนำนโยบายไปดำเนินการไปพร้อมกัน 3) ควรเป็นกลไกที่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ในระยะยาว มิใช่เป็นกลไกเฉพาะกิจที่ตั้งขึ้นตามสถานการณ์ 4) ควรเป็นกลไกที่คล่องตัวยืดหยุ่น ปรับตัวได้ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป จากแนวคิดหลักการทั้ง 4 ข้อข้างต้น คณะกรรมการได้เสนอกลไกหลัก 3 ส่วน ประกอบด้วย 1) คณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขระดับชาติ 2) สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุข 3) เครือข่ายการวิจัย/การสร้างความรู้ เกี่ยวกับระบบกำลังคนตามยุทธศาสตร์หลักของประเทศ ทั้งนี้การดำเนินงานเพื่อพัฒนากลไกการทำงานเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ข้างต้น ควรมีแผนงานสำคัญ 3 แผนงาน ประกอบด้วย 1) แผนงานสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายการวิจัยที่ต่อเนื่องและชุดโครงการวิจัย 2) แผนงานประสานและสร้างการมีส่วนร่วมกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง 3) แผนงานพัฒนาระบบข้อมูลกลาง ประสาน และสังเคราะห์ความรู้th_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3269334 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Manpoweren_US
dc.subjectHealth Personnalen_US
dc.subjectHealth Care Reformen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพen_US
dc.subjectบุคลากรสาธารณสุขen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleรายงานการทำงานเพื่อพัฒนากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุขth_TH
dc.title.alternativeThe development of health polices and strategies on health manpoweren_US
dc.description.abstractalternativeThe steering committee of health policies and strategies development for health manpower was appointed by the National Health System Reform Committee in May 2003. The committee secretarial tasks done by the Health System Research Institute and researcher team. The mission of the steering committee is to develop and present policies and strategies of health manpower under the changing situations of the Thai health care systems and its context. The secretarial team is carried out process were the documentary reviews and structured interviews, including various sub- committee meetings. The spotlight of the contextual changes in all aspects are described in the introductory chapter which focus on issues that needed carefully consideration. The main report describes results and recommendations with major principles for developing policies and strategies on health manpower. Three main topics have been discussed and concluded, these are:Components to be achieved on policies and strategies for health manpower;Initial plans for further action and;Short- term and long- term mechanisms for system development on health manpower should be based on concert efforts of various organisations. Such mechanisms are to be functional units that linked with accumulated knowledge and national policy development. By summary, the future proposals for action should be pragmatic and relevant to the governmental policy toward the national policy on universal coverage. Under the contextual changes, health manpower policies and strategies should be grounded on the "demand driven" idea and responsive to basic and specific health needs of the entire population.en_US
dc.identifier.callnoW76 ส691ก 2546en_US
dc.identifier.contactno46ข026en_US
dc.subject.keywordHealth Services Need and Demanden_US
dc.subject.keywordHealth Policyen_US
dc.subject.keywordThai Health Care Systemsen_US
dc.subject.keywordระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subject.keywordนโยบายสาธารณสุขen_US
.custom.citationสำนักงานปฏิรูประบบบริการสาธารณสุข and Health Care Reform Office. "รายงานการทำงานเพื่อพัฒนากรอบนโยบายและยุทธศาสตร์กำลังคนด้านสาธารณสุข." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1382">http://hdl.handle.net/11228/1382</a>.
.custom.total_download137
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year8

Fulltext
Icon
Name: hs1020.pdf
Size: 1.380Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record