Show simple item record

Health paradigm and deep ecology

dc.contributor.authorณัฐฬส วังวิญญูth_TH
dc.contributor.authorNatlos Wangwinyuen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:14Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:43:14Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:14Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:43:14Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.otherhs1065en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1389en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานวิจัยกระบวนทัศน์สุขภาพและนิเวศวิทยาแนวลึกth_TH
dc.description.abstractในช่วงระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา กระแสความคิดกระบวนทัศน์ใหม่ดูเหมือนจะได้รับการกล่าวถึงมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคม โดยเฉพาะในแวดวงนักวิชาการ และในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมในส่วนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านการศึกษา สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งส่วนหนึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ในสภาวะความเป็นไปของสังคม ประเด็นเหล่านี้เกาะเกี่ยวโยงใยกันอย่างแยกกันไม่ออก จำเป็นจะต้องได้รับการศึกษาเรียนรู้ สุขภาพหรือสุขภาวะ ไม่ว่าจะอยู่ในระดับของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชนหรือสังคม เป็นสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งตายตัว กล่าวอีกนัยหนึ่ง สุขภาพเป็นกระบวนการของชีวิตที่มีความเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลง และมีศักยภาพในการจัดการตัวเองอย่างเชื่อมโยงกับเหตุปัจจัยของสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวไปด้วยเช่นกัน สุขภาวะทางกายและจิตของชีวิตโยงใยอยู่กับสุขภาวะโดยรวมของสังคมและระบบนิเวศ ในวิทยาศาสตร์แนวใหม่ มีการศึกษาความเชื่อมโยงของชีวิตที่ละเอียดอ่อนและมีความไหวตัวสูงนี้ จากจุดยืนของโลกทัศน์เชิงนิเวศและนิเวศวิทยาแนวลึก การเยียวยารักษาตัวเราเองนั้นจำต้องเกิดขึ้นไปอย่างควบคู่กับการเยียวยารักษาผืนดินและธรรมชาติ ในสังคมมนุษย์ยุคใหม่ที่อุดมคติทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นด้านศาสนาหรือการเมืองได้อ่อนกำลังในการนำพาสังคมไปสู่ชีวิตและสังคมที่ดีงาม มนุษย์กำลังเผชิญหน้ากับวิกฤตของความอยู่รอด สำนึกที่ว่ามนุษย์นั้นเป็นเพียงเสี้ยวส่วนของธรรมชาติและจักรวาลนั้นกำลังอ่อนกำลังลงอย่างรุนแรง และได้รับการแทนที่ด้วยสำนึกของการบริโภคสัญลักษณ์แห่งความทันสมัยและวัตถุสินค้า หากสังคมยังคงรับเอาคุณค่าเชิงบริโภคนิยมเป็นสรณะอย่างนี้ต่อไป สังคมมนุษย์คงไม่อาจพ้นวิกฤตของความอยู่รอดไปได้ ส่วนหนึ่งของการออกจากวิกฤตจึงเป็นเรื่องของการกลับไปหาโลกทัศน์เชิงนิเวศ หรือมุมมองแบบดั้งเดิมที่มองเห็นธรรมชาติเป็นระบบเกื้อกูลแก่ชีวิตและสุขภาพ และมองเห็นว่ามนุษย์เองเป็นหน่วยชีวิตที่ไม่สามารถตัดตัวเองออกจากระบบนิเวศทั้งมวลได้ ตลอดจนสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องทันการณ์ในสังคมไทย แนวคิดเช่นนี้มีมากขึ้นและหลากหลาย แล้วแต่เงื่อนไขปัจจัยที่มีความจำเพาะตามบริบทของตนที่ต่างพยายามหาทางออกจากโรคภัยสมัยใหม่ที่เกิดขึ้นในรูปแบบต่างๆ งานวิจัยนี้จึงเป็นการศึกษาแนวคิดด้านนิเวศวิทยาแนวลึกที่เชื่อมโยงกับแนวคิดด้านสุขภาวะของชีวิต รวมทั้งการกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตัวเองกับสังคมและธรรมชาติในกรณีศึกษาต่างๆ ตลอดจนศึกษาถึงโลกทัศน์เชิงนิเวศที่มีอยู่ในสังคมโลกและในสังคมไทยเอง ทั้งที่เป็นภูมิความรู้ดังเดิมและความรู้ที่ได้รับการสร้างใหม่ ถือว่าเป็นเพียงการริเริ่มตั้งคำถามและหาคำตอบเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของการนำเอาความเป็นองค์รวมและสุขภาวะกลับมาสู่ชีวิตและสังคมไทย.en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1627743 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันขวัญเมืองen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectEcology -- Philosophyen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการปฏิรูประบบสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectนิเวศวิทยา -- ปรัชญาen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleกระบวนทัศน์สุขภาพและนิเวศวิทยาแนวลึกth_TH
dc.title.alternativeHealth paradigm and deep ecologyen_US
dc.description.abstractalternativeHealth is a dynamic self-regulating process in a living system that is interrelated with its greater ever-changing environment and ecology in which it depends. Physical and mental health of an individual closely correlates with that of its society and ecology. This subtle and complex interconnection has been discovered and articulated in modern science. According to the ecological worldview and deep ecology, to heal ourselves is to heal our relationship with the earth. Our modern human culture is now facing a survival challenge, amidst the postmodern absence of absolute ideology and value system, to come to terms with the realization that we are parts of the whole, and the whole is within us. Without changing in our perception we have towards life and nature, our behaviors will remain unchanged, unhealthy and worsen the condition of this living planet, which in tern will have much greater effects on human health. However, in Thai society as well as in other countries, there have been emerging social and ecological movements that try to cope with this modern sickness from different perspectives and historical backgrounds. This study is to explore the philosophy and practices of deep ecology movement that can contribute to the paradigm change in the way we think about and relate ourselves to the issues of health. We hope that some insights and realizations gained from this research can be of useful and inspiring enough for readers to critically and thoroughly reexamine the way we live our lives as well as and the socio-economical structure and conditions we maintain that shape our present health condition. The local traditional wisdom obtained on a practical basis showed in this study have affirmed that ecological worldview is nothing new but have already been existed and available in its own unique cultural and ecological context. To recognize such endangered local knowledge as invaluable and relevant to our modern needs is the beginning of the healing process towards the restoration of the wholeness and health of this living planet and her members.en_US
dc.identifier.callnoWA525 ณ382ก 2546en_US
dc.identifier.contactno45ค030en_US
dc.subject.keywordphilosophy of deep ecologyen_US
dc.subject.keywordPractices of deep ecologyen_US
dc.subject.keywordระบบนิเวศen_US
dc.subject.keywordสุขภาพen_US
dc.subject.keywordการอนุรักษ์ธรรมชาติen_US
dc.subject.keywordแนวคิดด้านนิเวศวิทยาแนวลึกen_US
dc.subject.keywordแนวคิดด้านสุขภาพen_US
.custom.citationณัฐฬส วังวิญญู and Natlos Wangwinyu. "กระบวนทัศน์สุขภาพและนิเวศวิทยาแนวลึก." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1389">http://hdl.handle.net/11228/1389</a>.
.custom.total_download278
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month3
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year9

Fulltext
Icon
Name: hs1065.pdf
Size: 1.688Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record