แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

จากนโยบายสู่การปฏิบัติ : หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย พ.ศ. 2544-2547

dc.contributor.authorสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศth_TH
dc.contributor.authorInternational Health Policy Programen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:25Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:25Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1265en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1699en_US
dc.description.abstractจากนโยบายสู่การปฏิบัติ : หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย พ.ศ. 2544-2547 ประกอบด้วย 7 บท ได้แก่ บทที่ 1. กระบวนการกําหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บทนี้จะวิเคราะห์กระบวนการกําหนดนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (Agenda setting process) ข้อมูลที่ศึกษาได้มาจากการทําวิทยานิพนธ์ในปี พ.ศ. 2544-2545 ใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Document analysis) และการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) บทความนี้วิเคราะห์องค์ประกอบสี่ด้านเพื่อมาอธิบายการเกิดนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ สาระนโยบาย บริบทที่สําคัญ คุณสมบัติของผู้มีบทบาทเกี่ยวข้องและกระบวนการ บทที่ 2 กระบวนการจัดทํานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าและพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บทนี้วิเคราะห์กระบวนการพัฒนาสาระนโยบาย ตั้งแต่เริ่มต้นจนนําไปสู่การปฏิบัติโดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1) การออกแบบระบบของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ “โครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค” 2) กระบวนการออกพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าโดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative study) ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสาร (Document analysis) การร่วมสังเกตการณ์ (Observation) โดยเจ้าหน้าที่สํานักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและการสัมภาษณ์ (Interview) ผู้เกี่ยวข้อง บทที่ 3 การจัดการและองค์กรบริหารนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บทนี้ได้แสดงถึงหลักการ การปฏิบัติเพื่อกําหนดโครงสร้างของระบบ และโครงสร้างขององค์กรที่เกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บทที่ 4 การนํานโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าสู่การปฏิบัติ บทนี้จะวิเคราะห์กระบวนการนํานโยบายไปสู่การปฏิบัติตั้งแต่เริ่มต้นจนนําไปสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ โดยยกตัวอย่างกรณีศึกษาในจังหวัดสระบุรี เพื่อสร้างความเข้าใจตลอดกระบวนการ และพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในระดับปฏิบัติที่เกิดจากนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 4 ประเด็น คือ 1) การจัดให้มีหน่วยคู่สัญญาสําหรับบริการปฐมภูมิ 2) การจัดเงินให้สถานบริการตามรายหัวประชากรที่ขึ้นทะเบียน 3) การขยายบริการของโรงพยาบาลและสถานีอนามัย และ 4) การปรับระบบการส่งต่อผู้ป่วย บทที่ 5 การศึกษาผลกระทบของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าต่อระบบบริการสาธารณสุขไทย บทนี้จะวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการฯ ต่อระบบบริการสาธารณสุขไทยโดยจะพิจารณาผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสถานพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขในส่วนภูมิภาคเป็นหลัก ด้วยเหตุผลหลักสองประการคือ สถานพยาบาลในส่วนภูมิภาคของกระทรวงสาธารณสุขดูแลประชากรภายใต้โครงการนี้ประมาณร้อยละ 90 และด้วยข้อจํากัดของข้อมูลที่มี ในบทนี้จะแบ่งการนําเสนอเป็นสามส่วนหลักด้วยกัน โดยในส่วนแรกจะเป็นการสรุปสาระสําคัญของการปฏิรูประบบบริการสาธารณสุขของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สวนที่สองเป็นการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการต่อสถานพยาบาลด้านการเงินและการจัดบริการ และส่วนที่สามเป็นการสรุปผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสถานพยาบาล บทที่ 6 ผลของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อครัวเรือนไทย บทนี้นำเสนอผลการวิจัยการประเมินภาพรวมสัมฤทธิ์ผลของโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าที่มีต่อครัวเรือนไทย โดยเสนอเป็น 2 ตอน ตอนที่ 1 เป็นผลสัมฤทธิ์ของโครงการที่มีต่อครัวเรือนไทยในด้านความครอบคลุมประชากร อัตราป่วย การใช้บริการรักษาพยาบาลและการใช้สิทธิ์ของผู้ถือบัตรทองด้านความเป็นธรรม และผลต่อรายจ่ายด้านสุขภาพของประชาชนไทย ตอนที่ 2 เป็นการนําเสนอผลการสํารวจความคิดเห็นของผู้ถือบัตรทองที่มีต่อโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บทที่ 7 อนาคตและทิศทางต่อไปของนโยบายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า บทนี้ได้วิเคราะห์ถึงโอกาสและความท้าทายในการพัฒนาการดําเนินงานสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอนาคต เพื่อนําไปสู่การตัดสินใจที่เหมาะสมต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectInsurance, Healthen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectประกันสุขภาพen_US
dc.subjectบริการสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleจากนโยบายสู่การปฏิบัติ : หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย พ.ศ. 2544-2547th_TH
dc.title.alternativeFrom policy to implementation : historical events during 2001-2004 of universal coverageen_US
dc.identifier.callnoW225.JT3 ส691ก 2548en_US
dc.identifier.contactno48ข022en_US
dc.subject.keywordUniversal Health Coverageen_US
dc.subject.keywordหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
.custom.citationสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ and International Health Policy Program. "จากนโยบายสู่การปฏิบัติ : หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในประเทศไทย พ.ศ. 2544-2547." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1699">http://hdl.handle.net/11228/1699</a>.
.custom.total_download407
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year34
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1265.pdf
ขนาด: 1.587Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย