dc.description.abstract | การศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวังของเกษตรกรที่มีต่อการพัฒนาอาชีพการเกษตรแบบยั่งยืน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบสารเคมี และเป็นอาชีพเกษตรผลิตอาหารปลอดภัย และสร้างสุขภาวะทางสังคม และสติปัญญา โดยศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ และสังคมบางประการ เปรียบเทียบความคาดหวังของเกษตรกรกับการพัฒนาอาชีพการเกษตรแบบยั่งยืน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล เศรษฐกิจ สังคม และปัญหา กลุ่มตัวอย่าง 240 คน คือ เกษตรกรที่อาศัยอยู่หมู่บ้านบริเวณโครงการ ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าการทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 การศึกษาพบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ คือ หัวหน้าครัวเรือนเพศชาย อายุระหว่าง 41-50 ปี จบการศึกษาระดับภาคบังคับ ไม่มีตำแหน่งทางสังคม อาศัยในหมู่บ้าน 5 ปีขึ้นไป ได้รับการฝึกอบรมความรู้เรื่องการอาชีพจากพ่อแม่ พื้นที่ทำการเกษตรและถือครอง 11-20 ไร่ แรงงานครัวเรือนเฉลี่ย 9 คน รายได้อยู่ในช่วง 50,000-99,999 บาทต่อปี ค่าใช้จ่ายในครัวเรือนในรอบปี 10,000-19,999 บาท การลงทุนในการประกอบอาชีพ 20,000 บาท และมากที่สุด 50,001 บาทขึ้นไป ส่วนใหญ่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร ความคาดหวังของเกษตรกรที่มีต่อการพัฒนาอาชีพการเกษตรแบบยั่งยืน ปกป้องทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม ลดผลกระทบสารเคมีการเกษตร เป็นอาชีพเกษตรเพื่อผลิตอาหารปลอดภัย สร้างสุขภาวะทางสังคมและสติปัญญา จึงมีความคาดหวังด้านพัฒนาความรู้ การถ่ายทอดเทคโนโลยี ธุรกิจชุมชนเพื่อการผลิต การแปรรูปและการตลาด การปรับปรุงพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ด้านสนับสนุนความรู้ ข่าวสาร ข้อมูลและเทคโนโลยี พัฒนาทรัพยากรดิน น้ำและสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับมาก ปัญหา แนวทางปฏิบัติ และข้อเสนอแนะเห็นว่ามีปัญหาเรื่องดิน ฝนทิ้งช่วง การใช้น้ำ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี แรงงาน ราคาแพง ความรู้ในการคัดเลือกพันธุ์ ผลผลิตตกต่ำ คุณภาพผลผลิต การตลาด เงินทุนและการสนับสนุนของเจ้าหน้าที่รัฐ สถาบันเกษตรกรมีบทบาทน้อยในการพัฒนาอาชีพ ข้อเสนอแนะคือ ให้สมาชิกมีส่วนร่วม เสนอความคิดเห็น ร่วมตัดสินใจ และร่วมทำแผนพัฒนาการเกษตรแบบยั่งยืน | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This research studied the expectation of agriculturists who had to build a sustainable occupation for agricultural development that would protect natural resources and the environment, decrease the adverse effects of chemicals and produce safe food and a happy social condition, among other positive outcomes. It studied personal factors, the economy, and social aspects, compared with the expectation of sustainable development. The sample comprised 240 persons who were interviewed in order to collect data. The statistics were analyzed by percentage value, average, standard deviation, t-test, and one-way ANOVA.
The study results found that most of the sampled household heads were males, aged 41 to 50 years, with a primary education, lacking social position, living in their village for more than 5 years, and had been trained in agriculture by their parents. Farm size was 11-20 rais, family farm labor averaged 9 persons, the individuals had a yearly income of 50,000 - 99,999 baht, household expenses of 10,000 - 19,999 baht per year, made occupational investments of 20,000 - 40,001 baht per year, and were likely to be members of an agricultural group.
Their expectations with regard to technology transfer, community business development for production, processing and marketing, plant and animal breeding modification were at a moderate level. However, those expectations with regard to technology support, soil, water and environmental resource development were at a high level. As for problems, operational guidelines and suggestions, the respondents
revealed that there were many problems, such as the quality of soil, lack of rain and irrigation, plant and animal breeds, organic fertilizer, labor, knowledge of breed selection, products, markets, investment and governmental support. Agricultural institutes played only a minor role in agricultural occupation development. It was suggested that group members be allowed to participate, to submit their opinions, to plan and to make decisions. | en_US |