dc.contributor.author | สมเกียรติ มีธรรม | en_US |
dc.coverage.spatial | เชียงใหม่ | en_US |
dc.date.accessioned | 2010-10-11T03:37:29Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:26:09Z | |
dc.date.available | 2010-10-11T03:37:29Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:26:09Z | |
dc.date.issued | 2552 | en_US |
dc.identifier.other | hs1726 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3029 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพที่มุ่งศึกษาชุมชนบ้านแม่แฮใต้ หมู่ที่ 9 ต.ปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นชุมชนชาวเขาเผ่าปกาเกอะญอ และเป็นชุมชนปลอดยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย โดยไม่มีหน่วยงานให้การสนับสนุน การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการด้วยกันคือ เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติดในชุมชน และเพื่อนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้ในการป้องกันยาเสพติดในชุมชน และใช้เป็นแนวทางในการสร้างชุมชนเข้มแข็งตามนโยบายแก้ปัญหายาเสพติดในมิติสังคมและวัฒนธรรม ในการศึกษาครั้งนี้ใช้กรอบแนวคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบหรือกระจายเนื้อหาและกรอบแนวคิดแบบสืบสาวหาเหตุปัจจัย หรือแบบอิทัปปัจจยาในพระพุทธศาสนามาช่วยจัดระบบความคิดและเป็นเครื่องมือนำทางในการทำความเข้าใจสภาวะชุมชนบ้านแม่แฮใต้ เพื่อให้เห็นโครงสร้างชุมชนและองค์ประกอบทั้งหลายภายในโครงสร้างนั่นๆ ไปจนถึงการทำหน้าที่ขององค์ประกอบแต่ละอย่างว่าเป็นอย่างไรและมีความสัมพันธ์กันอย่างไร โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการศึกษา 5 กลุ่มคือ กลุ่มผู้นำชุมชนที่มาจากการเลือกตั้งของสมาชิกในชุมชน 4 กลุ่ม/คน, กลุ่มผู้นำธรรมชาติ 4 คน, กลุ่มสมาชิกในหมู่บ้าน ได้แก่ พ่อบ้านแม่บ้านหรือสมาชิกคนหนึ่งคนใดในครอบครัวที่สามารถตอบแบบสำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือนได้ครอบครัวละ 1 คน, กลุ่มเพื่อน (กลุ่มเสี่ยว) 6 คน และกลุ่มบุคคลภายนอกชุมชนที่เข้าไปทำงานในพื้นที่บ้านแม่แฮใต้ 2 - 3 คน วิธีการศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 วิธีคือ 1. รวบรวมและศึกษาข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้องกับบ้านแม่แฮใต้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 2. การศึกษาข้อมูลภาคสนามโดยผู้วิจัย เข้าไปใช้ชีวิตอยู่ในหมู่บ้าน 3 เดือน ในการจัดทำแผนที่ภูมินิเวศวัฒนธรรมชุมชนและสำรวจข้อมูลพื้นฐานครัวเรือน สัมภาษณ์เชิงลึกรายบุคคลและสนทนากลุ่ม สำหรับเทคนิคการเก็บข้อมูล ผู้วิจัยใช้เทคนิคการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การสัมภาษณ์ การสนทนาแบบเป็นทางการ/ไม่เป็นทางการ และการจดบันทึก ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยและองค์ประกอบที่ทำให้ชุมชนบ้านแม่แฮใต้ หมู่ 9 ตำบลปางหินฝน อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เข้มแข็งสามารถป้องกันยาเสพติดได้ มี 4 ปัจจัยใหญ่ๆ ด้วยกัน โดยเรียงลำดับความสำคัญจากมากไปหาน้อยดังนี้ 1. ปัจจัยในด้านศาสนา มีผู้นำศาสนา, สภาคริสต์จักรในหมู่บ้าน และองค์กรเครือข่ายสภา คริสต์จักรในประเทศไทย เป็นองค์ประกอบสำคัญทำหน้าที่หลอมร่วมศรัทธาในพระเจ้าให้กับชาวบ้านตั้งมั่นอยู่ในความดีงาม และไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย 2. ปัจจัยในด้านสังคม มีครอบครัว เครือญาติ และเพื่อนบ้าน เป็นองค์ประกอบสำคัญในการสะสมบ่มเพาะความคิดจิตใจ ความเชื่อ คุณธรรมจริยธรรม ฝึกฝนทักษะทางด้านอาชีพการงาน ร่วมทั้งเป็นแบบอย่างให้กับบุตรหลานเจริญรอยตาม 3. ปัจจัยทางด้านการเมือง มีคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา และกลุ่มออมทรัพย์เศรษฐกิจพอเพียง เป็นองค์ประกอบสำคัญที่คอยขับเคลื่อนกิจกรรรมของชุมชน เมื่อจำแนกบทบาทออกมาพบว่ามี 2 บทบาทด้วยกันคือ บทบาทในด้านการปกครอง มีคณะกรรมการหมู่บ้านทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยในชุมชน ด้วยการออกกฎระเบียบและแบ่งเขตการปกครองให้ชาวบ้านร่วมกันสอดส่องดูแลและบทบาทในด้านบริหาร มีคณะกรรมการหมู่บ้าน ผู้นำศาสนา/สภาคริสต์จักรและกลุ่มออมทรัพย์เศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาบริหารงานร่วมกับสมาชิก 4. ปัจจัยในด้านการศึกษา มีโรงเรียนบ้านแม่แฮใต้, ศูนย์การเรียนรู้ชาวไทยภูเขาแม่ฟ้าหลวงและสถานีอนามัยบ้านแม่แฮใต้ เป็นองค์ประกอบสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในการให้ความรู้เรื่องยาเสพติดและสุขอนามัยแก่เด็กนักเรียนในหมู่บ้านและผู้หญิงมีครรภ์ ไปจนถึงการสอดส่องดูแลเด็กนักเรียนในหมู่บ้านไม่ให้เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติดที่ผิดกฎหมาย ค ในการทำหน้าที่ขององค์ประกอบในด้านศาสนา สังคม การเมือง และการศึกษา อย่างบรรสานสอดคล้องกันดังกล่าวมานี้ ทำให้บ้านแม่แฮใต้ บ้านเซโดซา และบ้านบลอเด เป็นชุมชน ปลอดยาเสพติดที่ผิดกฎหมายได้โดยไม่มีหน่วยงานใดให้การสนับสนุน | en_US |
dc.description.sponsorship | โครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด, สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ | en_US |
dc.format.extent | 4871039 bytes | en_US |
dc.format.extent | 4191790 bytes | en_US |
dc.format.extent | 6385614 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | โครงการจัดการองค์ความรู้เรื่องยาเสพติด | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | พฤติกรรมสุขภาพ | en_US |
dc.subject | ยาเสพติด | en_US |
dc.subject | การบริการสุขภาพ (Health Service Delivery) | th_TH |
dc.title | การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติดในชุมชนกรณีศึกษาบ้านแม่แฮใต้ หมู่ที่ 9 ต.ปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ | en_US |
dc.title.alternative | Study of Factors that Contribute to Successes of Narcotic Drug Prevention Efforts in Community : The Case of Ban Maehair Tai, Moo 9, Tambon Panghinfon, Maechaem District, Chiang Mai Province | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.abstractalternative | A qualitative research, the study was carried out at Ban Maehair Tai Moo 9, Tambon
Panghinfon, Maechaem District, Chiang Mai, a Pakayaw community. The community has managed to
become a drug-free haven without support from outside organizations. The study has two major aims.
On one hand, it means to explore factors contributing to the successful campaign against drug abuse.
On the other, the model shall be developed to consider if its replication can be made to strengthen
other communities as far as efforts to combat drug problems are concerned in light of the social and
cultural aspects.
The study’s conceptual framework depends on the segregative method and the Buddhist
Law of Dependant Origination (Idappaccaya). The method has been used to guide the attempts to
come to terms with conditions in the community of Ban Maehair Tai to delve deeper into the
structures and how each element works relatively to each other. Five groups are the focus of the
study including community leaders from election (four in each group), natural leaders (four in each
group), village members including either the husband or wife, or any family member who fills out the
survey form, fraternity group (six persons) and individuals from outside working in the community of
Maehair Tai (a couple of them).
Two methods were used in the study including (1) the literary review related to Ban Maehair
Tai based on materials provided by relevant agencies, and (2) field survey. The researcher spent
three months to live in the community, conducted the community bioregional mapping, and carried out
basic household surveys, individual interview and focus group interview. Both non-participatory and
participatory observation methods have been used as well as formal/informal interview and note
taking.
It was found from the study that four major factors have contributed to the successful combat
against drugs in the community of Ban Maehair Tai, Moo 9, Tambon Panghinfon, Maechaem District,
Chiang Mai including the following (in order of significance);
1. Religious factor: Religious leaders, the local diocese, and the Church of Christ in
Thailand (CCT) have played significant roles in garnering faith of the villagers in God making them
adhere to good deeds as well as steering away from illicit drugs. 2. Social factors: This constitutes basically family network and kinships. The structure helps
to nurture the ground for morality and virtuous deeds and to training people on vocational skills as
well as to set example for the young generation to follow.
3. Political factors: The Village Committee, religious leaders and self-sufficiency savings
group have been the major impetus for mobilizing various activities in the village. Their roles can be
described in two major ways. Administratively, the Village Committee helps to oversee orderliness
and peace in the community through the enforcement of regulations and division of zones for the
involvement of local villagers. The Village Committee, religious leaders and the diocese and the selfsufficiency
savings group help collectively with the village governance.
4. Educational factors: The Ban Maehair Tai School, Maefahluang Mountain People
Learning Center and Ban Maehair Tai Village Health Post are instrumental in educating local students
and pregnant women about drug abuse and general health. They help to ensure that local students
stay away from illicit drug use.
The religious, social, political and educational actors have workers together in harmony to
make it possible for Ban Maehair Tai, Ban Sedosa and Ban Bloday to become drug-free communities
without support from outside organizations. | en_US |
dc.email.author | ไม่มีข้อมูล | en_US |
dc.identifier.callno | HV5840.T5 ส232ก 2552 | en_US |
dc.identifier.contactno | 50ข002 | en_US |
dc.subject.keyword | สารเสพติด | en_US |
dc.subject.keyword | การป้องกันยาเสพติด | en_US |
.custom.citation | สมเกียรติ มีธรรม. "การศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานด้านการป้องกันยาเสพติดในชุมชนกรณีศึกษาบ้านแม่แฮใต้ หมู่ที่ 9 ต.ปางหินฝน อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่." 2552. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3029">http://hdl.handle.net/11228/3029</a>. | |
.custom.total_download | 218 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 11 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |