Show simple item record

Important Issues : Health Systems Confidence, 2012

dc.contributor.authorสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.date.accessioned2012-06-18T08:16:01Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:27:38Z
dc.date.available2012-06-18T08:16:01Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:27:38Z
dc.date.issued2555en_US
dc.identifier.otherhs1943en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/3524en_US
dc.description.abstractความเป็นมาของการศึกษาเรื่องความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพของคนไทย เริ่มต้นจากการเห็นความสำคัญของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในการประเมินระบบสุขภาพในมุมมองของประชาชน ซึ่งนับว่าเป็นการวัดระบบสุขภาพโดยใช้การรับรู้หรือความรู้สึกของประชาชน เพื่อใช้ประกอบการประเมินระบบสุขภาพตามตัวชี้วัดระบบสุขภาพ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลจากมุมมองของประชาชนแทนที่จะเป็นการประเมินจากมุมมองของผู้จัดบริการสุขภาพแต่เพียงฝ่ายเดียว โดยในการประเมินความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพนั้น เป็นการวัดความเชื่อมั่น ไม่ใช่วัดความพึงพอใจต่อระบบสุขภาพ ดังนั้นประชาชนผู้ประเมินไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ตรง เพียงแต่สามารถใช้ข้อมูลต่างๆ ที่รับรู้มา เพื่อประมวลเป็นความรู้สึกเชื่อมั่นต่อประเด็นต่างๆ เท่านั้น ในระยะแรกได้มีการศึกษาและพัฒนาดัชนีความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ โดยได้จัดทำเป็นแบบสอบถามสำหรับการสำรวจความเห็นของประชาชน ในปีพ.ศ. 2553 โดยได้แบ่งประเด็นคำถามออกเป็น 4 มิติ ได้แก่ ระบบการสร้างเสริมสุขภาพ ระบบการป้องกันและควบคุมโรคและปัจจัยที่คุกคามสุขภาพ ระบบการบริการสาธารณสุขและการควบคุมคุณภาพ และระบบการคุ้มครองผู้บริโภค และแบ่งคำถามเป็น 2 ส่วนคือการเปรียบเทียบกับอดีต 6 เดือนที่ผ่านมา และการคาดการณ์อนาคต 6 เดือนข้างหน้า โดยในส่วนของการคาดการณ์อนาคตมีการเพิ่มคำถามเกี่ยวกับธรรมาภิบาลเข้าไปด้วย ผลของการสำรวจครั้งแรกเป็นเครื่องสะท้อนถึงเปลี่ยนแปลงความเชื่อมั่นในเชิงเปรียบเทียบว่าดีขึ้นหรือแย่ลง แต่อย่างไรก็ดีจากการสำรวจความเชื่อมั่นในระยะแรก พบว่ายังมีข้อจำกัดหลายประการเกี่ยวกับเครื่องมือที่ใช้ประเมิน ทั้งในเชิงประเด็นที่ประเมินและในเชิงวิธีการประเมิน โดยในปีพ.ศ. 2554 ได้เริ่มมีการทบทวนและจัดทำเครื่องมือวัดความเชื่อมั่นของประชาชนต่อระบบสุขภาพขึ้นมาใหม่ โดยปรับจากระยะแรก ประกอบกับการระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญและการสำรวจความเห็นจากผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีการปรับมิติที่ใช้ประเมินเป็น 4 มิติ ได้แก่ มิติบริการสุขภาพ มิติส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค มิติคุ้มครองผู้บริโภค และมิติธรรมาภิบาลระบบสุขภาพ จากมิติที่ใช้ประเมินทั้ง 4 มิติ มีการจำแนกเป็นประเด็นย่อยในแต่ละมิติ พร้อมจัดทำเป็นแบบสอบถามเพื่อใช้ในการสำรวจความเชื่อมั่นของประชาชน โดยคำถามที่ใช้ถามประชาชนจะเป็นการถามความเชื่อมั่นใน ปัจจุบัน โดยไม่เปรียบเทียบกับอดีตและไม่คาดการณ์อนาคต จึงช่วยให้สามารถนำผลการสำรวจที่ได้ ไปเปรียบเทียบในเชิงแนวโน้มได้ เมื่อมีการสำรวจด้วยเครื่องมือเดียวกันนี้ในอนาคต และสามารถนำมาสรุปในรูปของคะแนนความเชื่อมั่นในแต่ละมิติและในภาพรวมได้ ทั้งนี้คะแนนความเชื่อมั่นจะมีค่าตั้งแต่ 1-4 โดยคะแนน 2.5 จะเป็นค่าที่ใช้แบ่งระหว่างเชื่อมั่นกับไม่เชื่อมั่น ในปีพ.ศ. 2555 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ได้สนับสนุนให้สำนักงานสถิติแห่งชาติ ทำการสำรวจความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพของประชาชน ซึ่งผลการสำรวจได้มีการนำเสนอและเผยแพร่ไปแล้ว โดยเอกสารฉบับนี้เป็นเพียงการสรุปประเด็นสำคัญที่ได้จากการสำรวจดังกล่าว เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น และสามารถจับใจความสำคัญเพื่อการปรับปรุงแก้ไขระบบสุขภาพให้ประชาชนแต่ละกลุ่มมีความเชื่อมั่นต่อไปen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent214779 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/zipen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectบริการสุขภาพ--นโยบายของรัฐ.en_US
dc.subjectบริการสุขภาพ--สำรวจความคิดเห็นen_US
dc.subjectบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleผลการสังเคราะห์ประเด็นสำคัญความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ พ.ศ.2555en_US
dc.title.alternativeImportant Issues : Health Systems Confidence, 2012en_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWA540.JT3 ผ931 2555en_US
dc.identifier.contactno55-019en_US
.custom.citationสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข. "ผลการสังเคราะห์ประเด็นสำคัญความเชื่อมั่นต่อระบบสุขภาพ พ.ศ.2555." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3524">http://hdl.handle.net/11228/3524</a>.
.custom.total_download86
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year3

Fulltext
Icon
Name: hs1943.pdf
Size: 229.0Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record