dc.contributor.author | ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | วราวุธ เสริมสินสิริ | th_TH |
dc.contributor.author | สัญชัย จันทร์โต | th_TH |
dc.contributor.author | วัชรินี เกิดเยี่ยม | th_TH |
dc.contributor.author | สุธาทิพย์ ธนภาคย์ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2012-09-06T08:07:11Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-17T00:20:24Z | |
dc.date.available | 2012-09-06T08:07:11Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-17T00:20:24Z | |
dc.date.issued | 2555-04 | en_US |
dc.identifier.other | hs1960 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/3659 | en_US |
dc.description.abstract | การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ แม้ว่าจะมีการดำเนินการของเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคอยู่เป็นจำนวนมาก แต่ก็ยังมีรายงานว่าผู้บริโภคมีความเสี่ยงสูงในการบริโภคผลิตภัณฑ์และบริการโดยเฉพาะที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ ประกอบกับการดำเนินงานทางด้านการคุ้มครองผู้บริโภคของภาคราชการยังไม่สามารถให้การคุ้มครองได้เพียงพอ ภาคการเมืองยังไม่ให้ความสำคัญด้านการคุ้มครองผู้บริโภคเท่าที่ควร ยังคงพบผู้ประกอบการฝ่าฝืนกฎหมายอยู่บ่อยครั้ง ผู้ใช้กฎหมายยังมีอุปสรรคในการนำกฎหมายไปปฏิบัติ หรือตัวบทกฎหมายมีความใหม่ต่อการนำมาใช้ของผู้ทีเกี่ยวข้อง การให้ข้อมูลข่าวสารของสื่อยังบิดเบือนความจริง และไม่ครบถ้วน ส่งผลให้ผู้บริโภคได้รับข้อมูลที่
ไม่ถูกต้อง ไม่ครบถ้วน อีกทั้งยังอาจถูกสร้างค่านิยมที่ผิด นอกจากนี้ผู้บริโภคยังขาดความเข้มแข็ง เนื่องจากได้รับการสร้างเสริมศักยภาพไม่มากเท่าที่ควร การสนับสนุนงานคุ้มครองผู้บริโภคจากสถาบันทางวิชาการด้านข้อมูลและการจัดการความรู้ยังมีอยู่จำกัด นอกจากนั้นการเปิดการค้าเสรีระหว่างประเทศ ยังอาจมีผลต่อพฤติกรรมการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์สินค้าและบริการ โดยผู้บริโภคอาจตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงในการบริโภคสินค้าและบริการที่เพิ่มขึ้น การทบทวนวรรณกรรมและสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพ รวมถึงองค์ความรู้ด้านสิทธิและสุขภาพ จะทำให้เข้าใจความหมายและสามารถพัฒนาระบบส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพของประชาชนตาม พรบ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 หมวด 1 สิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพ ซึ่งการทบทวนและวิเคราะห์ความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบันเกี่ยวกับนิยาม ความหมาย ความเข้าใจ และกลไกส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ หมวด 8 การคุ้มครองผู้บริโภค ข้อ 74 และ หมวด 9 การสร้างและเผยแพร่องค์ความรู้ด้านสุขภาพ โดยทบทวนผลการ
ดำเนินงานทีผ่านมา อาจสามารถพัฒนาข้อเสนอการพัฒนาความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทยในปัจจุบัน โดยการศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในระบบสุขภาพ ดังแผนภาพที่ 1 ไม่ว่าจะเป็น สปสช. ที่คุ้มครองผู้บริโภคในด้านบริการสุขภาพ ตามมาตรา 41 หรือ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่คุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและยา หรือองค์กรอื่นๆ เช่น มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค แผนงานคุ้มครองผู้บริโภค สสส. ที่ทำหน้าที่ผลักดันและขับเคลื่อนงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ตลอดจน สช. มีพรบ.สุขภาพแห่งชาติที่เกี่ยวข้องกับสิทธิและหน้าที่ทางด้านสุขภาพของประชาชนชาวไทย จะช่วยให้เข้าใจสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคได้เป็นอย่างดีการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่าง ตัวผู้บริโภค หน่วยงานของรัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน NGO ผู้ผลิตสินค้าและบริการ และสื่อสาธารณะ ซึ่งปัญหาของการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจะเกิดจาก 1)หน่วยงานที่ทำหน้าทีมีกำลังไม่เพียงพอและไม่ได้ประสานงานกัน กฎหมายมีช่องว่าง 2) ผู้ผลิตสินค้า หรือผู้ให้บริการ ไม่มีความรู้ ขาดจรรยาบรรณ มีระบบการตลาดทีไม่ดี มีการผูกขาด และไม่มีกลุ่มผู้ประกอบการมาควบคุมกันเอง 3)ผู้บริโภคขาดแหล่งข้อมูลทีน่าเชื่อถือ ไม่มีความรู้พื้นฐาน ไม่ตระหนักในสิทธิหรือไม่รู้ว่ามีสิทธิ ไม่ตั้งคำถาม รู้ไม่เท่าทันโฆษณา 4)สื่อมวลชน ขาดองค์กรที่ควบคุมจรรยาบรรณ และไม่มีส่วนร่วมเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้นการพัฒนาความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพจึงต้องครอบคลุมผู้เกี่ย วข้องทั้ง4 กลุ่มเพื่อที่จะรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอก ทีมีผลกระทบต่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ ได้แก่ กระแสทุนนิยม ลัทธิบริโภคนิยม ความซับซ้อนของระบบบริโภค และโลกาภิวัตน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบาย ASEAN Harmonization และ Medical Hub ซึ่งต้องการการสนับสนุน 3 E ได้แก่ Enforcement, Empowerment,Education
การพัฒนาความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพนั้น จะต้องได้รับการสนับสนุนจาก 4 ด้าน
ได้แก่ การจัดการความรู้ นับตั้งแต่องค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการบริโภค ตลอดไปจนถึงการส่งต่อหรือกระจายความรู้
และการบังคับใช้กฎหมาย การศึกษาว่า มีอะไรบ้างที่เป็นกุญแจสำคัญในการผลักดันเพื่อสร้างความเข้มแข็งกลไก
คุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพ ซึ่งการศึกษานี้ต้องการประมวลสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคที่เป็นอยู่ใน
ระบบสุขภาพ ทั้งด้านสิทธิสุขภาพ ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและด้านบริการสุขภาพ โดยไม่มุ่งเน้นความสมบูรณ์รอบ
ด้านของข้อมูลแต่จะนำเสนอเพื่อสะท้อนสภาพปัญหาอันอาจนำไปสู่ข้อเสนอเพื่อพัฒนาความเข้มแข็งกลไกคุ้มครอง
ผู้บริโภคในระบบสุขภาพของประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์:
1.เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ยุทธศาสตร์และกลไกทีใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภคทั้ง
ในประเทศและต่างประเทศสามด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิสุขภาพ ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และด้านบริการสุขภาพ
2.เพื่อทบทวนสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพของประเทศไทย ทั้งด้านกลไก เครื่องมือ
และผลการดำเนินการขององค์กรทีเกี่ยวข้อง
3.เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาความเข้มแข็งของกลไกคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพ
เครื่องมือที่ใช้:
แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึกการประชุม แบบบันทึกประเด็นการทบทวน ซึง5 การทบทวนครั้งนี้จะศึกษาวรรณกรรม
ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เกี่ยวกับหลักการ แนวคิด ยุทธศาสตร์และกลไกที่ใช้ในการคุ้มครองผู้บริโภค สาม
ด้าน ได้แก่ ด้านสิทธิสุขภาพ ด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ และด้านบริการสุขภาพ และทบทวนสถานการณ์การคุ้มครอง
ผู้บริโภคในระบบสุขภาพของประเทศไทย และผลการดำเนินการขององค์กรที่เกี่ยวข้อง โครงสร้างคำถามสำหรับสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องในการคุ้มครองผู้บริโภค ประกอบด้วย 1) แนวคิดและปรัชญาการดำเนินงานในบริบทปัจจุบัน 2) บทบาทและอำนาจหน้าที่ 3) จุดแข็ง จุดอ่อน อุปสรรคและโอกาสในการดำเนินงานของแต่ละองค์กรทีเกี่ยวข้อง 4) ข้อเสนอการพัฒนาความเข้มแข็งกลไกคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ โดยทำการสัมภาษณ์เชิงลึก (in-depth interview) ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เกี่ยวข้องต่างๆ เช่น ผู้บริหารหรือผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข สสจ. สปสช. มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค แผนงานคุ้มครองผู้บริโภค สสส. ฯลฯ
สรุปผลการศึกษาได้เป็น 4 หัวข้อ ดังนี้
1. กระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพและหน่วยงานทีเกี่ยวข้อง
2. งานคุ้มครองผู้บริโภคในมุมมองของเจ้าหน้าที่ภาครัฐ
3. การคุ้มครองสิทธิด้านสุขภาพ / สิทธิด้านกลุ่มผลิตภัณฑ์สุขภาพ / สิทธิด้านกลุ่มบริการสุขภาพ
4. ถอดบทเรียน : ประเด็นร้อน (โฆษณาเคเบิล: ทีวี) | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.format.extent | 1576455 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/zip | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | การบริการทางการแพทย์ | th_TH |
dc.subject | การคุ้มครองผู้บริโภคด้านบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การทบทวนวรรณกรรมและสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพ | th_TH |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.identifier.callno | WA288 ช337ก 2555 | en_US |
dc.identifier.contactno | 55-006 | en_US |
.custom.citation | ชะอรสิน สุขศรีวงศ์, วราวุธ เสริมสินสิริ, สัญชัย จันทร์โต, วัชรินี เกิดเยี่ยม and สุธาทิพย์ ธนภาคย์. "การทบทวนวรรณกรรมและสถานการณ์การคุ้มครองผู้บริโภคในระบบสุขภาพ." 2555. <a href="http://hdl.handle.net/11228/3659">http://hdl.handle.net/11228/3659</a>. | |
.custom.total_download | 1121 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 67 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 5 | |