dc.contributor.author | ชไมพร กาญจนกิจสกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Chamaiporn Kanchanakijsakul | en_US |
dc.date.accessioned | 2015-09-03T07:54:37Z | |
dc.date.available | 2015-09-03T07:54:37Z | |
dc.date.issued | 2557-12 | |
dc.identifier.other | hs2179 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/4303 | |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวใน
การเกื้อหนุนด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง และเพื่อสร้างคู่มือว่าด้วยครอบครัว
กับการเกื้อหนุนด้านการใช้ยาในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ครอบครัวผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค
ในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลัก คือ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ซึ่ง
ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอย่างน้อยหนึ่งโรค และสมาชิกในครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุ การเลือกกลุ่ม
ตัวอย่างโดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง การเก็บรวบรวมข้อมูลในช่วงต้นเดือนตุลาคม
2556 ถึงปลายเดือนมิถุนายน 2557 ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกโดยอาศัยแนวคำถามการสัมภาษณ์
โดยเก็บรวบรวมข้อมูลไปเรื่อยๆ จนกว่าข้อมูลอิ่มตัว ซึ่งมีครอบครัวผู้สูงอายุที่ใช้ในการศึกษา
ทั้งสิ้น 50 ราย ส่วนการสร้างคู่มือได้ใช้ผลการศึกษาในส่วนข้างต้นเป็นข้อมูลสำคัญในการร่าง
เนื้อหาในคู่มือ โดยผ่านการตรวจสอบและลงความเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่าน และ
ประเมินความพึงพอใจของครอบครัวผู้ดูแลต่อคู่มือดังกล่าวภายหลังการปรับปรุงตามความเห็น
ของผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจสอบจุดบกพร่องของการสื่อสารที่ควรปรับปรุงต่อไป
ผลการศึกษา พบว่า กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเกื้อหนุนด้านการใช้
ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง ประกอบด้วยกิจกรรมใน 9 รูปแบบสำคัญ อันได้แก่ 1) การ
พาไปพบแพทย์ตามนัดหมายเพื่อตรวจและติดตามอาการ 2) การเดินทางไปรับยาแทนตามนัด
หมาย 3) การช่วยจดจำวันนัดหมายเพื่อตรวจและติดตามอาการ 4) การเอาใจใส่และให้ข้อมูล
เกี่ยวกับวิธีการใช้ยาที่ถูกต้อง 5) การหมั่นคอยดูแลและควบคุมอาหารการกิน 6) การช่วยเตือน
เกี่ยวกับการรับประทานยาให้ถูกเวลา 7) การช่วยจัดเตรียมยาตามมื้ออาหารในแต่ละวัน 8) การ
หมั่นถามไถ่และติดตามอาการจากการใช้ยา และ 9) การสร้างความรู้สึกในการมีคุณค่าทั้งต่อตัว
ผู้สูงอายุและบุคคลรอบข้าง
สำหรับปัญหาและอุปสรรคในกระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเกื้อหนุนด้าน
การใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง มีอยู่ 4 ประการสำคัญ ได้แก่ 1) สมาชิกในครอบครัว
ต้องออกไปทำงานเชิงเศรษฐกิจ 2) ความเข้าใจว่าผู้สูงอายุยังช่วยเหลือตัวเองได้ดี 3) การขาด
ความรู้ของครอบครัวเกี่ยวกับโรคเรื้อรังและการใช้ยาในผู้สูงอายุ และ 4) สัมพันธภาพภายใน
ครอบครัวที่อ่อนแอ ทั้งนี้ ครอบครัวผู้ดูแลมีความพึงพอใจต่อคู่มือว่าด้วยครอบครัวกับการ
เกื้อหนุนด้านการใช้ยาในผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรังอยู่ในระดับดีในทุกรายการ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ | th_TH |
dc.subject | การใช้ยาในวัยชรา | th_TH |
dc.subject | การใช้ยา | th_TH |
dc.subject | ผู้สูงอายุ | th_TH |
dc.subject | ระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems) | th_TH |
dc.title | กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเกื้อหนุนด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง | th_TH |
dc.title.alternative | Family Participation in Supporting Drug Use for Thai Elderly with Chronic Diseases | en_US |
dc.type | Technical Report | en_US |
dc.description.publication | ภายใต้แผนงานการวิจัยการใช้ยาในผู้สูงอายุไทยเขตภาคเหนือตอนล่าง | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The Objectives of this study were to investigate family participation in
supporting drug use for Thai elderly with chronic diseases and to create a
handbook for families who are assisting in treatment of Thai elderly with chronic
diseases.
Key informants are elderly's family, where the elder has at least one
chronic disease, in lower northern areas. The key informants are composed of
two main groups; the elderly with a chronic disease and their family members.
Purposive sampling and in-depth interview with interview guide were used for the
study. Data collection and content analysis were conducted from early in
October, 2013 until late in June, 2014. Data saturation was achieved with 50
cases. The results from this part were employed to make a handbook for families
who are assisting in treatment of Thai elderly with chronic diseases. The
handbook was reviewed by three specialists. After editing, the handbook was
evaluated by those families. Frequency, mean and standard deviation were
employed for analysis in this part.
The results showed that there were nine types of family participation
in supporting drug use. Those were 1) taking the elderly to see their physicians,
2) travelling to get medicine for the elderly, 3) tracking physician's appointments,
4) assisting with correct drug use, 5) assisting with appropriate diet, 6) maintaining
correct medication schedule, 7) preparing drugs for each meal, 8) monitoring
symptoms of drug use, and 9) building both self-esteem and esteem in others.
Several obstacles to good support were identified. They are
employment outside the family, misunderstandings between family members
and the elderly about the capabilities/self-support of the elderly, lack of
knowledge about chronic diseases and drug use in the elderly and weak family
relationships. In terms of handbook evaluation, the families had a good level of
satisfaction in every item evaluated. | en_US |
dc.identifier.callno | WT100 ช185ก 2557 | th_TH |
dc.identifier.contactno | 56-028 | en_US |
.custom.citation | ชไมพร กาญจนกิจสกุล and Chamaiporn Kanchanakijsakul. "กระบวนการมีส่วนร่วมของครอบครัวในการเกื้อหนุนด้านการใช้ยาของผู้สูงอายุที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง." 2557. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4303">http://hdl.handle.net/11228/4303</a>. | |
.custom.total_download | 815 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 18 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 0 | |