แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การล้มในผู้สูงอายุไทยในเขตเมืองและชานเมือง : อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยง การจัดการและการป้องกัน

dc.contributor.authorไพลวรรณ สัทธานนท์th_TH
dc.contributor.authorPlaiwan Suttanonen_US
dc.contributor.authorผกามาศ พิริยะประสาธน์th_TH
dc.contributor.authorPagamas Piriyaprasarthen_US
dc.contributor.authorธันยาภรณ์ อรัญวาลัยth_TH
dc.contributor.authorThanyaporn Aranyavalaien_US
dc.contributor.authorกฤษณา ครุฑนาคth_TH
dc.contributor.authorKitsana Krootnarken_US
dc.date.accessioned2015-09-04T11:03:57Z
dc.date.available2015-09-04T11:03:57Z
dc.date.issued2558
dc.identifier.otherhs2185
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/4310
dc.description.abstractการศึกษาอุบัติการณ์และปัจจัยเสี่ยงการล้มในผู้สูงอายุในประเทศไทยจะนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการประเมินความเสี่ยงการล้มเบื้องต้นที่สามารถถูกนำไปใช้จริงโดยบุคลากรทางสาธารณสุขตั้งแต่ระดับชุมชน โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ภาวะเสี่ยงต่อการล้มได้รับการตรวจประเมินเป็นพื้นฐานเพื่อให้ปัญหาดังกล่าวถูกคัดกรองหรือตรวจพบและนำไปสู่การแก้ไขตั้งแต่ในระยะเริ่มแรก คือป้องกันหรือลดความเสี่ยงก่อนที่ปัญหา (การล้มและผลกระทบจากการล้ม) จะเกิดขึ้น โดยการศึกษาครั้งนี้เริ่มจากการศึกษาในชุมชนเขตเมืองและชานเมืองเป็นลำดับแรก โดยเน้นในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล ซึ่งประกอบด้วยประชากรทั้งในชุมชนเขตอุตสาหกรรมและชุมชนเขตเกษตรกรรม เนื่องมาจากข้อจำกัดในด้านระยะเวลาและทุนวิจัยของโครงการวิจัยครั้งนี้ อย่างไรก็ตามคาดว่าผลการศึกษาน่าจะสามารถนำไปประยุกต์กับประชากรในชุมชนของประเทศไทยได้ และสามารถพัฒนาสู่งานวิจัยในอนาคตที่ครอบคลุมตัวแทนประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไทยได้จริง จากการศึกษาที่ผ่านมา การรักษาหรือป้องกันการล้มที่พบว่าได้ผลดีที่สุดคือ การแก้ไขหรือลดปัจจัยเสี่ยงการล้ม (เนื่องจากการล้มมักเกิดจากสาเหตุหรือความเสี่ยงมากกว่า 1 อย่าง และเนื่องจากปัจจัยเสี่ยงการล้มที่สาคัญที่สุดปัจจัยหนึ่ง คือความบกพร่องด้านการทรงตัวและความแข็งแรง ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงประเภทที่แก้ไขหรือปรับปรุงได้ (Modifiable risk factors) รูปแบบการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและส่งเสริมการฝึกการทำงานของระบบการควบคุมการทรงตัว (Balance exercise) จึงเป็นองค์ประกอบสำคัญในโปรแกรมป้องกันการล้มที่พบว่าให้ผลการป้องกันหรือลดอัตราการล้มในผู้สูงอายุ การวิจัย (ระยะที่ 2) เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันการล้มที่มีเป้าหมายและวิธีการลดหรือจัดการกับปัจจัยเสี่ยงที่ตรวจพบจากการตรวจประเมินที่เหมาะสม ที่สามารถระบุปัจจัยเสี่ยงการล้มที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุไทย (จากการวิจัยระยะที่ 1) ร่วมกับการออกกำลังกายที่ส่งเสริมการฝึกความแข็งแรงและความสามารถด้านการทรงตัว น่าจะเป็นแนวทางนำไปสู่การพัฒนาการรักษาและป้องกันการล้มที่เหมาะสำหรับผู้สูงอายุไทยต่อไปth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข, มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย, สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติth_TH
dc.subjectการล้มในผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectผู้สูงอายุth_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.titleการล้มในผู้สูงอายุไทยในเขตเมืองและชานเมือง : อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยง การจัดการและการป้องกันth_TH
dc.title.alternativeFalls in Thai older people living in urban and suburban areas: incidence, risk factors, management and preventionen_US
dc.typeTechnical Reporten_US
dc.identifier.callnoWT20 พ993ก 2558th_TH
dc.identifier.contactno56-028en_US
.custom.citationไพลวรรณ สัทธานนท์, Plaiwan Suttanon, ผกามาศ พิริยะประสาธน์, Pagamas Piriyaprasarth, ธันยาภรณ์ อรัญวาลัย, Thanyaporn Aranyavalai, กฤษณา ครุฑนาค and Kitsana Krootnark. "การล้มในผู้สูงอายุไทยในเขตเมืองและชานเมือง : อุบัติการณ์ ปัจจัยเสี่ยง การจัดการและการป้องกัน." 2558. <a href="http://hdl.handle.net/11228/4310">http://hdl.handle.net/11228/4310</a>.
.custom.total_download1331
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year17
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2185.pdf
ขนาด: 11.29Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย