The synthesis of political suggestion for the development of health service system to delay Kidney failure : A case study at Chumphae Hospital
dc.contributor.author | อัมพรพรรณ ธีรานุตร | th_TH |
dc.contributor.author | Ampornpan Theeranut | th_TH |
dc.contributor.author | สุณี เลิศสินอุดม | th_TH |
dc.contributor.author | Sunee Lertsinudom | th_TH |
dc.contributor.author | นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Nonglak Methakanjanasak | th_TH |
dc.contributor.author | ปัทมา สุริต | th_TH |
dc.contributor.author | Pattama Surit | th_TH |
dc.contributor.author | จันทร์โท ศรีนา | th_TH |
dc.contributor.author | Chantho Srina | th_TH |
dc.contributor.author | วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ | th_TH |
dc.contributor.author | Wiboonsak Wuttanachot | th_TH |
dc.contributor.author | ยศวัจน์ พักเท่า | th_TH |
dc.contributor.author | Yosawat Paktao | th_TH |
dc.contributor.author | ดวงใจ อดิศักดิ์สดใส | th_TH |
dc.contributor.author | Duangjai Adisaksodsai | th_TH |
dc.contributor.author | นวลอนงค์ สุดจอม | th_TH |
dc.contributor.author | Nuan-Anong Sudjom | th_TH |
dc.contributor.author | สุดาพร ไทยเทวรักษ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Sudaporn Thaitewarak | th_TH |
dc.contributor.author | สุนันท์ชนก น้ำใจดี | th_TH |
dc.contributor.author | Sunanchanok Namjaidee | th_TH |
dc.date.accessioned | 2020-10-15T05:54:36Z | |
dc.date.available | 2020-10-15T05:54:36Z | |
dc.date.issued | 2563-09 | |
dc.identifier.other | hs2596 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5262 | |
dc.description.abstract | การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Mutual Collaborations Action Research) วัตถุประสงค์หลักของการวิจัย คือ 1. เพื่อพัฒนาหารูปแบบของกิจกรรมบริการในระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังทุกระยะ 2. เพื่อวิเคราะห์ค่าใช้จ่ายในการลงทุนด้านทรัพยากรในระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรัง และ 3. เพื่อสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังสำหรับโรงพยาบาลชุมชน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคไตเรื้อรังทุกระยะที่มีสาเหตุมาจากโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง โดยใช้บริการตรวจสุขภาพที่ศูนย์สุขภาพชุมชนชุมแพหรือคลินิกหมอครอบครัว (PCC: Primary Care Cluster) ตำบลชุมแพ อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และที่คลินิกโรคไตของโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 234 คน กำหนดคุณสมบัติผู้ป่วยในการคัดเข้าแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มเป้าหมายรอง คือ ทีมสุขภาพที่ประกอบด้วยแพทย์ผู้รักษา 3 คน (แพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวที่ PCC 1 คน และอายุรแพทย์ที่โรงพยาบาลชุมแพ 2 คน) พยาบาลวิชาชีพในคลินิกโรคไต 4 คน (พยาบาลที่ศูนย์สุขภาพชุมชนชุมแพหรือคลินิกหมอครอบครัว (PCC : Primary Care Cluster) 1 คน และที่โรงพยาบาล 3 คน และเภสัชกร 1 คน ที่ทำหน้าที่ในคลินิกหมอครอบครัวและคลินิกโรคไตโรงพยาบาลชุมแพ รวมถึงครอบครัวของผู้ป่วย กลุ่มตัวอย่างที่ทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลหลักแก่ผู้ป่วย ขั้นตอนดำเนินการวิจัย (เดือนเมษายน 2562-เดือนมีนาคม 2563 : ขยายเวลาถึงเดือนกรกฎาคม 2563) แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การทบทวนสถานการณ์ของระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอการล้างไตตามรูปแบบที่พัฒนาได้จากการศึกษา phase 1 เพื่อให้บริการสุขภาพครอบคลุมทุกระยะของโรคไตเรื้อรัง ขั้นตอนที่ 2 ดำเนินการพัฒนา (Implementation Phase) โดยการวางแผนปฏิบัติการและประเมินผลลัพธ์ของระบบบริการสุขภาพ “ชุมแพโมเดลเพื่อชะลอการล้างไตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง : Chumphae DDCKD model” (Chumphae Model for Delaying Dialysis in CKD patients) ที่พัฒนาได้จากขั้นที่ 1 และขั้นตอนที่ 3 ติดตามประเมินผลลัพธ์ (Evaluation Phase) : ผลลัพธ์ด้าน Clinical outcomes ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงของค่าอัตราการกรองของไต (eGFR) เฉลี่ยน้อยกว่า 4 mL/ min/1.73 m2 ต่อปี) ผู้ป่วยทุกระยะ 2. พฤติกรรมการจัดการตนเองของผู้ป่วย 3. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและผลลัพธ์ด้าน Feasibility ของการนำโมเดลไปใช้ในสถานการณ์จริง ได้แก่ 1. ความพึงพอใจของผู้ป่วย 2. ต้นทุนประสิทธิผล (Economic outcome: CEA) และ 3. ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อระบบ ผลการวิจัย ผลการทดลองใช้ระยะเวลา 3 เดือน และ 6 เดือนเพื่อทดสอบประสิทธิภาพของระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรังหรือชะลอการล้างไตในทุกระยะของโรคที่พัฒนาขึ้นใหม่ในกลุ่มตัวอย่าง 234 คน พบว่าค่าสัดส่วนการลดลงของอัตราการกรองของไตอย่างรวดเร็ว (rapid eGFR decline) ตั้งแต่ช่วงก่อนการศึกษาจนถึงหลังการศึกษาในเดือนที่ 6 ในภาพรวมกลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีการลดลงของค่าอัตราการกรองไต > 2 mL/min/1.73 m2 ในระยะเวลา 6 เดือน เพียงร้อยละ 29.06 และสามารถชะลอความเสื่อมของไต (ผู้ป่วยมีอัตราการลดลงของอัตราการกรองไต น้อยกว่า 4 ml/min/1.73 m2/ปี หรือน้อยกว่า 2 ml/min/1.73 m2 ในระยะเวลา 6 เดือน ได้ถึงร้อยละ 70.94 กลุ่มตัวอย่างผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ระยะ 1-2, 3a-3b และ 4-5 มีการลดลงค่าอัตราการกรองไต ≤ 2 mL/min/1.73 m2 ในระยะเวลา 6 เดือน ร้อยละ 74.68, 64.71 และ 60.00 ตามลำดับ และประสิทธิผลในการชะลอการล้างไตในกลุ่มความดันโลหิตสูง พบว่ามีค่ามัธยฐานอัตราการกรองไตดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.04 การศึกษาพบว่า คะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองมีความสัมพันธ์กับค่าอัตราการกรองไตในช่วงเวลาต่างๆ โดยก่อนศึกษาพบว่า เมื่อคะแนนรวมเปลี่ยนไป 1 คะแนน ทำให้ค่าอัตราการกรองไตลดลงเท่ากับ 2.57 ml/min/1.73 m2 แต่ในช่วงระยะเวลาหลังการศึกษาในเดือนที่ 3 เดือน และ 6 เดือน ค่าอัตราการกรองไตลดลง 1.46 และ 1.004 ตามลำดับ และพบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองก่อนการศึกษาและหลังการศึกษาในเดือนที่ 6 ค่าเฉลี่ยคะแนนรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ แต่อย่างไรก็ตามเมื่อจำแนกคะแนนตามรายข้อพบว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมการจัดการตนเองก่อนการศึกษาและหลังการศึกษาในเดือนที่ 6 ด้านการกินอาหารรสจืดหรือรสเค็มน้อยๆ กินอาหารประเภทอบแห้งหรือดอง กินอาหารที่มีโคเลสเตอรอลสูง กินเครื่องในสัตว์ ดื่มน้ำด้วยการประมาณจากปัสสาวะที่ออก และกินอาหารนอกบ้านหรือซื้อที่ร้านสะดวกซื้อ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ผลการศึกษาด้านคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-2, 3a-3b และ 4-5 พบว่าส่วนใหญ่อยู่ในระดับไม่มีปัญหาในทุกๆ มิติสุขภาพ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อระบบบริการสุขภาพใหม่สูงสุดในระดับมาก และรองลงมาเป็นมากที่สุด ไม่มีคะแนนในระดับน้อยที่สุดและน้อย การวิเคราะห์ต้นทุนประสิทธิผลระบบบริการสุขภาพ : Chumphae DDCKD model หรือคลินิกโรคไตเรื้อรังโดยสหวิชาชีพ พบว่าผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1-2 มีต้นทุนเฉลี่ยต่อราย 2,392.49 บาท/ราย ผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3a-3b มีต้นทุนเฉลี่ยต่อราย 4,248.42 บาท/ราย และผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 4-5 มีต้นทุนเฉลี่ยต่อราย 4,181.42 บาท/ราย โดยผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 3a-3b และ 4-5 มีต้นทุนที่เพิ่มขึ้นในด้านเวชภัณฑ์มิใช่ยาจากการใช้ยาฉีดอินซูลินและระบบบริการสุขภาพ Chumphae DDCKD model สามารถชะลอการเสื่อมของไตได้มากกว่าร้อยละ 50 ในทุกระยะ ต้นทุนประสิทธิผลในการศึกษานี้คิดจากต้นทุนต่อประสิทธิผลที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนผู้ป่วยที่สามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ โดยเป็นผู้ป่วยที่มีอัตราการลดลงของ eGFR เฉลี่ยน้อยกว่า 4 mL/min/1.73 m2 ต่อปี จะเห็นว่าระบบบริการสุขภาพ Chumphae DDCKD model สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะที่ 1-2 มีความคุ้มค่ามากกว่าผู้ป่วยระยะที่ 3a-3b และ 4-5 โดยมีต้นทุนประสิทธิผลเท่ากับ 3,203.50 บาท 6,565.74 บาท และ 6969.03 บาท ตามลำดับ ต่อการชะลอความเสื่อมของไตได้ 1 ราย ข้อเสนอเชิงนโยบายที่สำคัญ คือ ระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรัง : Chumphae DDCKD model สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีความคุ้มค่าทุกระยะของโรคไต และในผู้ป่วยตั้งแต่ระยะที่ 1-2 มีความคุ้มค่าที่สุดเมื่อเทียบกับระยะอื่น เพราะสามารถช่วยชะลอไตเสื่อมได้มากกว่าระยะอื่น ดังนั้นควรเริ่มทำคลินิกโรคไตสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตั้งแต่ระยะแรกของโรค | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคไต | th_TH |
dc.subject | Kidney Diseases | th_TH |
dc.subject | โรคไตเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject | Chronic Kidney Disease | th_TH |
dc.subject | ระบบบริการสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Health Care System | th_TH |
dc.subject | ระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing) | th_TH |
dc.subject | ภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance) | th_TH |
dc.title | การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรัง กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมแพ | th_TH |
dc.title.alternative | The synthesis of political suggestion for the development of health service system to delay Kidney failure : A case study at Chumphae Hospital | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The objectives of the mutual collaborations action research were to 1 ) develop the model of service activities in health services system for delaying progression of chronic kidney disease in all stages of kidney damage, 2) analyze the expense of resource investment in health services system for delaying progression of chronic kidney disease, and 3) synthesize the policy suggestions for health services system development to delay progression of chronic kidney disease in community hospitals. Purposive sampling was used and study subjects were 2 3 4 patients with chronic kidney disease (CKD) in all stages of kidney damage which were coursed by diabetes mellitus, hypertension, or both, at Chumpae Health Center or Primary Care Cluster (PCC), and Kidney Clinic at Chumpae Hospital, Khon Kaen Province. Secondary target group was healthcare team in both sites including 3 physicians, 4 professional nurses, and 1 pharmacist, and primary caregiver of CKD patients. There were 1 family doctor, 1 professional nurse at PCC; 2 medical doctors, 3 professional nurses at Kidney Clinic; 1 pharmacist running in both sites. Study Process: The study period was between April 2 5 6 2 and March 2 5 6 3 , however, was extended to July 2563. Study process was divided into 3 major steps; step 1 Implementation phase: a situation review of health services system for delaying dialysis according to the model developed from study in phase 1 ; step 2 implementation phase: planning, implementing, and evaluating the outcomes of health services system for delaying dialysis (Chumphae DDCKD model obtained from step 1); and step 3 evaluation phase: clinical outcomes were an average rapid eGFR decline < 4 ml/min/1 . 7 3 m2 / year in patients in all stages of kidney damage, selfmanagement behaviors, quality of life, and feasibility outcome of applying Chumphae DDCKD model in a real situation, including patient satisfaction, economic outcome: Cost-effectiveness analysis (CEA), and policy suggestions to health services system. Result: The effectiveness of applying DDCKD model for delaying progression of CKD or dialysis was tested at 3 rd and 6 th months and rapid eGFR decline was found to be decreased, rapid eGFR decline > 2 ml/min/1.73 m2/ in 6 months was only 29.06%, Patients having rapid eGFR decline < 4 ml/min/1.73 m2/year or < 2 ml/min/1.73 m2/in 6 months were 70.94%. rapid eGFR decline ≤ 2 ml/min/1.73 m2/in 6 months of CKD Patients in stage 1-2, 3a-3b, and 4-5 was found to be 74.68%, 64.71%, and 60.0%, respectively. The efficiency of Chumphae DDCK model for delaying dialysis in CKD patients with hypertension group showed that the median of rapid eGFR decline was significantly improved (p = 0.04). The study showed that score on self-management behaviors and eGFR in different periods were correlated. Prior to implementation of Chumphae DDCK model, total score on self-management behaviors changed 1 score, rapid eGFR decline would decrease to 2. 5 7 ml/min/1.73 m2. After implementation, rapid eGFR decline in 3rd and 6th months was 1.46 and 1 . 0 0 4 , respectively. An average total score on self-management behaviors before and after implementation 6 months was not significant difference. However, score on self-management behaviors in each item was significant difference, including eat bland food or less salty, eat dehydrated food or pickle food, eat high-cholesterol food, eat offal, water intake by estimating from urine output, and eat ready meal or food bought from convenience store. CKD patients in stage 1-2, 3a-3b, and 4-5 reported their quality of life score was mostly fine in every dimensions. The majority of subjects were satisfied with the new health services system in high level, followed by the highest level, and no report on less or the least levels. Cost-effectiveness analysis (CEA): after implementation of Chumphae DDCKD model, an average cost of CKD patients was 2,392.49 baht/person, 4,248.42 baht/person, and 4,181.42 baht/person in stage 1-2, 3a-3b, and 4-5, respectively. An average cost of CKD patients in stage 3 a-3 b and 4 - 5 was increased because of medical supplies, not insulin injection. Chumphae DDCKD model could delay > 5 0 % progression of chronic kidney disease in all stages of kidney damage. Cost-effectiveness analysis in this study was calculated based on numbers of CKD patients delaying progression of chronic kidney disease by considering from rapid eGFR decline < 4 ml/min/1.73 m2/year. Chumphae DDCKD model was more worth for CKD patients in stage 1-2 than for CKD patients in stage 3a-3b and stage 4-5, with the cost effectiveness of 3203.50 baht, 6,565.74 baht, and 6969.03 baht, respectively, on delaying progression of kidney damage for 1 person. The important policy suggestion was to implement Chumphae DDCK model for CKD patients because this model could delay progression of chronic kidney disease in all stages of kidney damage. However, it was worth for CKD patients in stage 1 - 2 when compared to other stages. Therefore, implementation of this model should establish in Kidney Clinic for CKD patients in early stage of kidney damage. | th_TH |
dc.identifier.callno | WJ340 อ493ก 2563 | |
dc.identifier.contactno | 62-047 | |
.custom.citation | อัมพรพรรณ ธีรานุตร, Ampornpan Theeranut, สุณี เลิศสินอุดม, Sunee Lertsinudom, นงลักษณ์ เมธากาญจนศักดิ์, Nonglak Methakanjanasak, ปัทมา สุริต, Pattama Surit, จันทร์โท ศรีนา, Chantho Srina, วิบูลย์ศักดิ์ วุฒิธนโชติ, Wiboonsak Wuttanachot, ยศวัจน์ พักเท่า, Yosawat Paktao, ดวงใจ อดิศักดิ์สดใส, Duangjai Adisaksodsai, นวลอนงค์ สุดจอม, Nuan-Anong Sudjom, สุดาพร ไทยเทวรักษ์, Sudaporn Thaitewarak, สุนันท์ชนก น้ำใจดี and Sunanchanok Namjaidee. "การสังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบายในการพัฒนาระบบบริการสุขภาพเพื่อชะลอโรคไตเรื้อรัง กรณีศึกษาโรงพยาบาลชุมแพ." 2563. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5262">http://hdl.handle.net/11228/5262</a>. | |
.custom.total_download | 193 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 43 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 4 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
Research Reports [2409]
งานวิจัย