บทคัดย่อ
หลักการและเหตุผล บุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานด่านหน้า เป็นกลุ่มเสี่ยงสูงที่มีโอกาสติดเชื้อโควิด ทำให้มีโอกาสต้องตรวจสวอปบ่อยครั้ง การตรวจด้วยวิธีทางซีโรโลยี ทำได้ง่ายและสามารถใช้ในการเฝ้าระวังได้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาความชุกและอุบัติการณ์ของการติดเชื้อ SARS-CoV2 ในบุคลากรทางการแพทย์ด่านหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ด้วยการตรวจทางซีโรโลยี วิธีการศึกษา เป็นการศึกษาแบบสังเกตไปข้างหน้าในกลุ่มบุคลากรทางการแพทย์ รวม 360 คน โดยเป็นบุคลากรด่านหน้า 240 คน และที่ไม่ใช่ด่านหน้า 120 คน ดำเนินการศึกษาที่ รพ.ศิริราช ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2563 ถึง เดือนเมษายน 2564 โดยนัดอาสาสมัครเจาะเลือด รวม 4 ครั้ง ที่แรกเข้าโครงการ, 4 สัปดาห์, 12 สัปดาห์ และ 48 สัปดาห์ และตรวจซีโรโลยี รวม 3 วิธี คือ ชนิดได้ผลเร็วรายงานผลเป็นบวกหรือลบ (Pan-IgG [Elecsys Anti-SARS-CoV-2]) และ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG ซึ่งรายงานผลเป็นค่า optical density โดย cut-off ผลการตรวจเป็นลบที่ 0.64 และ cut-off ผลการตรวจเป็นบวกที่ 1.60 และจะส่งตรวจ microneutralization assay เพิ่มเติมในรายที่ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG เป็นบวก ผลการศึกษา จากอาสาสมัครในโครงการ รวม 360 คน พบว่าร้อยละ 82.2 เป็นเพศหญิง มีอายุเฉลี่ย 32.5 ปี สำหรับผลการตรวจชนิดได้ผลเร็วด้วยวิธี Pan-IgG พบผลเป็นบวก 1 ราย ในกลุ่มที่ไม่ใช่ด่านหน้า โดยพบผลบวกตั้งแต่แรกจนสิ้นสุดการศึกษา สำหรับผลการตรวจ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG จากการตัดค่า cut-off ดังกล่าว พบว่ามีอาสาสมัคร 2 ราย ในกลุ่มบุคลากรด่านหน้าที่มีระดับแอนติบอดีสูงขึ้นชัดเจนใกล้เคียงกับผู้ป่วยติดเชื้อ ตั้งแต่แรกเข้าโครงการ โดยพบว่ามีระดับสูงคงอยู่จนถึง 48 สัปดาห์ คิดเป็นความชุกการติดเชื้อจากการตรวจ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG ร้อยละ 0.83 (2/240) ในกลุ่มบุคลากรด่านหน้า และมีอาสาสมัคร 1 ราย ในกลุ่มที่ไม่ใช่บุคลากรด่านหน้าที่มีระดับแอนติบอดีสูงโดยตรวจพบที่ 12 สัปดาห์ คิดเป็นอุบัติการณ์การติดเชื้อร้อยละ 0.83 ในกลุ่มบุคลากรที่ไม่ใช่ด่านหน้า และ พบว่ามีอาสาสมัคร 13-21 รายในกลุ่มบุคลากรด่านหน้า และ 4-7 ราย ในกลุ่มที่ไม่ใช่ด่านหน้าที่มีระดับแอนติบอดีอยู่ในเกณฑ์ระหว่างกลาง (borderline) ระหว่าง cut-off ที่เป็นบวกและลบ โดยผลการตรวจเพิ่มเติมสำหรับตัวอย่างที่บวกและอยู่ในเกณฑ์ระหว่างกลางด้วยวิธี micro-neutralization assay ต่อเชื้อไวรัสที่แยกได้ในประเทศไทย พบว่ามีผลเป็นลบ (titer < 10) ทุกตัวอย่าง ดังนั้น ระดับ anti-SARS-CoV-2 RBD IgG ที่สูงจึงไม่น่าเป็นการติดเชื้อโควิด-19 แต่อาจเป็นแอนติบอดีต่อเชื้อโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคในคนชนิดอื่นที่พบมีการระบาดในประเทศไทย ซึ่งต้องการการศึกษาต่อไป บทสรุป ความชุกและอุบัติการณ์การติดเชื้อของบุคลากรต่ำมากทั้งที่ทำงานด่านหน้าหรือที่ไม่ใช่ด่านหน้า และไม่แตกต่างกันระหว่างสองกลุ่มในสถานการณ์ที่มีการระบาดไม่รุนแรงหรือกว้างขวาง ซึ่งน่าจะทำให้มั่นใจถึงประสิทธิภาพของมาตรการการป้องกันขณะดูแลผู้ป่วยโควิดด้วยการใส่ชุดป้องกันที่เหมาะสม การตรวจทางซีโรโลยีด้วยวิธีต่างกันอาจมีผลที่แตกต่างกันและเป็นได้ว่าอาจมีปฏิกิริยาข้ามกลุ่มกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่ก่อโรคในคนชนิดอื่น
บทคัดย่อ
Background: Healthcare workers (HCWs) pose a higher risk of infection caused by SARS-CoV-2, leading to more frequent swab and testing with real-time PCR. Serology test to detect SARS-CoV-2 antibodies in the blood is easier and could be useful as part of surveillance. This study aims to determine the prevalence and incidence of infection caused by SARS-CoV-2 by serology testing in frontline HCWs. Methods: This study was prospectively conducted in 360 HCWs (240 frontline and 120 non-frontline HCWs) at Siriraj Hospital between June 2020 and April 2021. Blood samples taken at baseline, 4 weeks, 12 weeks and 48 weeks were tested for qualitative IgG using Pan-IgG [Elecsys Anti-SARS-CoV-2]) and quantitative IgG measured by anti-SARS-CoV-2 RBD IgG enzymes-linked immunoassay (ELISA). The cut-off of negative and positive control were 0.64 and 1.60, respectively. The samples positive by anti-SARS-CoV-2 RBD IgG were tested with micro-neutralizing assay (NT). Results: Among 360 HCWs, 82.2% were female and the median age was 32.5 years. One participant in non-frontline HCWs had positive rapid IgG test from baseline throughout 48 weeks but negative testing by anti-SARS-CoV-2 RBD IgG. With the cut-off determined in the study, two participants in frontline HCWs had positive anti-SARS-CoV-2 RBD IgG from baseline throughout 48 weeks and no participants had seroconversion afterward, given the prevalence of SARS-CoV-2 infection among frontline HCWs of 0.83% (2/240). One participant in non-frontline HCWs had seroconversion at 12 weeks, given the incidence of SARS-CoV-2 infection among non-frontline HCWs of 0.83% (1/120). Approximately 13-17 participants in frontline and 4-7 participants in non-frontline HCWs had borderline level of anti-SARS-CoV-2 RBD IgG. Testing with micro-NT for all samples with positive and borderline anti-SARS-CoV-2 RBD IgG showed negative result with the titers less than 1:10. Further study of the cross-reactivity with other human coronavirus is ongoing. Conclusions: The prevalence and incidence of HCWs was extremely low and no difference of infection was found between the frontline and non-frontline HCWs during the limited spread of transmission and well-control of COVID-19 outbreak. Serology testing with different methods may show the discordant result. Further study of the cross-reactivity with other human coronavirus is ongoing