แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การจัดทำทิศทางและโจทย์วิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ

dc.contributor.authorศรีเพ็ญ ตันติเวสสth_TH
dc.contributor.authorSriphan Tantiwetth_TH
dc.contributor.authorสมหญิง พุ่มทองth_TH
dc.contributor.authorSomying Pumtongth_TH
dc.contributor.authorพักตร์วิภา สุวรรณพรหมth_TH
dc.contributor.authorPuckwipa Suwannapromth_TH
dc.contributor.authorศิริตรี สุทธจิตต์th_TH
dc.contributor.authorSiritree Suttajitth_TH
dc.contributor.authorอัญชลี จิตรักนทีth_TH
dc.contributor.authorAnchalee Jitraknateeth_TH
dc.date.accessioned2022-09-02T08:21:24Z
dc.date.available2022-09-02T08:21:24Z
dc.date.issued2565-06
dc.identifier.otherhs2876
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/5726
dc.description.abstractแผนงานวิจัยและพัฒนาระบบยา สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) ถูกจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2552 และให้การสนับสนุนทุนวิจัยรวมทั้งจัดการงานวิจัยอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสถานการณ์ในระบบยาของประเทศและปัจจัยแวดล้อม มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นต้องกำหนดทิศทางและโจทย์วิจัย รวมทั้งปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการงานวิจัยของแผนงานฯ ให้สอดคล้องกัน วัตถุประสงค์ 1) จัดทำข้อเสนอแนะทิศทางการวิจัยและโจทย์วิจัย เพื่อการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ 2) ทบทวนการดำเนินงานของแผนงานวิจัยและพัฒนาระบบยา สวรส. ในช่วง พ.ศ. 2552-2564 และ 3) จัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการจัดการงานวิจัยระบบยาของ สวรส. ในช่วง 5 ปีข้างหน้า การศึกษานี้ดำเนินการตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ถึง มิถุนายน พ.ศ. 2565 โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ การทบทวนและวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกและการอภิปรายกลุ่ม (focus group discussion) ผลการศึกษา 1. ทิศทางการวิจัยระบบยาของประเทศในช่วง 5 ปีข้างหน้า ควรให้ความสำคัญกับประเด็นวิจัยดังนี้ 1) การอภิบาลระบบยา 2) ‘ปฏิบัติการเกี่ยวกับยา’ กับ Transforming health service delivery 3) ความรอบรู้ด้านการใช้ยา (Medication literacy, RDU literacy) 4) บทบาทของภาคประชาสังคมในกระบวนการนโยบายด้านยา 5) ระบบยาในภาวะภัยพิบัติฉุกเฉินด้านสาธารณสุข และ 6) การพัฒนาอุตสาหกรรมยาของประเทศเพื่อการพึ่งพาตนเองด้านยา 2. การทบทวนการดำเนินงานของแผนงานวิจัยและพัฒนาระบบยา พบว่า แผนงานฯ มุ่งจัดการงานวิจัยในระดับแผนงานและองค์กร รวมทั้งขาดกลไกอย่างเป็นทางการในการรวบรวมข้อเสนอประเด็นวิจัยจากหน่วยงานต่างๆ และจัดลำดับความสำคัญ ประเด็นตามกรอบงานวิจัยที่กำหนดในแต่ละปี บางประเด็นไม่มีผู้ขอรับทุนวิจัย โครงการวิจัยที่ได้รับทุนส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับประเด็นการใช้ยาอย่างสมเหตุผลและการจัดการปัญหาเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพ นอกจากนี้ มีความพยายามด้วยกลวิธีต่างๆ เพื่อผลักดันการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่แล้วเสร็จ 3. แนวทางการจัดการงานวิจัยระบบยาในช่วง 5 ปีข้างหน้า สวรส. ควรมุ่งสู่การจัดการงานวิจัยระบบยาระดับประเทศ โดยดำเนินการดังนี้ 1) เสริมสร้างสมรรถนะของผู้จัดการงานวิจัยระบบยา 2) เรียนรู้จากประสบการณ์ของ สวรส. และหน่วยงานอื่นๆ 3) กำหนดนิยามและขอบเขตของ “การวิจัยระบบยา” ให้ชัดเจน, 4) วิเคราะห์ landscape ของการวิจัยระบบยา และ 5) พัฒนาขีดความสามารถด้านการวิจัยระบบยา สรุปผลการศึกษา ระบบวิจัยระบบยาของประเทศไทยมีความซับซ้อน ประกอบด้วยตัวแสดง (actors) จำนวนมากที่ควรมีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยและจัดการความรู้ จึงต้องการนโยบายที่ชัดเจนในระดับประเทศ รวมทั้งการปรับปรุงกลไกการอภิบาลระบบ เพื่อให้ได้งานวิจัยที่มีคุณภาพสอดคล้องกับนโยบายและใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.language.isothth_TH
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.rightsสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขth_TH
dc.subjectยาth_TH
dc.subjectDrugsth_TH
dc.subjectระบบยาth_TH
dc.subjectการใช้ยาth_TH
dc.subjectDrug Utilizationth_TH
dc.subjectการเข้าถึงยาth_TH
dc.subjectยาปฏิชีวนะth_TH
dc.subjectการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลth_TH
dc.subjectPharmacy Administrationth_TH
dc.subjectระบบสุขภาพth_TH
dc.subjectHealth Systemsth_TH
dc.subjectHealth Policyth_TH
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขth_TH
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขth_TH
dc.subjectPublic Health Administrationth_TH
dc.subjectระบบวิจัยสุขภาพ (Health Research System)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleการจัดทำทิศทางและโจทย์วิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติth_TH
dc.title.alternativeDetermination of Research Direction/Questions to Inform the Introduction of the National Drug System Development Strategyth_TH
dc.typeTechnical Reportth_TH
dc.description.abstractalternativeRationale: Founded in 2009, HSRI’s Drug System Research Program has been operated as research granter and manager. In response to continual changes in Thailand’s drug system and its environment, it is necessary to revise the research direction and also enhance the Program’s management capability. Objectives: 1) to propose research direction and questions those help strengthen the Thai drug system; 2) to conduct a review of HSRI’s Drug System Research Program since its establishment in 2009; and 3) to make recommendations to the HSRI concerning drug system research management over the next five years. Methods: This study was conducted during November 2021 to June 2022. Qualitative approaches, namely document analysis, in-depth interview, and focus group discussion were involved. Results: 1. Research direction for Thailand’s drug system: over the next five years, priority should be given to research in six areas: 1) Governance of the drug system, 2) ‘pharmaceutical management and care’ to catch up the transforming health service delivery, 3) Medication literacy, 4) Roles of civil society in drug policy development and implementation, 5) Drug system and disasters /public health emergency, and 6) Development of drug industry for the country’s self reliance. 2. Review of HSRI’s Drug System Research Program: The Program’s focus was on research management at the program and organization level, without formal mechanism to gather and prioritize research questions from policymakers and stakeholders. A framework for drug system research was set annually, but some elements were left without submission from researchers. Most of the research grants were given to address the issue of rational drug use and antimicrobial resistance. Additionally, different tactics were employed in order to encourage research utilization. 3. Recommendations for drug system research management: over the next five years, HSRI should pay attention to managing drug system research at country level. The following actions should be taken: 1) Enhancing the capability of research managers, 2) Learning from past experiences of HSRI and other organizations, 3) Setting a clear definition and scope of “drug system research”, 4) Analysing the landscape of the country’s drug system research, and 5) Building drug system research capacity. Conclusion: The landscape of drug system research in Thailand is complex, as different groups of actors have a role in evidence generation and utilization. This means that national research strategy and effective governance mechanism are required, in order to pursue not only policy-relevant research with high quality, but also efficient use of resources.th_TH
dc.identifier.callnoQV55 ศ232ก 2565
dc.identifier.contactno65-003
dc.subject.keywordDrug Systemsth_TH
dc.subject.keywordRational Drug Useth_TH
dc.subject.keywordการใช้ยาอย่างสมเหตุผลth_TH
.custom.citationศรีเพ็ญ ตันติเวสส, Sriphan Tantiwet, สมหญิง พุ่มทอง, Somying Pumtong, พักตร์วิภา สุวรรณพรหม, Puckwipa Suwannaprom, ศิริตรี สุทธจิตต์, Siritree Suttajit, อัญชลี จิตรักนที and Anchalee Jitraknatee. "การจัดทำทิศทางและโจทย์วิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบยาแห่งชาติ." 2565. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5726">http://hdl.handle.net/11228/5726</a>.
.custom.total_download61
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year14
.custom.downloaded_fiscal_year21

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs2876.pdf
ขนาด: 2.796Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย