ปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อ: นิยามและกรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต
dc.contributor.author | กมลพัฒน์ มากแจ้ง | th_TH |
dc.contributor.author | Kamolphat Markchang | th_TH |
dc.contributor.author | อรทัย วลีวงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Orratai Waleewong | th_TH |
dc.contributor.author | พเยาว์ ผ่อนสุข | th_TH |
dc.contributor.author | Payao Phonsuk | th_TH |
dc.contributor.author | เบญจภรณ์ นามเสนา | th_TH |
dc.contributor.author | Benchaporn Namsena | th_TH |
dc.contributor.author | สุภิกา เชื้อจิ๋ว | th_TH |
dc.contributor.author | Supika Chuejew | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-28T07:13:16Z | |
dc.date.available | 2023-12-28T07:13:16Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 621-646 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5988 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดขอบเขตเพื่อพัฒนากรอบแนวคิดในการติดตามปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อ โดยใช้วิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต (scoping review) การสัมภาษณ์และอภิปรายกลุ่มกับผู้เชี่ยวชาญและผู้เกี่ยวข้องกับกระบวนการนโยบายป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อของประเทศไทย จากการทบทวนวรรณกรรม ผู้วิจัยได้กำหนดนิยามของ “ปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อ (commercial determinants of NCDs) หมายถึง กลยุทธ์และการปฏิบัติที่ใช้โดยภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเพื่อผลประโยชน์ทางด้านการค้า การเพิ่มผลกำไร ตลอดจนการรักษาเสถียรภาพทางธุรกิจ ซึ่งส่งผลกระทบให้เกิดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อของประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อม” และพัฒนากรอบแนวคิดในการศึกษาปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อ ซึ่งประกอบด้วย 3 ด้านหลัก ได้แก่ (1) ด้านการผลิตสินค้า (production) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการควบคุมวัตถุดิบและกระบวนการผลิตสินค้าที่จะมีผลกระทบต่อสุขภาพ ประกอบด้วย 2 กลยุทธ์ และ 6 การปฏิบัติ (2) ด้านการตลาดและกระจายสินค้า (marketing and distribution) ซึ่งเกี่ยวข้องกับการขยายตลาดและการเพิ่มการบริโภคของประชาชน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์ และ 10 การปฏิบัติ และ (3) ด้านการแทรกแซงนโยบาย (policy interference) ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมที่ภาคธุรกิจพยายามมีอิทธิพลต่อกระบวนการกำหนดนโยบายของรัฐต่างๆ ที่ส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อม ประกอบด้วย 5 กลยุทธ์ และ 16 การปฏิบัติ การศึกษานี้มีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐ ภาควิชาการ และภาคประชาชนร่วมกันจัดตั้งระบบและเครือข่ายติดตามเฝ้าระวังปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อของประเทศไทยและควรสื่อสารสร้างความตระหนักให้แก่สังคมและผู้กำหนดนโยบายในทุกระดับ โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องสงสัยว่าเป็นการแทรกแซงนโยบายของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โรคไม่ติดต่อ | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ | th_TH |
dc.subject | Non-Communicable Diseases | th_TH |
dc.subject | Definition | th_TH |
dc.title | ปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อ: นิยามและกรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต | th_TH |
dc.title.alternative | Definition and Conceptual Framework of Commercial Determinants of Non-Communicable Diseases: A Scoping Review | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to define the scope and to develop a conceptual framework for monitoring commercial determinant of non-communicable diseases (CDoNCDs). A qualitative study was performed by applying a scoping review, interviews, and focus group discussions among Thai experts and relevant stakeholders on NCDs prevention policy. From the literature review, the definition of CDoNCDs referred to “strategies and practices used by corporations or industries related to NCDs to promote their products and choices, increase sales and profits, and generate business stability which had both direct and indirect effects on population’s health.” This CDoNCDs framework involved three components. (1) the production involving raw materials or ingredients and production process that might have effects on health (comprised 2 strategies and 6 practices). (2) the marketing and distribution including market expansion and marketing practices that aimed to promote sales and consumption among consumers (4 strategies and 10 practices). And (3) the policy interference both directly and indirectly intercepting government policy interventions (5 strategies and 16 practices). This study provided policy recommendations that relevant government agencies, civil society, and academic should consider establishing system and network to monitor the CDoNCDs, and regularly communicating to raise awareness on CDoNCDs in the society and among policy makers at all levels, especially the policy interference by industry. | th_TH |
dc.subject.keyword | NCDs | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง | th_TH |
dc.subject.keyword | ปัจจัยทางการค้ากำหนดสุขภาพ | th_TH |
dc.subject.keyword | นิยาม | th_TH |
dc.subject.keyword | กรอบแนวคิด | th_TH |
dc.subject.keyword | Commercial Determinant of Health | th_TH |
dc.subject.keyword | Conceptual Framework | th_TH |
.custom.citation | กมลพัฒน์ มากแจ้ง, Kamolphat Markchang, อรทัย วลีวงศ์, Orratai Waleewong, พเยาว์ ผ่อนสุข, Payao Phonsuk, เบญจภรณ์ นามเสนา, Benchaporn Namsena, สุภิกา เชื้อจิ๋ว and Supika Chuejew. "ปัจจัยทางการค้ากำหนดโรคไม่ติดต่อ: นิยามและกรอบแนวคิดจากการทบทวนวรรณกรรมแบบกำหนดขอบเขต." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5988">http://hdl.handle.net/11228/5988</a>. | |
.custom.total_download | 523 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 514 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 37 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
Articles [1352]
บทความวิชาการ