dc.contributor.author | ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย | th_TH |
dc.contributor.author | Theepakorn Jithitikulchai | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-28T07:17:16Z | |
dc.date.available | 2023-12-28T07:17:16Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 684-698 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5989 | |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินความแตกต่างของต้นทุนการรักษาพยาบาลด้วยสิทธิการรักษาพยาบาลของแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพของรัฐ ได้แก่ โครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือบัตรทอง (universal coverage scheme, UCS) ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ (civil servant medical benefit scheme, CSMBS) และระบบประกันสังคม (social security scheme, SSS) โดยใช้ข้อมูลการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอก 252 ล้านครั้ง และผู้ป่วยใน 12 ล้านครั้ง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ของสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สป.สธ.) การประเมินต้นทุนบริการของการรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน มีการควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่น กลุ่มวินิจฉัยโรคหลัก (principal diagnosis) 140 กลุ่ม อายุและเพศของผู้ป่วย เวลาให้บริการ จำนวนวันนอน (เฉพาะกรณีผู้ป่วยใน) เขตสุขภาพ และสถานพยาบาล ด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น (linear regression analysis) คำนวณต้นทุนบริการต่อครั้ง การรักษาพยาบาลจำแนกตามระดับสถานบริการ 5 ระดับ ได้แก่ ปฐมภูมิ ทุติยภูมิระดับต้น ทุติยภูมิระดับกลาง ทุติยภูมิระดับสูง และตติยภูมิ ผลการศึกษาพบว่า การรักษาพยาบาลผู้ป่วยนอกโดยใช้สิทธิ CSMBS มีต้นทุนบริการสูงกว่าการรักษาพยาบาลด้วยสิทธิ UCS ร้อยละ 16-30 และสูงกว่าสิทธิ SSS ร้อยละ 25-30 ในสถานพยาบาลระดับตติยภูมิและทุติยภูมิ ในขณะที่ต้นทุนบริการผู้ป่วยนอกที่สถานพยาบาลระดับปฐมภูมิมีความใกล้เคียงกันสำหรับแต่ละระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งนี้ การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในมีระบบกำหนดเพดานเบิกจ่ายตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (diagnosis related group, DRG) จึงน่าจะมีความสัมพันธ์กับการที่ต้นทุนบริการเฉลี่ยของสิทธิการรักษาพยาบาลแต่ละระบบค่อนข้างมีความใกล้เคียงกันมากกว่าต้นทุนบริการรักษาผู้ป่วยนอก อย่างไรก็ตาม การรักษาพยาบาลผู้ป่วยในมีต้นทุนบริการแตกต่างกันถึงร้อยละ 25 ในสถานพยาบาลระดับทุติยภูมิระดับสูงและระดับตติยภูมิ ดังนั้น ข้อค้นพบของงานวิจัยนี้จึงเน้นย้ำความสำคัญของเป้าหมายการบูรณาการ 3 ระบบหลักประกันสุขภาพ ตามมาตรา 9 และ 10 ที่กำหนดใน พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ต้นทุนบริการ | th_TH |
dc.subject | หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.subject | Universal Coverage Scheme | th_TH |
dc.subject | ประกันสังคม | th_TH |
dc.subject | สวัสดิการข้าราชการ | th_TH |
dc.title | ความแตกต่างของต้นทุนการรักษาพยาบาลระหว่าง 3 ระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข | th_TH |
dc.title.alternative | Cost Variations in Outpatient and Inpatient Services among Three Health Insurance Schemes in Thai Public Hospitals | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study presents findings on cost variations using clinical-case level microdata from public hospitals under the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health. The objective was to evaluate differences in costs of health utilizations of 3 universal health coverage schemes, including universal coverage scheme (UCS), civil servant medical benefit scheme (CSMBS), and social security scheme (SSS). The microdata covered 252 million outpatient visits and 12 million inpatient admissions in the budget year 2019 (B.E. 2562). The average costs of outpatient and inpatient utilizations were econometrically controlled for 140 disease categories using principal diagnosis codes (ICD-10), as well as factors such as age, gender, service time, hospital stay, and health region. The linear regression analysis computed the average costs independently for different healthcare facilities, encompassing primary, first-level secondary, second-level secondary, third-level secondary, and tertiary care levels. Results show that the average outpatient costs for CSMBS beneficiaries were higher than those of UCS by around 16-30 percent and those of SSS by around 25-30 percent in the secondary and tertiary hospitals. However, the outpatient costs at the primary care hospitals were similar across different health insurance schemes. Inpatient reimbursements based on the diagnosis-related groups (DRG) might confound in similarity of inpatient costs compared to outpatient costs. Nevertheless, the differences on average inpatient costs were around 25 percent in the third-level secondary and tertiary hospitals. Therefore, the research findings emphasize the importance of the integration goal of the three schemes of UHC in compliance with the Sections 9 and 10 of the National Public Health Security Act B.E. 2545 (A.D. 2002). | th_TH |
dc.subject.keyword | Healthcare Cost | th_TH |
dc.subject.keyword | ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า | th_TH |
dc.subject.keyword | ระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ | th_TH |
dc.subject.keyword | Civil Servant Medical Benefit Scheme | th_TH |
dc.subject.keyword | ระบบประกันสังคม | th_TH |
dc.subject.keyword | Social Security Scheme | th_TH |
.custom.citation | ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย and Theepakorn Jithitikulchai. "ความแตกต่างของต้นทุนการรักษาพยาบาลระหว่าง 3 ระบบหลักประกันสุขภาพสำหรับบริการผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของสถานพยาบาลสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5989">http://hdl.handle.net/11228/5989</a>. | |
.custom.total_download | 920 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 912 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 132 | |