dc.contributor.author | ชุมแพ สมบูรณ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chumphae Somboon | th_TH |
dc.contributor.author | มธุรส ทิพยมงคลกุล | th_TH |
dc.contributor.author | Mathuros Tipayamongkholgul | th_TH |
dc.contributor.author | กนิษฐา บุญธรรมเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Kanitta Bundhamcharoen | th_TH |
dc.contributor.author | ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์ | th_TH |
dc.contributor.author | Chanida Lertpitakpong | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-12-28T07:23:56Z | |
dc.date.available | 2023-12-28T07:23:56Z | |
dc.date.issued | 2566-12 | |
dc.identifier.citation | วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 17,4 (ต.ค. - ธ.ค. 2566) : 779-790 | th_TH |
dc.identifier.issn | 2672-9415 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/5992 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ของโควิด-19 ตามระดับความรุนแรงของโรคและโรคประจำตัว ในมุมมองของผู้ให้บริการ (provider perspective) วิเคราะห์ต้นทุนด้วยวิธีจากล่างขึ้นบน (bottom-up approach) ใช้รูปแบบการศึกษาย้อนหลังเชิงพรรณนา (retrospective descriptive study) ด้วยวิธีตามอุบัติการณ์ (incidence-based approach) ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2564 ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 1,667 ราย จำนวนวันนอนรวม 23,839 วัน จำนวนวันนอนเฉลี่ย 14.2 วัน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน) ค่ามัธยฐาน (ค่าพิสัยควอไทล์) ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ผลการศึกษา พบ ต้นทุนรวม 608,979,250 บาท ต้นทุนต่อครั้งการนอนโรงพยาบาล (cost per admission) 362,746 บาท ต้นทุนค่าแรงของบุคลากรที่ดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง สูงสุด 126,864 บาทต่อครั้ง โดยต้นทุนทางตรงทางการแพทย์โควิด-19 จะแปรผันตามระดับความรุนแรงของโควิด-19 ในขณะที่ต้นทุนในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการวิกฤตและเสียชีวิตสูงสุด 387,914 บาทต่อครั้ง และในกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวตั้งแต่ 3 โรคขึ้นไป จะมีต้นทุนทางตรงทางการแพทย์สูงสุด 220,463 บาทต่อครั้ง การศึกษาต้นทุนทางตรงทางการแพทย์ของโควิด-19 สะท้อนภาระค่าใช้จ่ายที่ภาครัฐต้องแบกรับในกลุ่มผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีระดับอาการวิกฤตและเสียชีวิต รวมไปถึงกลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นหากภาครัฐดำเนินการป้องกันควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมไปถึงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันโรค ครอบคลุมในประชากรกลุ่มเสี่ยง เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการรักษา และลดระดับความรุนแรงของโรค จะสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายทางตรงทางการแพทย์จากโควิด-19 ได้ | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | COVID-19 | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | Cost of Illness | th_TH |
dc.subject | Severity | th_TH |
dc.subject | Severity of Illness | th_TH |
dc.title | การประมาณต้นทุนการเจ็บป่วยโรคโควิด-19 สถาบันบำราศนราดูร ประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Estimating Cost of Illness of COVID-19 in Bamrasnaradura Infectious Diseases Institute, Thailand | th_TH |
dc.type | Article | th_TH |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to estimate direct medical cost associated with COVID-19 and compare between COVID-19 severity and pre-existing condition, based on provider perspective. The study was conducted based on a retrospective descriptive study design, incidence-based approached, from 1 January 2020 to 31 December 2021 among 1,667 COVID-19 patients. The direct medical cost was collated using a bottom-up approach. The total hospitalization stays were 23,839 days with average 14.2 days per case. Data were analyzed by descriptive statistics, i.e. number, percentage, mean (standard deviation), median (interquartile range), the minimum and the maximum value. The findings revealed a total direct cost of 608,979,250 baht, the cost per admission was 362,746 baht. The direct labor cost of health personnel caring for patients with COVID-19 was 126,864 baht per admission, 68.5% of total labor cost. The direct medical cost for COVID-19 varied between the severity of COVID-19, and the highest cost was among critically ill and deceased patients was 387,914 baht per admission. The highest direct medical cost among patients with 3 pre-existing conditions and more was 220,463 baht per admission. The study on the direct medical cost for COVID-19 reflected a burden of expenses that the government needed to bear among critically ill and deceased patients caused by COVID-19, as well as patients with pre-existing conditions. The effective preventive measures, i.e. strengthening immunity among high-risk groups of people, can reduce the number of patients undergoing treatments and reduce number of severe patients, the burden of direct medical cost for COVID-19 shall be minimized accordingly. | th_TH |
dc.subject.keyword | ต้นทุนการเจ็บป่วย | th_TH |
dc.subject.keyword | ระดับความรุนแรง | th_TH |
dc.subject.keyword | โรคประจำตัว | th_TH |
dc.subject.keyword | Pre-Existing Condition | th_TH |
.custom.citation | ชุมแพ สมบูรณ์, Chumphae Somboon, มธุรส ทิพยมงคลกุล, Mathuros Tipayamongkholgul, กนิษฐา บุญธรรมเจริญ, Kanitta Bundhamcharoen, ชนิดา เลิศพิทักษ์พงศ์ and Chanida Lertpitakpong. "การประมาณต้นทุนการเจ็บป่วยโรคโควิด-19 สถาบันบำราศนราดูร ประเทศไทย." 2566. <a href="http://hdl.handle.net/11228/5992">http://hdl.handle.net/11228/5992</a>. | |
.custom.total_download | 263 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 1 | |
.custom.downloaded_this_year | 254 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 19 | |