dc.contributor.author | นวลวรรณ ทวยเจริญ | th_TH |
dc.contributor.author | Nuanwan Tuaycharoen | th_TH |
dc.contributor.author | วนารัตน์ กรอิสรานุกูล | th_TH |
dc.contributor.author | Wanarat Kornisranukul | th_TH |
dc.contributor.author | พรพัชร ศิริอินทราทร | th_TH |
dc.contributor.author | Pornpatchara Siriintratorn | th_TH |
dc.date.accessioned | 2024-04-05T02:32:51Z | |
dc.date.available | 2024-04-05T02:32:51Z | |
dc.date.issued | 2567-03 | |
dc.identifier.other | hs3082 | |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/6047 | |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์หลัก คือ เพื่อที่จะพัฒนาสภาพแวดล้อมศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษที่เหมาะสม สำหรับการพัฒนาและการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและโควิด-19 ในประเทศไทย โดยเน้นศึกษาเฉพาะเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเฉพาะกลุ่มเด็กดาวน์ซินโดรมและเด็กออทิสติก โดยการศึกษาประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1) การศึกษาพฤติกรรมการใช้อาคาร อุปสรรคและข้อจำกัดทางกายภาพเดิมของศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษที่ส่งผลต่อพัฒนาการและความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและโควิด-19 2) การศึกษาพัฒนารูปแบบของอาคารศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษที่เหมาะสมต่อพัฒนาการและความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและโควิด-19 และ 3) การศึกษาพัฒนาการและการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและโควิด-19 ของเด็กพิเศษหลังการเข้าใช้พื้นที่ที่ได้ปรับปรุงของศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษ การศึกษาได้ทำการศึกษาทั้งในเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ ทั้งการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ปกครองและสังเกตเด็กพิเศษ โดยได้ลงพื้นที่เก็บข้อมูลทั้งการศึกษา 3 ส่วนหลัก ทั้งในส่วนศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษ (อายุ 0-6 ปี) และโรงเรียนเด็กพิเศษ (อายุ 7-17 ปี) รวมจำนวน 14 แห่ง ผลการศึกษาหลังการเข้าใช้พื้นที่ที่ได้ปรับปรุง พบว่า ทั้งกลุ่มเด็กดาวน์ซินโดรม (อายุ 0-6 ปี และอายุ 7-17 ปี) และกลุ่มเด็กออทิสติก (อายุ 0-6 ปี และอายุ 7-17 ปี) มีพัฒนาการที่ดีขึ้นและมีการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจและโควิด-19 ที่เหมาะสมมากขึ้น ผลการศึกษาครั้งนี้ได้เสนอแนวทางการออกแบบศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษที่เหมาะสมสำหรับพัฒนาการและการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และโควิด-19 | th_TH |
dc.description.sponsorship | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.language.iso | th | th_TH |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | th_TH |
dc.subject | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก | th_TH |
dc.subject | พัฒนาการเด็ก | th_TH |
dc.subject | สภาพแวดล้อม | th_TH |
dc.subject | Autism | th_TH |
dc.subject | Autism in Children | th_TH |
dc.subject | เด็กสมาธิสั้น | th_TH |
dc.subject | ออทิสซึมในเด็ก | th_TH |
dc.subject | Down Syndrome | th_TH |
dc.subject | COVID-19 (Disease) | th_TH |
dc.subject | โควิด-19 (โรค) | th_TH |
dc.subject | Coronaviruses | th_TH |
dc.subject | ไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | Coronavirus Infections | th_TH |
dc.subject | การติดเชื้อไวรัสโคโรนา | th_TH |
dc.subject | ปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH) | th_TH |
dc.title | การพัฒนาสภาพแวดล้อมศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการ: เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และเด็กออทิสติก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และโควิด-19 | th_TH |
dc.title.alternative | The Development of Environment of Special Child Center and School for Special Children Appropriate for Supporting Learning Development: Children with Intellectual Disability and Autism for Reducing Risk in Epidemic of Respiratory Infections and COVID-19 | th_TH |
dc.type | Technical Report | th_TH |
dc.description.abstractalternative | The main objective of this study was to develop environment suitable for special children development center and special children school for development and protection respiratory tract infection and COVID-19. The study was focused on down syndrome and autistic children only. There were three main studies. The first study was aimed to investigate exiting behavior obstacle and limitation affecting the use of special children in term of development and protection respiratory tract infection and COVID-19. The second study was to develop characteristics of environment appropriate for special children in term of development and protection respiratory tract infection and COVID-19. The last study was to evaluate the use of environment obtained from the results of the previous part compared to existing condition. The study was consisted of both qualitative and quantitative methods, interviewing experts, parents and observing special children. In total in three main studies, fourteen case studies (special children development center and special children school) were explored. The results from the last part suggested that both down syndrome (0-6 years and 7-17 years) and autistic children (0-6 years and 7-17 years) had better development and had better protection respiratory tract infection and COVID-19. | th_TH |
dc.identifier.callno | WS105.5 น341ก 2567 | |
dc.identifier.contactno | 64-207 | |
dc.subject.keyword | ดาวน์ซินโดรม | th_TH |
dc.subject.keyword | ศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษ | th_TH |
dc.subject.keyword | โรงเรียนเด็กพิเศษ | th_TH |
.custom.citation | นวลวรรณ ทวยเจริญ, Nuanwan Tuaycharoen, วนารัตน์ กรอิสรานุกูล, Wanarat Kornisranukul, พรพัชร ศิริอินทราทร and Pornpatchara Siriintratorn. "การพัฒนาสภาพแวดล้อมศูนย์พัฒนาเด็กพิเศษและโรงเรียนเด็กพิเศษที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาการ: เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา และเด็กออทิสติก เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาดโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ และโควิด-19." 2567. <a href="http://hdl.handle.net/11228/6047">http://hdl.handle.net/11228/6047</a>. | |
.custom.total_download | 21 | |
.custom.downloaded_today | 0 | |
.custom.downloaded_this_month | 0 | |
.custom.downloaded_this_year | 21 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 3 | |