แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง กระบวนการในการจัดทำผังเมืองรวมและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร

dc.contributor.authorพัชราพร จำปาเรืองth_TH
dc.contributor.authorPatcharaporn Jamparuangen_US
dc.contributor.authorบริษัทเคทีจีวาย อินเตอร์ แอสโซซิเอทส์th_TH
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:13Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:40:11Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:13Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:40:11Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1289en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1248en_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการสังเคราะห์องคความรู้ในเรื่องกระบวนการจัดทำผังเมืองรวมกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนและกระบวนการของการจัดทำผังเมืองรวม โดยได้เลือกกรณีศึกษาผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นเมืองศูนย์กลางการปกครองระดับประเทศ และเป็นเมืองหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่นเพียงแห่งเดียวในประเทศไทยที่จะต้องเป็นผู้วางผังเมืองรวมเอง เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำผังเมืองรวม อันจะนําไปสู่การศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและข้อจำกัดของกระบวนการนโยบายในการจัดทำผังเมืองรวมและภาพรวมของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำผังเมืองรวมตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย ตลอดจนการศึกษาเพื่อทราบถึงโอกาสและช่องทางที่จะเอื้ออํานวยให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำผังเมืองในทุกขั้นตอน และทราบข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการจัดทำผังเมืองที่ประชาชนพึงพอใจ จากการศึกษาพบว่า กระบวนการวางแผนและผังเมืองของไทยได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอยู่หลายขั้นตอน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนักวางแผนและผังเมืองของไทยด้วยว่าจะสามารถใช้ช่องทางที่ให้โดยกฎหมายดําเนินการใช้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมกับการวางแผนและผังเมืองได้อย่างไรจึงจะสัมฤทธิ์ผล ไม่ทําให้เป็นการเสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ ซึ่งตามขั้นตอนในการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร (ปรับปรุงครั้งที่ 2) ตามพระราชบัญญัติการผังเมือง พ.ศ. 2518 ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำผังเมืองรวมอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1) ขั้นตอนการสํารวจเพื่อการวางและจัดทำผังเมืองรวม 2) ขั้นตอนการวางและจัดทําผังเมืองรวม 3) ขั้นตอนการบังคับใช้ผังเมืองรวม และนอกจากนี้ตัวอย่างในการจัดทําผังเพื่อพัฒนาชุมชนเฉพาะแห่งดังที่ได้ยกมาเพื่อเป็นตัวอย่างในการศึกษานั้น ยังเป็นตัวอย่างที่ดีของกระบวนการการจัดทำผังเพื่อพัฒนาชุมชนและการจัดทำผังเมืองรวมที่เปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง เพราะหากมีการเปิดโอกาสให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริงแล้วประชาชนก็สามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้ในเกือบจะทุกขั้นตอนก็ว่าได้ สรุปผลการศึกษา ปัญหาและข้อจํากัดที่แท้จริงในกระบวนการและขั้นตอนของการวางและจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครไม่ได้เกิดจากการขาดหรือถูกจำกัดสิทธิในการมีส่วนร่วมของประชาชนตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และตามกฎหมายผังเมือง แต่ปัญหาและข้อจำกัดนั้นเกิดจากการที่ประชาชนยังขาดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของผังเมืองรวม และการไม่มีการให้ความร่วมมือกันอย่างแท้จริงของประชาชนกับเจ้าหน้าที่ของรัฐ และเจ้าหน้าที่ก็ยังขาดการประชาสัมพันธ์และขาดประสิทธิภาพในการโน้มน้าวให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมของทางราชการ ส่วนความไม่สัมฤทธิ์ผลของผังเมืองรวมนั้นเป็นผลมาจากปัจจัยอื่นในขั้นตอนของการลงมือปฏิบัติตามแผนและผังให้เกิดขึ้นจริงตามที่วางเอาไว้ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวนั้นอยู่นอกเหนือกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Public Policy and Health Impact Assessmenten_US
dc.subjectCity Planningen_US
dc.subjectBangkoken_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectผังเมือง--กรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectผังเมือง--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับen_US
dc.subjectกรุงเทพมหานครen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง กระบวนการในการจัดทำผังเมืองรวมและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครth_TH
dc.title.alternativeThe Synthesis of Study of process in creating a combined city plan and public participation: Case study on the combined Bangkok city planen_US
dc.description.abstractalternativeThis research is aimed at synthesizing the knowledge to create the process of combined city plan and public participation in stage. Bangkok combined city plan is chosen as a case study because of its location at center of the country administration and the only local administrative unit in Thailand. It is to be highlighted of the stages of people’s participation in making the combined city plan. It will lead to the problem analysis and the limitations of policy process in making the city plan .The people’s participation in making the city plan is reflected in the Thai constitution law also so this an excellent opportunities and ways to allow people to join in the process of city planning in every stage. The people opinions and suggestions in making the city plan can be value addition and can enhance the ultimate outcome. The research result indicates that the process of creating the city plan in Thailand allowed people to participate in many stages. This whole process will depend on Thai city planners whether they can let people successfully participate in the process. As per the available data, reflect that people were allowed to participate in making the city plan .The stages of Bangkok City Plan (2nd edition) in the City Plan Act (1975 ) justify the above given statement. The whole process been divided in 3 main stages. The 1st stage of survey in order to plan and design the combined city plan, The 2nd stage of creating the combined city plan; And the last stage deals with enforcement and implementation of the combined city plan. The sample plan to develop specific community, which was quoted in the study, was a good example of the process to create the city plan for community development. The city planning which truly allow people to play a key role at every stage can enhance the ultimate result. Actually the city is going to plan for people, so they should be the architects for their city. In the conclusion the main challenge and limitations of process and stages in creating the combined Bangkok city is people’s knowledge and understanding for it. The lack of true and healthy corporation of government officials is also a big obstacle to achieve a healthy city plan. The limitation of rights to participate under the constitution law is not a constrained in city planning. The officials do not promote enough to people’s participation in the government activities. Regarding the failure of the combined city plan, it was caused by other factors in the stage of implementing the plan. However, the factor was beyond the process of people’s participation.en_US
dc.identifier.callnoHT169.T5B3 พ517ก 2549en_US
dc.identifier.contactno48ค020en_US
dc.subject.keywordCity Planen_US
dc.subject.keywordBangkok City Planen_US
dc.subject.keywordผังเมืองen_US
dc.subject.keywordผังเมืองรวมกรุงเทพมหานครen_US
.custom.citationพัชราพร จำปาเรือง, Patcharaporn Jamparuang and บริษัทเคทีจีวาย อินเตอร์ แอสโซซิเอทส์. "การศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้เรื่อง กระบวนการในการจัดทำผังเมืองรวมและการมีส่วนร่วมของประชาชน: กรณีศึกษาการจัดทำผังเมืองรวมกรุงเทพมหานคร." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1248">http://hdl.handle.net/11228/1248</a>.
.custom.total_download33
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1289.pdf
ขนาด: 6.578Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย