แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ชุมชนกับการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร

dc.contributor.authorวิเชียร อันประเสริฐth_TH
dc.contributor.authorWichean Unpraserten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:15Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:38:05Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:15Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:38:05Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1122en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1251en_US
dc.description.abstractการศึกษาเรื่องชุมชนกับการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรครั้งนี้ เป็นงานศึกษาโดยใช้วิธีการสืบคืนข้อมูลจากการพูดคุยกับชาวบ้านในฐานะที่เป็นเกษตรกรที่ทำการผลิตในระดับชุมชน โดยเน้นไปที่เกษตรกรในฐานะผู้ใช้สารเคมี การศึกษาครั้งนี้เป็นการนำเสนอผ่านมุมมองของผู้ใช้สารเคมีในระบบการผลิตที่ปรากฏขึ้นในชุมชน โดยศึกษาระบบการผลิตใน 3 ลักษณะ ได้แก่ 1. ระบบการผลิตบนพื้นที่สูงของชุมชน ชาวม้งบ้านขุนกลาง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ที่อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 2. ระบบการผลิตพืชพาณิชย์เข้มข้นบนพื้นที่ราบ ของชุมชนบ้านปง ตำบลบ้านกาด อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และ 3. ระบบการผลิตแบบสวนผลไม้ของบ้านห้วยเม็ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ข้อค้นพบจากการศึกษามีดังนี้ 1. สถานการณ์การใช้สารเคมีในภาคการเกษตรระดับชุมชน พบว่า การใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของชุมชนหมู่บ้านอาจกล่าวได้ว่าอยู่ในขั้นวิกฤติ เนื่องจากการใช้สารเคมีอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมหรือกำกับดูแลได้ นอกจากนี้ พบว่านับตั้งแต่ชาวบ้านทำการผลิตเพื่อเน้นการค้า ประเภทของสารเคมีที่ชาวบ้านนำมาใช้มีความหลากหลายมากขึ้น และเพิ่มปริมาณการใช้สูงมากขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากถูกกลไกทางตลาดบีบบังคับให้ใช้สารเคมีที่ถูกกำหนดมาตั้งแต่เบื้องต้น 2. เงื่อนไขที่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบการผลิตแบบต่างๆ พบว่า การเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตของชาวบ้าน มีเงื่อนไขอยู่อย่างน้อย 2 ปัจจัย คือ 1. การเข้าสู่การผลิต เชิงพาณิชย์แบบเข้มข้น ซึ่งถูกกำกับด้วยมาตรฐานผลผลิต ที่นำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงวิธีคิดและวิถีชีวิตตลอดจนระบบการผลิตของชาวบ้านอย่างถึงรากถึงโคน และ 2. นโยบายทางการเมือง เช่น นโยบายการปราบปรามฝิ่นบนที่สูงดอยอินทนนท์ และการประกาศเขตป่าอนุรักษ์ ที่ส่งผลต่อการจำกัดพื้นที่ทำกินและต้องใช้สารเคมีในการผลิต 3. ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรและการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น พบว่าชาวบ้านที่ใช้สารเคมีเห็นผลกระทบและรับรู้อันตรายของสารเคมีจากประสบการณ์ตรง แต่พวกเขาปรับตัวกับการเผชิญหน้ากับสถานการณ์เหล่านี้ในทิศทางเดียวกัน กล่าวคือ ใช้สารเคมีเพี่อให้ได้ผลผลิตตาม “มาตรฐาน” ที่กำหนด อย่างไรก็ตาม ทุกพื้นที่มีทางเลือกที่นอกเหนือไปจากการใช้สารเคมี แต่เป็นเพียงการริเริ่มเท่านั้นที่ไม่ได้รับความใส่ใจ ขณะที่การส่งเสริมของภาครัฐไม่มีความต่อเนื่อง เนื่องจากงานศึกษาครั้งนี้มุ่งเน้นมุมมองจากชาวบ้านผู้ใช้สารเคมีในระดับชุมชนหมู่บ้าน จึงนำเสนอข้อเสนอแนะในระดับชุมชน ภายใต้สถานการณ์ที่การควบคุมการใช้สารเคมีในระดับชุมชนเกิดขึ้นโดยปราศจากการควบคุมอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1. ในระดับฐานข้อมูล ควรจะมีการศึกษาสถานการณ์การใช้สารเคมีระดับหมู่บ้าน (Community Agro-Chemical data Base) ทั่วทั้งประเทศ เพื่อเป็นฐานข้อมูลและความรู้ของชุมชนในกรณีที่เกิดความเจ็บป่วยหรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งการศึกษาดังกล่าวควรมีชาวบ้าน หรือเกษตรกรได้เข้าร่วมในการศึกษานับตั้งแต่การวางแผนการศึกษาไปจนถึงการตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากชุมชนด้วย 2. ในระดับการจัดการและดูแลการใช้สารเคมี ควรส่งเสริมให้ชาวบ้านจัดการและดูแลการใช้สารเคมีในรูปแบบที่ชุมชนเข้ามาร่วมกันในการกำหนดและควบคุมการใช้ โดยคำนึงถึงว่า แต่ละชุมชนต่างมีระบบการผลิตและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน 3. ในระดับการสร้างทางเลือกในการผลิต ควรได้มีการวางแผนทั้งในระดับแนวคิดและการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ไม่ใช่เพียงแค่การแนะนำ หรือการอบรมแต่เพียงเท่านั้น ทางเลือกควรมีหลากหลายเพื่อนำไปสู่การลด ละ เลิก การใช้สารเคมี ซึ่งเป็นหนทางที่เกษตรกรจำนวนมากต้องการth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1060801 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectCommunityen_US
dc.subjectPesticidesen_US
dc.subjectHealth Impact Asessmenten_US
dc.subjectChiang Maien_US
dc.subjectChiang Raien_US
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางสุขาภพen_US
dc.subjectสารเคมีกำจัดศัตรูพืชen_US
dc.subjectยากำจัดศัตรูพืชen_US
dc.subjectเชียงใหม่en_US
dc.subjectเชียงรายen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleชุมชนกับการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรth_TH
dc.title.alternativeCommunity and Agro-Chemical useen_US
dc.description.abstractalternativeThis study of communities and the use of agricultural chemicals was conducted by gathering information through conversations with farmers engaged in production at the community level, with a particular focus on farmers who use agro-chemicals. This study presents the perspective of farmers using chemicals in community-level production systems. Three types of production systems of three characteristics were studied: 1) the highland production system of the Hmong community of Khun Klong Village, Chomthong District, Chiang Mai Province, within Doi Inthanon National Park, 2) the intensive lowland commercial agricultural system of Ban Pong, Ban Kaad Sub-district, Mae Wang District, Chiang Mai Province, and 3) the fruit orchard production system of Huay Meng Village, Chiang Khong District, Chiang Rai Province.The study resulted in the following findings:The use of agricultural chemicals at the community level has reached a point of crisis. Chemicals are used under conditions of a total lack of control and oversight. In addition, because villagers primarily emphasize commercial production, the types of chemicals used by villagers are increasingly diverse and are being used in ever-greater quantities. This is due to market mechanisms that demand the use of designated chemicals from the first stages of production onwards.Two main factors have given rise to these changes in production, namely 1) entry into intensive commercial production systems directed by product standardization. This leads to changes in villagers’ fundamental perceptions and life styles, including their production systems. 2) Political policies such as opium eradication on Doi Inthanon and the establishment of conservation forests that result in limitations on available land and necessitate the use of chemicals.In examining the effects of agricultural chemical use and the local response to the resulting changes, it was found that villagers are understand the impacts of chemical use from direct experience, and are well aware of the dangers that chemicals pose. The farmers surveyed have responded to these changes in a similar pattern, however, continuing to use chemicals to attain designated production “standards.” Although alternatives to the use of chemicals exist in each area, these alternatives remain in their infancy and have lacked serious consideration. Government support for non-chemical alternatives has lacked continuity. Because this study focuses on the perspectives of farmers engaged in the use of chemicals at the village level, the following recommendations target the local level, where chemical use occurs without real control. A study of village-level chemical use should be used to create a Community Agro-Chemical Database covering all of Thailand. The database would be available to communities in the case of chemical-related illness or environmental impacts. The study should include the participation of farmers throughout, from the early planning stages to the testing of data collected from communities. Villagers should be given the support necessary to control and oversee the use of chemicals through a participatory forum, in consideration of the fact that each community has a different culture and production system.In creating production alternatives, planning should thoroughly cover both theory and practice in a tangible sense, rather than merely providing recommendations or trainings. A wide variety of choices should be available for the reduction and disuse of agro-chemicals, which is the desire of the majority of the farmers.en_US
dc.identifier.callnoWA754.JT3 ว562ช 2547en_US
dc.identifier.contactno46ข116en_US
dc.subject.keywordการใช้สารเคมีในภาคเกษตรระดับชุมชนen_US
dc.subject.keywordการใช้สารเคมีในระบบการผลิตen_US
dc.subject.keywordระบบการผลิตบนพื้นที่สูงen_US
dc.subject.keywordระบบการผลิตพืชเชิงพาณิชย์en_US
dc.subject.keywordระบบการผลิตแบบสวนผลไม้en_US
dc.subject.keywordเกษตรกรen_US
dc.subject.keywordสารเคมีการเกษตรen_US
dc.subject.keywordพิษตกค้างจากสารเคมีen_US
dc.subject.keywordสารพิษen_US
.custom.citationวิเชียร อันประเสริฐ and Wichean Unprasert. "ชุมชนกับการใช้สารเคมีในภาคการเกษตร." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1251">http://hdl.handle.net/11228/1251</a>.
.custom.total_download257
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year4
.custom.downloaded_fiscal_year5

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1122.pdf
ขนาด: 1.095Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย