แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การสำรวจการเข้าถึงสถานพยาบาลและรายจ่ายด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต พ.ศ. 2548-2549

dc.contributor.authorชุติมา อรรคลีพันธุ์en_US
dc.contributor.authorChutima Akaleephanen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.contributor.authorภูษิต ประคองสายen_US
dc.contributor.authorจิตปราณี วาศวิทen_US
dc.contributor.authorอรศรี ฮินท่าไม้en_US
dc.contributor.authorอาทิตยา เทียมไพรวัลย์en_US
dc.contributor.authorViroj Tangcharoensathienen_US
dc.contributor.authorPhusit Prakongsaien_US
dc.contributor.authorChitpranee Vasaviden_US
dc.contributor.authorOnsri Hinthamaien_US
dc.contributor.authorArtitaya Tiampriwanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:18:42Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:23:34Z
dc.date.available2008-12-04T05:18:42Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:23:34Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifier.otherhs1355en_EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1308en_US
dc.description.abstractการสำรวจครั้งนี้เป็นการศึกษาการเข้าถึงบริการสาธารณสุข อัตราและแบบแผนการใช้บริการ และภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าที่พัก และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ของผู้เสียชีวิต โดยใช้แบบสอบถามเพิ่มเติมนอกเหนือจากการสอบถามการเปลี่ยนแปลงของประชากรครั้งที่ 7 เมื่อพบว่ามีผู้เสียชีวิตในครัวเรือนตัวอย่าง 82,000 ครัวเรือนทั่วประเทศไทย การสำรวจมีคาบเวลาระหว่างเดือนกรกฎาคม 2548 ถึง กรกฎาคม 2549 เป็นเวลา 1 ปี พบว่ามีผู้ตายทั้งสิ้น 387,970 คนอัตราตายของประชากรลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจเมื่อ 10 – 20 ปีก่อน เพศชายตายมากกว่าเพศหญิง กลุ่มครัวเรือนยากจนตายมากกว่าครัวเรือนที่รวยกว่า ผู้ตายครึ่งหนึ่งเป็นผู้สูงอายุ (มากกว่า 60 ปี) กลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นสาเหตุการตายอันดับหนึ่ง (ร้อยละ 51.4) ได้แก่ โรคมะเร็ง และโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้เป็นการตายด้วยโรคชรา ครึ่งหนึ่งของผู้ที่เสียชีวิตตายที่บ้าน รองลงมาคือ โรงพยาบาลรัฐ และมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตร้อยละ 4.1 ที่ยังไม่มีสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลใด ๆการวิเคราะห์ข้อมูลเรื่องพฤติกรรมการรักษาพยาบาล และค่าใช้จ่าย ได้ใช้วิธีการแบบ two part model กล่าวคือ วิเคราะห์ว่า มีหรือไม่มีการรักษา และ ถ้ารักษาเป็นจำนวนกี่ครั้ง สำหรับผู้จ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ โดยค่าใช้จ่ายนั้นมีความแตกต่างกันอย่างมาก และด้วยวิธีการวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติค และความถดถอยเชิงพหุ จะพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการรักษาพยาบาลแบบผู้ป่วยนอก และ แบบผู้ป่วยใน คือ สิทธิสวัสดิการ กลุ่มโรค และประเภทของสถานพยาบาลที่ใช้บริการ เป็นสำคัญ มีผู้ป่วยร้อยละ 58.6 รักษาแบบผู้ป่วยนอก จ่ายเงินร้อยละ 65.2 ของผู้ที่รักษาทั้งหมด โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 6,557 – 58,753 บาทใน 1 ปีก่อนเสียชีวิต ขึ้นกับสิทธิสวัสดิการที่มี โดยค่ารักษาที่สถานพยาบาลเอกชนจะมีค่าใช้จ่ายสูงที่สุด มีผู้ป่วยร้อยละ 57 ที่รักษาแบบผู้ป่วยใน ในจำนวนนี้ร้อยละ 41.8 ต้องจ่ายเงินค่ารักษาเพิ่มเติมจากสิทธิสวัสดิการที่มี โดยเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ยประมาณ 10,646 – 231,167 บาทใน 1 ปีก่อนเสียชีวิต และการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนจะมีรายจ่ายสูงที่สุด จำนวนผู้ที่รักษารักษาแบบผู้ป่วยนอกและ/หรือผู้ป่วยในคิดเป็นร้อยละ 76.6 ร้อยละ 63.8 ของผู้ใช้บริการต้องเสียค่าใช้จ่ายตั้งแต่ 15,357 – 206,912 บาทภายใน 1 ปีก่อนเสียชีวิต ค่าเดินทางคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 31 – 86 และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 3 – 18 ของการรักษาแบบผู้ป่วยนอก และสำหรับการรักษาแบบผู้ป่วยใน ซึ่งมีวันนอนเฉลี่ยตั้งแต่ 10 – 15 วัน ค่าเดินทางคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 5 – 100 และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ คิดเป็นร้อยละ 4 – 11 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมด จะมีครัวเรือนร้อยละ 29.2 ที่อาจจัดได้ว่าอยู่ในสภาวะล้มละลายโดยที่มีค่าใช้จ่ายภายใน 1 ปีก่อนเสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 10 ของรายได้ตลอดทั้งปี โดยในจำนวนนี้ร้อยละ 64 จัดเป็นครัวเรือนที่มีฐานะยากจนที่สุดการศึกษาครั้งนี้สรุปได้ว่า รายได้ครัวเรือน และเขตการปกครองไม่ได้เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรักษาหรือไม่รักษาพยาบาลในผู้ป่วยระยะสุดท้าย (3 เดือนแบบผู้ป่วยนอก และ 6 เดือนแบบผู้ป่วยใน) แสดงว่า ผู้ป่วยเข้าถึงการรักษาได้ สอดคล้องกับผู้ดูแลผู้ป่วยก่อนเสียชีวิตให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ไม่รักษาในโรงพยาบาลเนื่องจาก เป็นการตายฉุกเฉิน (ร้อยละ 61) ไม่ต้องการรักษาในโรงพยาบาล (ร้อยละ 15) และต้องการตายที่บ้าน (ร้อยละ 14) และเนื่องจากกลุ่มผู้ตายโดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุ (ตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ซึ่งส่วนใหญ่ที่ระบุว่าโรคชราจะตายที่บ้าน หรือเมื่อผู้ป่วยรู้ว่าป่วยระยะสุดท้ายก็จะตายที่บ้าน น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการจัดบริการสาธารณสุขต่อไปในอนาคต เมื่อประชากรมีอายุยืนมากขึ้นและส่วนใหญ่ตายเมื่ออายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไปen_US
dc.description.sponsorshipสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Care Systemsen_US
dc.subjectHealth Economicen_US
dc.subjectNursing Homes--Surveysen_US
dc.subjectHealth Expenditure--Surveysen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขen_US
dc.subjectสถานพยาบาล--การสำรวจen_US
dc.subjectรายจ่ายด้านสุขภาพ--การสำรวจen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการสำรวจการเข้าถึงสถานพยาบาลและรายจ่ายด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต พ.ศ. 2548-2549en_US
dc.title.alternativeThe house hold survey on acess to care and health expenditure of Thai decedents 2548-2549 B.E. (2005 - 2006 A.D.)en_US
dc.identifier.callnoW84 ช617ก 2550en_US
dc.identifier.contactno48ค035en_US
dc.subject.keywordHouseholden_US
dc.subject.keywordExpenditureen_US
dc.subject.keywordสถานพยาบาลen_US
dc.subject.keywordรายจ่ายด้านสุขภาพen_US
.custom.citationชุติมา อรรคลีพันธุ์, Chutima Akaleephan, วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร, ภูษิต ประคองสาย, จิตปราณี วาศวิท, อรศรี ฮินท่าไม้, อาทิตยา เทียมไพรวัลย์, Viroj Tangcharoensathien, Phusit Prakongsai, Chitpranee Vasavid, Onsri Hinthamai and Artitaya Tiampriwan. "การสำรวจการเข้าถึงสถานพยาบาลและรายจ่ายด้านสุขภาพของผู้ป่วยที่เสียชีวิต พ.ศ. 2548-2549." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1308">http://hdl.handle.net/11228/1308</a>.
.custom.total_download149
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1355.pdf
ขนาด: 333.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย