Show simple item record

Health Survey on People Receiving Outpatient Care at Ayudthaya Hospital

dc.contributor.authorสุพัตรา ศรีวณิชชากรen_US
dc.contributor.authorSupattra Srivanichakornen_US
dc.contributor.authorณัฐพร สุขพอดีen_US
dc.contributor.authorเยาวรัตน์ ศุภกรรมen_US
dc.contributor.authorรัตนา เกลี้ยงจิตรแผ้วen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:04Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:11Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:04Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:11Z
dc.date.issued2537en_US
dc.identifier.otherhs0082en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1362en_US
dc.description.abstractการสำรวจสภาวะของประชาชนที่มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงลักษณะของผู้มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาในด้านการ กระจายของที่พักอาศัย การมีสิทธิ์/สวัสดิการรักษาพยาบาล ลักษณะปัญหาสุขภาพ ค่าใช้จ่าย เวลาที่ใช้ในการมารับบริการ ความเห็นต่อบริการ และความต้องการต่อบริการ โดยการสุ่มตัวอย่างผู้มาใช้บริการที่โรงพยาบาลอย่างเป็นระบบ ในระยะเวลา 5 วันทำการในเดือนธันวาคม 2539 และสัมภาษณ์เก็บข้อมูลจากผู้ใช้บริการในส่วนที่เป็นข้อมูลทั่วไป และความเห็นต่อบริการ และให้แพทย์ พยาบาลที่ให้บริการผู้ใช้บริการคนนั้นให้ความเห็นว่าปัญหาสุขภาพนั้นควรดูแลได้เหมาะสม โดยบุคลากรระดับใด และมีการตรวจพิเศษ/ตรวจทางห้องปฏิบัติการหรือไม่ ผลการศึกษา ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 784ราย เป็นผู้ใช้บริการที่แผนกโอพีดีทั่วไปร้อยละ 49.4 โอพีดีเฉพาะทางร้อยละ 22.4 คลินิกพิเศษร้อยละ 15.9 สัดส่วนเพศหญิงและชาย สัดส่วนโครงสร้างอายุของผู้ใช้บริการมีความแตกต่างกันตามแผนกห้องตรวจบริการ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มแม่บ้าน/อยู่บ้านเฉย ๆ รับจ้าง และกำลังเรียน/ในปกครองเป็นผู้ที่ไม่มีสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลใด ๆ จำนวนเฉลี่ยร้อยละ 17.8 กลุ่มผู้ที่มีสวัสดิการรักษาพยาบาลฟรีจากรัฐ (สปร)มีสัดส่วนสูงที่สุด (ร้อยละ 35.2) รองลงมาคือผู้ที่มีสวัสดิการฯข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (ร้อยละ 23.3) และผู้มีสุขภาพ (ร้อยละ 14.3) แต่ทั้งนี้น้ำหนักของสัดส่วนผู้มีสิทธิ์ฯ ในแต่ละแผนกห้องตรวจมีความแตกต่างกัน เป็นผู้ที่มีบ้านพักอาศัยอยู่ในเขตอำเภอเมืองนครศรีอยุธยาทั้งหมดร้อยละ 52.7 โดยอยู่ในเขตเทศบาลร้อยละ 22.1 และนอกเขตเทศบาลร้อยละ 30.6 เป็นผู้ที่พักอาศัยอยู่นอกอำเภอเมืองฯ แต่ยังอยู่ในจ.อยุธยา ร้อยละ 43.6 และมาจากนอกจังหวัดอยุธยาร้อยละ 3.7 ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับประถมศึกษาสูงสุด (ร้อยละ 56.5) ผู้ใช้บริการมาเพียงคนเดียว ร้อยละ 43.9 ที่เหลือมีผู้อื่นที่เป็นพ่อแม่ หรือบุตรหรือญาติพี่น้องมาร่วมด้วยอย่างน้อย 1 คน เดินทางมาโรงพยาบาลด้วยรถประจำทางสูงสุด (ร้อยละ 55.8) รองลงมาคือด้วยรถยนต์ส่วนตัว (ร้อยละ 20.3) ค่าใช้จ่าเฉลี่ย 21-85 บาท ซึ่งค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้นตามระยะห่างจากบ้านพักถึงโรงพยาบาล ใช้เวลาเดินทางเฉลี่ย 23 นาที 1 ชั่วโมง ซึ่งต่างกันระหว่างผู้ใช้บริการในแต่ละแผนก ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยเก่าที่มารับบริการตามนัดถึงร้อยละ 47 และมาเองร้อยละ 47 มาด้วยระบบการส่งต่อเพียงร้อยละ 5.9 มาโรงพยาบาลนี้ด้วยเหตุผลส่วนใหญ่คือ เดินทางสะดวกสูงสุด รองลงมาคือมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เป็นผู้ป่วยเก่า (รักษาประจำ) ซึ่งมีค่าร้อยละต่างกันระหว่างแผนก ในการมารับบริการครั้งนี้ไม่เสียค่าใช้จ่ายในการรักษาร้อยละ 33-100 ซึ่งต่างกันระหว่างแผนกและส่วนที่เหลือเสียค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 90-709 บาท ผู้มาใช้บริการที่คลินิกโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงจ่ายสูงสุด รองลงมาคือที่คลินิกเบาหวาน และกลุ่มที่จ่ายสูงสุดคือ กลุ่มที่สวัสดิการฯของข้าราชการ/รัฐวิสาหกิจ (เฉลี่ย 503 บาท) ปัญหาสุขภาพส่วนใหญ่ของผู้มาใช้บริการ (ตามข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้บริการ) คือ โรคทั่วไปเจ็บเล็กน้อย (ร้อยละ 27.9) โรคเรื้อรังรักษาต่อเนื่อง (ร้อยละ 23.4) และมารับยาเดิมตามนัด ร้อยละ 21.9 ซึ่งสัดส่วนนี้ความต่างกันระหว่างแผนก กล่าวคือ โอพีดีทั่วไปมาด้วยปัญหาโรคทั่วไปเจ็บเล็กน้อยสูงสุด ส่วนโอพีดีเฉพาะทางและคลินิกพิเศษที่เป็นการรักษาเฉพาะทางมาด้วยปัญหา รับยาเดิม และเป็นโรคเรื้อรังรักษาต่อเนื่องสูงสุด ส่วนแพทย์ผู้ตรวจให้ความเห็นต่อปัญหาสุขภาพที่ใช้บริการนั้นว่าควรดูแล ให้เหมาะสมโดยแพทย์เฉพาะทางร้อยละ 28 โดยแพทย์ทั่วไปร้อยละ 48 โดยเจ้าหน้าที่สถานีอนามัยหรือพยาบาลร้อยละ 17 ทั้งนี้ผู้ใช้บริการในแต่ละแผนกมีความแตกต่างกันมาก ส่วนที่เป็นโอพีดีทั่วไป โอพีดีเฉพาะทาง คลินิกเฉพาะทางคลินิกส่งเสริมสุขภาพ และคลินิกวัณโรคควรดูและโดยแพทย์เฉพาะทางร้อยละ 25.7, 87.2, 14.6, 2.2 และร้อยละ 7.1 ตามลำดับ ในส่วนโอพีดีทั่วไปมีการตรวจพิเศษ/ตรวจทางห้องปฏิบัติการร้อยละ 15 แผนกจักษุวิทยามีการตรวจพิเศษร้อยละ 58 คลินิกเบาหวาน และคลินิกโรคหัวใจและความดันโลหิตสูงมีการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ร้อยละ 58.5 และร้อยละ 12.7 ตามลำดับ ระยะเวลาในการรอรับบริการที่ห้องบัตร ห้องตรวจแพทย์ ห้องจ่ายเงิน ห้องยา เฉลี่ย 9.8 นาที,53.6 นาที,12.3 นาที และ 25.4 นาที ตามลำดับ ระยะเวลาที่แพทย์ตรวจเฉลี่ย 4 นาที รวมเวลาในการรอรับบริการทั้งหมดเฉลี่ย 2.7 ชั่วโมง แต่ทั้งนี้มีค่าต่างกันระหว่างแผนก โดยเฉพาะผู้ใช้บริการที่คลินิกเบาหวานรอนานที่สุด คือเฉลี่ย 7.6 ชั่วโมง แม้ปัญหาสุขภาพที่มาใช้บริการมีความรุนแรงต่างกันก็ใช้เวลารอไม่ต่างกัน ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เห็นว่าแพทย์ให้การดูแลและตรวจร่างกายได้เหมาะสม (ร้อยละ 77) แพทย์อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับโรคที่เป็นได้เข้าใจดีร้อยละ 73.1 และอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติตัวได้เข้าใจดีร้อยละ 69.5 ไม่อธิบายร้อยละ 24.9 ทั้งนี้สัดส่วนต่างกันตามแผนก และเห็นว่าผู้จ่ายยาอธิบายวิธีการใช้ยาได้เข้าใจดีร้อยละ 83.1 ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่ได้รับยาตามที่คาดหวัง (ร้อยละ 76.8) ความเห็นต่อการยินดีไปใช้บริการที่ศูนย์แพทย์ชุมชนซึ่งเป็นหน่วยให้ บริการผสมผสานนอกโรงพยาบาล ส่วนใหญ่ยินดีใช้แน่นอน (ร้อยละ 47.9) ยินดีแบบมีเงื่อนไข (ร้อยละ 20.7) และไม่ยินดี (ร้อยละ 28)en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectPatient Acceptance of Health Careen_US
dc.titleการสำรวจสภาวะของประชาชนที่มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยาen_US
dc.title.alternativeHealth Survey on People Receiving Outpatient Care at Ayudthaya Hospitalen_US
dc.identifier.callnoW96 ส246ร 2537en_US
.custom.citationสุพัตรา ศรีวณิชชากร, Supattra Srivanichakorn, ณัฐพร สุขพอดี, เยาวรัตน์ ศุภกรรม and รัตนา เกลี้ยงจิตรแผ้ว. "การสำรวจสภาวะของประชาชนที่มาใช้บริการที่แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา." 2537. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1362">http://hdl.handle.net/11228/1362</a>.
.custom.total_download74
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs0082.pdf
Size: 3.949Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record