แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ จากเขาพนมพา อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร

dc.contributor.authorอาวีระ ภัคมาตร์th_TH
dc.contributor.authorAweera Pakamaten_US
dc.contributor.authorสมเดช เวชวิฐานth_TH
dc.contributor.authorรัตนา สนั่นเมืองth_TH
dc.contributor.authorวิสาข์ สุพรรณไพบูลย์th_TH
dc.contributor.authorวัชรินทร์ เวชวิริยะกุลth_TH
dc.contributor.authorSomdet Wetwithanen_US
dc.contributor.authorRatana Sananmueangen_US
dc.contributor.authorWisa Supanpaiboonen_US
dc.contributor.authorWatcharin Wetwiriyakulen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:28Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:48:57Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:28Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:48:57Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1082en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1422en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานการศึกษาโครงการ การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ จากเขาพนมพา อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตรth_TH
dc.description.abstract" เขาพนมพา" ตั้งอยู่บริเวณบ้านเขาพนมพา หมู่ที่ 7 ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร เป็นเนินเขาขนาดเล็ก มีความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง 50-155 เมตรครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 200 ไร่ เป็นป่าเบญจพรรณและป่าเศรษฐกิจ มีบ้านเรือนราษฎรตั้งอยู่กระจัดกระจายโดยรอบ ประชาชนดั้งเดิมในพื้นที่ส่วนมากประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและรับจ้างทั่วไปในช่วงฤดูแล้ง พื้นที่อำเภอวังทรายพูนและจังหวัดพิจิตรตั้งอยู่ในเขตลุ่มน้ำน่าน มีลำคลอง แม่น้ำสาขาย่อย ฤดูฝนจะเกิดน้ำท่วมขังและน้ำหลากเป็นประจำ เมื่อเข้าช่วงฤดูแล้งจะขาดแคลนน้ำทำให้พื้นที่บางแห่ง ไม่สามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรได้ พ. ศ. 2542 มีการสำรวจพบ “สายแร่ทองคำ” ทำให้ประชาชนจำนวนมากทั้งในจังหวัดพิจิตรและต่างจังหวัดบุกรุกเข้าพื้นที่เขาพนมพาเพื่อหาแร่ทองคำ เกิดปัญหาการบุกรุกทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การบาดเจ็บล้มตายเนื่องจากถูกดินถล่มทับ มีการออกประกาศห้ามประชาชนบุกรุก แต่ก็ยังคงมีการลักลอบเข้าไปขุดหาแร่ทองคำเรื่อยมา องค์การบริหารส่วนจังหวัดพิจิตร (อบจ.พิจิตร) ได้รับประทานบัตรทำเหมืองแร่ทองคำบริเวณเขาพนมพาเพื่อให้ราษฎรเข้ามามีประโยชน์ร่วมกันในการทำเหมืองอันจะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ในระดับหนึ่ง แต่ก็ไม่สามารถตอบสนองประชาชนได้ เนื่องจากได้ทองคำน้อยแต่ลงทุนมาก จึงยังคงมีการลักลอบขุดดินหินในพื้นที่ของเอกชนหน้าเหมือง อบจ.พิจิตร แล้วนำไปร่อนในน้ำเพื่อแยกล้างสิ่งสกปรกตามแม่น้ำ ลำคลองธรรมชาติ หรือประชาชนจะขุดสระ ทำบ่อน้ำด้วยคอนกรีตเพื่อทำการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำการศึกษา พบว่า มีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับแร่ทองคำมี 2 แห่ง คือ พื้นที่เหมืองของ อบจ. พิจิตรและพื้นที่ของเอกชน (วัดที่มีชื่อแห่งหนึ่ง) ซึ่งทั้งสองแห่งอยู่บริเวณติดกัน แต่การขุดดิน หิน ในพื้นที่ของเอกชนเป็นการลักลอบ ขาดสิ่งอำนวยความสะดวกหรือมาตรการ ระเบียบต่างๆ ขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ของเสีย ที่เกิดขึ้นไม่มีการจัดการที่ถูกต้อง ขาดการปกป้องทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาจเป็นปัญหาในอนาคต พื้นที่ผลกระทบทางสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมี 3 พื้นที่ คือ 1) พื้นที่ที่มีผลกระทบระดับมาก ผลกระทบมีรุนแรงฉับพลันและเรื้อรังจากโอกาสถูกดิน หิน ทับเสียชีวิต การบาดเจ็บ ได้แก่ พื้นที่บริเวณเขาพนมพา รวมทั้งพื้นที่รอบเขาพนมพา พื้นที่เหมืองแร่ทองคำของ อบจ. พิจิตร พื้นที่ อ.วังทรายพูนที่มีประชาชนนำดินลูกรัง หินไปทำการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ 2) พื้นที่ที่มีผลกระทบระดับปานกลาง ได้แก่ พื้นที่ อ.วังทรายพูนทั้งอำเภอ ที่ไม่มีการทำกิจกรรมเกี่ยวกับ แร่ทองคำ และ 3) พื้นที่ที่มีผลกระทบระดับต่ำ ได้แก่ พื้นที่ทั้งจังหวัดพิจิตร ยกเว้น อ.วังทรายพูน ผลกระทบที่เกิดขึ้นสรุปได้ดังนี้ พื้นที่เอกชน ถูกขุดจนมีสภาพเป็นแอ่ง/บ่อขนาดใหญ่กลายเป็นแหล่งรองรับของเสีย และมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เสี่ยงต่อการถล่มทรุดลงมาทับผู้ที่กำลังขุดดิน หินอยู่ และใกล้แนวรั้วบ้านของบุคคลที่มีแนวเขตที่ดินติดต่อกัน ซึ่งอาจทำให้แนวรั้วพังเสียหายกลายเป็นข้อพิพาทขึ้นได้ ดิน หินที่ขุดถูกวางกองทับถมกันไว้ตามที่ต่าง ๆ บางแห่งไม่มีสิ่งปกคลุม หรือใส่กระสอบปุ๋ยที่สภาพผุพัง ส่วนที่ผ่านการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำแล้วก็ถูกกองทิ้งไว้ตามทุ่งนา ที่สวน ลานบ้านและที่อื่นๆ ทับถมหน้าดินเดิมจนเกิดการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์และทัศนียภาพของพื้นที่ มีอาชีพใหม่เกิดขึ้น เช่น คนแยก ล้าง รับจ้างขนดิน-แบกดิน รับจ้างขุดดิน ขายดินหรือขายบัตรคิว รับจ้างโม่ดิน รับจ้างใช้สารปรอทคัดแยกแร่ทองคำ รับซื้อทองคำ ขายน้ำและอาหาร เป็นต้น โดยต่างคาดหวังว่าทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีเงินพอใช้ส่งลูกเรียน มีรายได้เสริมและปลดหนี้สิน มีอาชีพอิสระ ไม่ต้องไปรับจ้างที่กรุงเทพ ฯ ได้ค่าเช่าพื้นที่ร่อนหาทองคำ ได้ขายที่ดินได้ดินฟรีถมที่และเป็นสถานที่ท่องเที่ยว ทำให้เศรษฐกิจขึ้น มีการคิดค้น ดัดแปลงและประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้เพื่อใช้แยกแร่ทองคำออกจากหิน ดินลูกรัง ทำให้มีเครื่องโม่ เหล็กตอก เหล็กขุด อื่น ๆ เป็นการบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ของการหาแร่ทองคำ วิถีชีวิตจากสังคมเกษตรกรรมเปลี่ยนไปสู่วิถีชีวิตสังคมการทำงาน แก่งแย่ง แข่งขัน ทำงานตั้งแต่เช้าจรดเย็น ต่างคนต่างอยู่ ตัวใครตัวมันไม่ค่อยมีเวลาให้แก่กัน เกิดความแตกแยกในสังคม ครอบครัวเกิดการสูญเสีย ไม่ว่าจะเสียชีวิต บาดเจ็บหรือถูกจำคุก และเกิดปัญหาอาชญากรรม ยาเสพติด ประชาชนไม่คำนึงว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก ไม่คำนึงถึงสุขภาพ นอกจากนั้นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชน พบว่า ที่ตั้งวัดเขาพนมพา(เดิม) ถูกซื้อและย้ายไปตั้งที่อื่น ประชาชนห่างจากพระและวัด ไปทำบุญที่วัดวันละไม่กี่ราย จะมาก็ต่อเมื่อมีงานศพ และมีการเล่นการพนัน การขอความร่วมในเรื่องต่าง ๆ ทำได้ยาก และพื้นที่ส่วนหนึ่งของวัดมีการนำดิน หินมาโม่เพื่อหาทองคำด้วย ส่วนเด็กนักเรียนที่ไปโรงเรียนบางรายจะต้องนำน้องมาเลี้ยงดูด้วย เนื่องจากพ่อแม่ไปขุดดิน แยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำไม่มีเวลาเลี้ยงดู เด็กที่เรียนจบแล้วส่วนมากมักจะไม่เรียนต่อในระดับที่สูงขึ้น เพราะต้องไปทำงานช่วยครอบครัวในการหาทองคำ ประชาชนหรือชุมชนมีส่วนร่วมกำหนดนโยบายมีน้อยมาก การประชุมเรื่องต่าง ๆ ไม่ค่อยได้รับความสนใจ มากนัก ปล่อยให้เป็นหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานราชการ ปรอทเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษถูกนำเข้ามาใช้ในกระบวนการแยกทองคำจากสิ่งเจือปน คิดเป็นปริมาณ 40.09 กรัมต่อวัน และคิดเป็น 1,202.7 กรัมต่อเดือน ปริมาณปรอท ที่แท้จริงควรจะมากกว่านี้เพราะมีการใช้ทุก ๆ แห่งที่มีการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ ผู้แยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำมักมีการเจ็บป่วยด้วยอาการเป็นหอบความดันโลหิตสูง ปวดศีรษะ กังวล นอนไม่หลับ ปวดขา และส่วนใหญ่มีอาการคันเป็นโรคผิวหนังเนื่องจากต้องทำงานแช่ในน้ำ การรักษาตนเองจะหาซื้อยามากินเอง ส่วนใหญ่ไม่ค่อยให้ความสนใจดูแลสุขภาพตนเอง หักโหมทำงานหนักและพักผ่อนไม่เพียงพอ รับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์ เช่น กาแฟ เครื่องดื่มเพิ่มพลังงาน เครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ สุรา เป็นต้น บางรายทำงานจนลืมเวลานัดหมายลืมพาบุตรหลานไปรับวัคซีนหรือลืมไปตรวจครรภ์ที่สถานบริการสาธารณสุข แนวโน้มของภาวะสุขภาพมีทิศทางแย่ลงหรือมีทิศทางที่ไม่ดี โรค/ อาการที่คาดการณ์ว่าจะเป็นปัญหาของพื้นที่ในอนาคต คือ โรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ อุบัติเหตุ/โรคจากการประกอบอาชีพ โรค/อาการทางด้านจิต สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางที่แย่ เลวร้ายลง แผนการพื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมระดับท้องถิ่นในทุกแห่งยังขาดความชัดเจน โดยองค์การบริหารส่วนตำบลหนองพระซึ่งมีแหล่งแร่ทองคำและมีการร่อนคัดแยกทองคำมากที่สุดก็ไม่ได้กล่าวถึงแผนงาน/โครงการ ฯ ที่รับรองปัญหาแต่อย่างใด การแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำจากเขาพนมพา จะดำเนินต่อไปเรื่อยๆ โดยเกี่ยวข้องกับบุคคล กฎหมายข้อบังคับ และระบบการบริหารจัดการจำนวนมาก มีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นมีความซับซ้อนและเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน เหมือง อบจ.พิจิตรไม่สามารถแก้ปัญหาให้หมดไปได้เนื่องจากปริมาณแร่ทองคำมีปริมาณน้อย มีกฎเกณฑ์ ระเบียบยุ่งยาก มีนายหน้า การบริการไม่ดี เป็นต้น เมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่เอกชนจะลงทุนต่ำ ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีต่อวิถีชีวิต ระบบการคิด เศรษฐกิจในครัวเรือน/ชุมชน พฤติกรรมด้านต่าง ๆ ภาวะสุขภาพประชาชน ระบบบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม มลพิษ การมีส่วนร่วมของประชาชน และอื่นๆ มีทั้งด้านบวกและด้านลบ ด้านสุขภาพประชาชน ถึงขั้นเสียชีวิตจากดิน หินถล่ม พังทับ การสูญเสียสมรรถภาพของอวัยวะบางอย่างของร่างกาย และการเจ็บป่วยจากการทำงานหนักขาดการพักผ่อนที่เพียงพอ ผลกระทบทางสุขภาพ สามารถส่งผลหรือเกิดต่อสุขภาพได้หลายลักษณะ คือ 1) ผลกระทบโดยตรง เช่น อุบัติเหตุต่าง ๆ อาการเจ็บป่วยที่เกิดขึ้น 2) ผลกระทบโดยอ้อม เช่น การได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในชุมชนหรือระบบนิเวศ 3) ผลกระทบสะสม เช่น การได้รับสารเคมีที่ใช้ในกระบวนการ การสั่งสมความเครียดความเหนื่อยล้าจากการทำงาน การประกอบอาชีพความเข้มแข็งขององค์กรภาครัฐ หน่วยงานของภาครัฐ ขาดหน่วยงานหรือองค์กรหลักในการแก้ไขปัญหาและมีเจ้าหน้าที่ไม่เพียงพอ ขาดความร่วมมือจากประชาชนเท่าที่ควร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังขาดความชัดเจนในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นและยังขาดการวางแผนการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อการป้องกัน แก้ไข ส่งเสริมและฟื้นฟูในทุกเรื่องการประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นกระบวนการที่สร้างและส่งเสริมให้เกิดองค์ความรู้ วิธีการที่จะดูแลปกป้องสุขภาพตนเอง ครอบครัวและสุขภาพชุมชนจากปัจจัยหรือสิ่งกำหนดที่จะทำให้สุขภาพได้รับผลกระทบ ตลอดจนการปรับตนเองเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมที่มีสภาวะการเปลี่ยนแปลงได้ กระบวนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ จะต้องได้รับการสนับสนุนด้านวิชาการ การมีส่วนร่วมของประชาชนและชุมชน ตลอดจนบุคคล หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดอย่างเป็นระบบพร้อมเพียงกัน เนื่องจากการศึกษาใช้เวลาไม่มากนัก ด้วยวิธีการสำรวจ สอบถาม สัมภาษณ์ สนทนาโดยแต่ละวิธีการใช้เวลาสั้น ๆ ทำให้ไม่สามารถให้ความรู้และสร้างความเข้าใจ หรืออธิบายในเรื่องต่าง ๆ แก่ประชาชนได้อย่างมีเพียงพอ หรือไม่สามารถผลักดันให้เกิดองค์กรภาคประชาชนเป็นหน่วยศึกษาหรือดำเนินการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากกิจกรรม โครงการ นโยบาย หรือ อื่นๆ การศึกษาควรต้องกำหนดขอบเขตของเนื้อหาทางวิชาการให้ครอบคลุมในรายละเอียดทั้งหมดเพื่อให้เห็นความเชื่อมโยงของปัจจัยต่าง ๆ โดยควรกำหนดว่าจะต้องทำการศึกษาปัจจัยใดก่อน – หลัง และควรกำหนดขอบเขตพื้นที่ให้ครอบคลุมเพราะพื้นที่สัมพันธ์กับระดับของความรุนแรงและความเกี่ยวข้อง หรือตามลักษณะของการได้รับผลกระทบ การศึกษานี้ยังมีข้อบกพร่องหลายประการและอาจทำให้ความสมบูรณ์ของการศึกษา ไม่ครบถ้วนควรปรับปรุง แก้ไขดังต่อไป เช่น การกำหนดดัชนีชี้วัดขั้นต่ำหรือขั้นพื้นฐาน ใช้ได้งานเหมาะต่อการอธิบายผลกระทบทางสุขภาพ ควรมีการตรวจสภาพแวดล้อมของการทำงานและปริมาณ ความเข้มข้นสารปรอทในสิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิต องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ควรออกข้อบังคับของท้องถิ่น และพื้นที่บริเวณขุดหาทองคำบางส่วนเป็นของเอกชน การเข้าไปดำเนินการใดๆ จะต้องได้รับการยินยอมเจ้าของที่ดิน และเจ้าพนักงานท้องถิ่น เช่น ผู้ว่าราชการจังหวัด นายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล จะต้องพิจารณาใช้อำนาจตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อระงับเหตุที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบควรร่วมวางแนวทางการศึกษาและ หาแนวทาง มาตรการควบคุมผลกระทบ ดำเนินการสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการดำเนินการ เฝ้าระวังดูแลสุขภาพอนามัยของประชาชนและเฝ้าระวังคุณภาพสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรมนุษย์อาจกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ ความเป็นพิษและอันตรายของสารปรอท การติดตามและประเมินผล ให้ครอบคลุมพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทุกระดับ โดยควรมีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ แผนกลยุทธ์ แผนปฏิบัติการเพื่อการบริหารจัดการ ป้องกัน แก้ไขฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนเพื่อให้เกิดประชาคม สร้างความเข้มแข็งและการส่งเสริมให้มีระบบการประเมินผลกระทบทางสุขภาพในท้องถิ่น ทั้งให้มีอาชีพทดแทนที่สามารถสร้างรายได้หากแร่ทองคำหมดไป เพื่อให้เกิดทางเลือกและนำไปสู่การแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1586368 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectEnvironmental Healthen_US
dc.subjectPhichiten_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัยสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subjectมลพิษen_US
dc.subjectพิจิตรen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleการกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ จากเขาพนมพา อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตรth_TH
dc.title.alternativeThe public scoping on the health impact assessment in the separation on the gold mine, Khao Phanom Pha, Wang Sai Poon, Phichit provinceen_US
dc.description.abstractalternative“Khao Phanom Pha” located in the area of Ban Khao Phanom Pha, Village No. 7, Nong Pra Sub-district, Wang Sai Poon District, Phichit Province, is a little hill with the height above the mean sea-level of 50-155 meters, covering the area of around 200 rais, considered as mixed deciduous forest and commercial forest with houses scattering thoroughly. Most local people earn their living by doing agricultural work and general wages during the dry season. The area of Wang Sai Poon District and Phichit Province are situated in the basin of Nan River with canals and branch rivers. In the rainy season, it is usually flooded, on contrarily, in the dry season some areas face the problem of water short and cannot be used for agricultural advantage.In 1999, gold ledges were surveyed and found. This caused lots of trespassers from both the province and the neighborhood into the area of Khao Phanom Pha to search for nuggets and this led to the problem of natural resources and environment destruction, injury and death due to landslide. Though the prohibition of trespass was announced, sneaking mining of nuggets still continues.Phichit Provincial Administrative Organization receives the concession to mine nuggets in the area of Khao Phanom Pha in order that the local people can have mutual benefits in mining. This can solve a degree of some problems. Anyway, it cannot respond the people since the amount of nuggets is incomparable with the investment. The sneaking mining of nuggets in private lands in front of the mine of Phichit Provincial Administrative Organization still continues. The nuggets are washed to remove dirt out along river, natural canals. Some people dig ponds and build concrete wells to separate, wash and select nuggets.From the study, it is found that the activities involving nuggets mining are at two places: the mine of Phichit Provincial Administrative Organization (PAO) and the private land (A famous temple). Both areas are immediate but the excavation in the latter is illegal, lacks of facilities, measures or regulations. Garbage, wasted, refuse occuring are not correctly executed and natural resources and environment do not receive any protection. This may cause problem in the future.The three effecting areas to health and environment are considered as follows: 1) serious effecting areas where the possibility of injury and death from landslide is acute and serious are the area of Khao Phanom Pha including its vicinity, gold mine of Phichit PAO, the area of Wang Sai Poon District where people separate, wash and select laterite for nuggets 2) intermediate effecting area namely all areas of Wang Sai Poon District where no activity of gold mining is found and 3) low effecting area namely all areas of Phichit Province excluding Wang Sai Poon District.The impact can be summerized as follows: the private area is excavated until it becomes a huge hole for dumping waste. Its size increases and it probably collapses and is harmful to excavators. It may also damage the hedge of the neighber and the dispute may arise. Excavated soil or stone are piled up in many places without covering or are contained in decayed sack. Separated, washed and selected soil or stone piled up throughout rice field, garden, yard and other areas cover the ground surface until the abundance of soil and landscape are destroyed. There are new careers such as separator, washer, soil porter, excavator, soil seller or queue seller, mill worker, workers who use mercury to select nuggets, nuggets buyer, vender etc. All expect to have higher income, to have enough money for their children’s education, to have additional income, to discharge debts, to have a free-lance profession without going to work for wages in Bangkok, to gain rent from gliding area, to sell land, to get free soil for filling up and to develop their land to be tourist attraction. The economics will be better. Tools and equipment used for selecting nuggets, grinder,driver, scooper are invented and modified. This indicates the history of nuggets searching.The way of life is changed from that of agricultural society to that of struggling for exercise from the morning till the evening. Each lives in each own way, show a clean pair of huts, has no time for others. Society is broken and family loses either life, injury or freedom. Criminal problem occurs. There are problems of drug addiction. People do not consider the right and the wrong not even their own health. In addition, we can find other changes in the community. The old location of Kha Phanom Pha Temple was bought and the temple was moved to another place. People are distant from temple and monk. Only a few people go to make merit at a temple except in funeral or when gamble is made. Cooperation becomes less. Soil and stone in some areas of the temple are grinded for nuggets. Some little students have to take their younger siblings to school since their parents go to work in the mine. Most children do not continue their higher education because they have to help their family in the mine. People or community rarely participate in policy directing. They are not interested in meetings which are left to be the duty of local administrative organization or official units.Mercury is a toxic heavy metal introduced for the process of gold separation from contaminants. It is weighed 40.09 grams a day and 1,202.7 grams a month. The real amount of mercury could be higher since it is used in every area of gold separation, wash and selection.People who separate,wash and select nuggets are often sick with symptoms of asthma, hypertension, headache, anxiety, insomnia, leg pain and most of them also develop a symptom of itchiness and skin disease. This is due to their long hours of work in water. They find and buy medicine to treat themselves. Most of them rarely have interest in taking care of their own health, overtax themselves and do not take enough rest. Also, they eat unuseful food such as, coffee, energy-added drink, and beverage with mixture of alcohol and liquors etc. Some of them work until they forget their appointment and also forget to take their children to receive vaccination or forget to have pregnancy check at public health center. A trend of health status is deteriorated or not favorable. The disease/symptom that are expected to become problems of the area in the future are those derived from food and water, accident/disease from occupation, disease/mental symptom. The environment changes in hardship and deteriorated direction. The plan to restructure natural resources and environment in the local level of every area also lacks clarity. No operational plan/project to support the problems are mentioned by Nongphra Subdivisional Administrative Organization, the district where is the source of nuggets and where the nuggets selection is mostly performed.The separation, wash and selection of nuggets from Kao Phanom Pha will be proceeded continuously with relations to an individual, enforceable law and a large numbers of administration and management systems. There are also other factors. The arising problems are complicated and have linkage to one another. Phichit PAO cannot entirely solve the problems due to a small quantity of nuggets,complicated rules and regulations, brokers and inefficient services provided, etc. in comparison with a private area, where lower investment is required and no regulation is determined.The way of life, thinking system, household/community economics, various kinds of behavior, health status of people, natural resource and environment administration and management system, pollution, public participation and others are affected in both good and bad sides. In regard to public health, some people died due to the landslide, some become crippled and some suffer illness from hard work with a lack of enough rest. There are several types of impact on health. That is to say 1) A direct impact, such as, accidents, arising illness. 2) An indirect impact, such as, impact on changes in the community or ecological system. 3) An accumulated impact, such as, that of chemical substance used in the process, the accumulation of tension and weariness from work and occupationFor the strength of government organizations and agents, there is a lack of major department or organization to solve the problem and the officials are not sufficient. Cooperation from public is also enough. Local administrative organizations is also short of clarity in solving the arising problems as well as short of cooperative plan with relevant agents in order to prevent and solve the problems, promote and improve every matter.The evaluation of impact on health is considered a procedure for building and promoting the occurrence of body of knowledge and measures in taking care and protecting one’s own health, the health of family and community health from factors or provisions that shall affect such health. Also, there is an adjustment of oneself to survive in the changeable society. The procedure for evaluating health impact should be promoted in terms of knowledge, public and community participation as well as individuals and relevant units in order to be as the same system. Due to the fact that the study has been done in a short time by methods of surveying, inquiry, interviewing and conversation and each of them has been done in a short period of time, it cannot provide enough knowledge, understanding and explanation of such matter to public. Moreover, it cannot cause the occurrence of public organization as a studying unit or operational units for evaluating the impact on health from activities, projects, policies or others.The study should determine the scope of academic content covering all details for the view of linkage in various factors, by determining which factors should be studied firstly or lastly. Also, it should cover the extent of area because it is involved in the levels of severity and relations or pursuant to the types of impact.Nevertheless, this studying still consists of several defects which may cause an incomplete study. The improvement and correction of this study should be as follows: the determination of low or basic index which is suitably applied to the explanation of impact on health, the condition of work and the quantity of concentrate mercury in environment and living creatures should be examined, the local administrative organization should issue regulations enforced in local or some private areas of nuggets excavation, any entry to execute any activities should be approved by the landlord and local officials, such as, Governor, District chief and Chairman of Subdivisional Administrative Organization should exercise their rights pursuant to the relating law in order to suppress any events that may have caused danger to lives and properties of public.Local administrative organization that has been affected should cooperate to issue studying approach and seek impact control measures, support and promote the observation of public health and environment quality. In terms of human resources, curriculum concerning the impact of nuggets separating, washing and selection activities and toxicity and danger of mercury should be determined. The monitoring and evaluation should cover all levels of affected areas. It is also required to arrange strategic plan and operational plan for the administration, prevention, improvement of natural resources and environment. The emphasis should be made in all sectors in order to create community, strength and evaluation system on health impact in the region should be promoted and other careers should be provided and planned in case that nuggets come to the end to reach the option and lead to the sustainable problem solving.en_US
dc.identifier.callnoWA754 อ667ก 2547en_US
dc.identifier.contactno45ค087en_US
dc.subject.keywordการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมen_US
dc.subject.keywordวิถีชีวิตen_US
dc.subject.keywordการเข้าถึงบริการสาธารณสุขen_US
.custom.citationอาวีระ ภัคมาตร์, Aweera Pakamat, สมเดช เวชวิฐาน, รัตนา สนั่นเมือง, วิสาข์ สุพรรณไพบูลย์, วัชรินทร์ เวชวิริยะกุล, Somdet Wetwithan, Ratana Sananmueang, Wisa Supanpaiboon and Watcharin Wetwiriyakul. "การกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพจากการแยก ล้าง คัดเลือกแร่ทองคำ จากเขาพนมพา อำเภอวังทรายพูน จังหวัดพิจิตร." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1422">http://hdl.handle.net/11228/1422</a>.
.custom.total_download114
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1082.pdf
ขนาด: 1.623Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย