แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

พฤติกรรมจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนใน 8 จังหวัด ของประเทศไทย ปี พ.ศ.2535-2536

dc.contributor.authorปรากรม วุฒิพงศ์en_US
dc.contributor.authorPrakom Wuthiwongen_US
dc.contributor.authorจันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณen_US
dc.contributor.authorอรุณ จิรวัฒน์กุลen_US
dc.contributor.authorวิพุธ พูลเจริญen_US
dc.contributor.authorวินัย สวัสดิวรen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:19:57Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:32:18Z
dc.date.available2008-12-04T05:19:57Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:32:18Z
dc.date.issuedม.ป.ป.en_US
dc.identifier.otherhs0195en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1492en_US
dc.description.abstractการศึกษาวิจัยพฤติกรรมจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนใน 8 จังหวัด ของประเทศไทย ปี พ.ศ.2535-2536การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ เพื่อศึกษาระดับความรู้ ความเข้าใจต่อกฏจราจรที่สำคัญต่อการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่รถประเภทต่าง ๆ และผู้เดินถนน เพื่อศึกษาพฤติกรรมการขับขี่ และการใช้ถนนของประชาชนในจังหวัดขนาดใหญ่ในภาคต่าง ๆ เพื่อพื้นฐานเสนอแนะในการวางแผนดำเนินการด้านเสริมสร้างพฤติกรรมป้องกันตนเองในการใช้รถใช้ถนน ผลการวิจัยพบว่า การสำรวจความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการใช้รถใช้ถนนของผู้ขับขี่ และคนเดินถนนใน 8 จังหวัดทั่วประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ.2535 ได้ผลที่สำคัญ ๆ ดังนี้ 1) รถจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่ใช้มากในกลุ่มวัยรุ่น และวัยฉกรรจ์ โดยเฉพาะนักเรียน นักศึกษา แม่บ้าน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่เริ่มขับขี่ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 18 ปี ซึ่งเป็นอายุที่กฏหมายกำหนดให้เริ่มมีใบอนุญาตขับขี่ได้ แสดงให้เห็นว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ขับขี่โดยยังไม่มีใบอนุญาตผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์รายงานอุบัติการและความถี่ของการประสบอุบัติเหตุ สูงกว่าผู้ขับขี่รถประเภทอื่น ๆ ผู้ขับขี่รถจักรยนต์มีความรู้เรื่องกฏจราจรน้อยมาก โดยเฉพาะในเรื่องการจำกัดความเร็ว การให้ทางกับรถเมื่อถึงสี่แยก และเครื่องหมายจราจรที่สำคัญ ๆ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์จำนวนมากเห็นว่า แม้จะขับรถเร็วแต่ถ้าระมัดระวังก็จะไม่เกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ส่วนใหญ่เห็นด้วยที่จะให้มีกฏหมายบังคับใช้หมวกนิรภัยและเห็นประโยชน์ในการป้องกันอันตรายอันเกิดจากอุบัติเหตุ7) ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ยังมีพฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุที่สำคัญ ๆ คือ การดื่มสุราขณะขับขี่การไม่หยุดรถให้คนข้ามทางม้าลาย ฝ่าสัญญาณไฟแดงและพบว่ามากกว่าครึ่งที่ไม่สวมหมวกนิรภัยรถยนต์ส่วนบุคคลใช้มากในกลุ่มวัยทำงานเป็นส่วนใหญ่ แม้ในกลุ่มผู้สูงอายุก็ใช้รถยนต์กันมาก และเป็นพาหนะสำหรับผู้ประกอบอาชีพราชการ ค้าขาย และมีระดับเศรษฐกิจฐานะดีกว่าผู้ขับขี่รถประเภทอื่น ๆ ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนใหญ่เริ่มขับขี่รถเมื่ออายุเกิน 18 ปี มีความรู้เรื่องกฏจราจร เครื่องหมายจราจร และทัศนคติในการขับขี่ที่ดีกว่าผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้ขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลมีอัตราการดื่มสุรา เสพยาม้า ระหว่างขับขี่รถมากกว่ากลุ่มจักรยานยนต์ และเกินครึ่งที่ใช้ความเร็วเกินกว่าที่กฏหมายกำหนด ผู้ขับรถบรรทุก และรถโดยสารส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน (25-44 ปี) และอยู่ในฐานะลูกจ้างของเจ้าของรถ โดยส่วนใหญ่มีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์และรถยนต์แล้ว พบว่า มีระดับการศึกษาต่ำกว่านอกจากนี้ยังมีจำนวนมากที่เริ่มขับรถตั้งแต่อายุไม่ถึง 18 ปี และกว่าร้อยละ 90 เริ่มขับรถตั้งแต่อายุต่ำกว่า 25 ปี รถบรรทุกมีการประกันอุบัติเหตุมากที่สุด รองลงมาคือ รถโดยสาร ผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถโดยสารส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องกฏและเครื่องหมายจราจร ดี ยกเว้นป้ายสัญญาณจราจรบางชนิด คือ ป้ายห้ามหยุดที่ผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ไม่รู้จัก ปัญหาใหญ่ในผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถโดยสาร คือเรื่องทัศนคติ และพฤติกรรมที่เสี่ยงโดยเฉพาะในเรื่องการเสพยาม้าซึ่งผู้ขับขี่จำนวนมากเห็นว่าการกินยาม้าจะช่วยลดอุบัติเหตุได้ และยังพบว่าผู้ขับขี่รถบรรทุกถึงร้อยละ 70 ใช้ยาม้าในระหว่างขับรถ ส่วนรถโดยสารใช้ร้อยละ 33.8 เกือบทั้งหมดจะไม่มีและไม่ใช้เข็มขัดนิรภัยในระหว่างขับรถ ผู้ขับขี่รถบรรทุกและรถโดยสารมักขับรถเร็วเกินกว่าอัตราที่กฏหมายกำหนดและ เกือบครึ่งหนึ่งที่มักจะแซงทางโค้ง เป็นที่น่าสังเกตว่า นอกจากยาม้าและเหล้าแล้วในกลุ่มนี้ยังมีการใช้เครื่องดื่มชูกำลังขณะขับรถมากกว่ารถอีก 2 ประเภท 14) คนเดินถนนไม่รู้เรื่องกฏจราจร ที่สำคัญคือ วิธีการเดิน และข้ามถนนอย่างถูกต้อง 15)ในเรื่องทัศนคติ เกี่ยวกับสาเหตุ การป้องกันอุบัติเหตุ และการปฏิบัติหรือฝ่าฝืนกฏจราจร พบว่า ทั้งผู้ขับขี่และผู้เดินถนนมีทัศนะคล้ายคลึงกัน ผู้ขับขี่รถส่วนใหญ่ได้ความรู้เรื่องกฏจราจรจากประสบการณ์การขับรถมากกว่า การสอบใบขี่และแหล่งความรู้อื่น ๆ 17) สื่อมวลชน โดยเฉพาะโทรทัศน์ วิทยุ ถือเป็นแหล่งความรู้ด้านกฏจราจรที่สำคัญที่สุดใน กลุ่มผู้เดินถนนผู้ใช้รถใช้ถนนเห็นว่าคนทั่วไปปฏิบัติตามกฏจราจร เพราะกลัวถูกตำรวจจับกุมมากกว่าความกลัวอุบัติเหตุ หรือมีความรับผิดชอบในการใช้รถใช้ถนน จากการสังเกตพฤติกรรมจราจรในบริเวณสี่แยกที่มีและไม่มีสัญญาณไฟจราจรพบว่า ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์มีพฤติกรรมจราจรที่ไม่ถูกต้องเป็นส่วนมากโดยเฉพาะเรื่องการให้สัญญาณก่อนเลี้ยว ไม่สวมหมวกนิรภัย และฝ่าฝืนป้ายหยุดบริเวณสี่แยก การบันทึกพฤติกรรมของรถส่วนบุคคล รถบรรทุก และรถเมล์ พบการฝ่าฝืนกฎจราจรในส่วนที่เป็นจุดอันตราย ได้แก่ ทางโค้ง สะพาน และทางลาดชัน โดยมีการขับรถแซงบริเวณเส้นทึบสูงโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ขับขี่รถโดยสารen_US
dc.description.sponsorshipองค์การอนามัยโลก, กระทรวงสาธารณสุข,en_US
dc.format.extent4300447 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherกระทรวงสาธารณสุข ; คณะกรรมการระบาดวิทยาแห่งชาติen_US
dc.subjectAccident, Traffic--Evaluation Studieen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.titleพฤติกรรมจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนใน 8 จังหวัด ของประเทศไทย ปี พ.ศ.2535-2536en_US
dc.title.alternative[Driving Behaviours in 8 Provinces, Thailand, 1992-1993]en_US
dc.identifier.callnoWA275 ก171ร 2537en_US
dc.subject.keywordพฤติกรรมจราจรen_US
dc.subject.keywordผู้ใช้รถใช้ถนนen_US
.custom.citationปรากรม วุฒิพงศ์, Prakom Wuthiwong, จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ, อรุณ จิรวัฒน์กุล, วิพุธ พูลเจริญ and วินัย สวัสดิวร. "พฤติกรรมจราจรของผู้ใช้รถใช้ถนนใน 8 จังหวัด ของประเทศไทย ปี พ.ศ.2535-2536." ม.ป.. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1492">http://hdl.handle.net/11228/1492</a>.
.custom.total_download185
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0195.pdf
ขนาด: 4.698Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย