Show simple item record

Public policy mapping in north earstern region

dc.contributor.authorประธาน ฦาชาth_TH
dc.contributor.authorPrathan Luechaen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:22Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:52Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:22Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:52Z
dc.date.issued2546en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1549en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์เรื่องแผนที่นโยบายสาธารณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.description.abstractการศึกษาเชิงพรรณนาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษากระบวนการได้มาซึ่งนโยบายสาธารณะของภาครัฐในรูปแบบต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงปี พ.ศ. 2546 – 2547 โดยผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษารวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก รวมทั้งการมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ ซึ่งผลการศึกษาได้ปรากฏดังต่อไปนี้ นโยบายสาธารณะที่สำคัญที่ได้ทำการศึกษาประกอบด้วย 1) แผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) ข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546 โดยกระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะทั้ง 3 ฉบับนี้ได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำร่างนโยบาย แต่มีเพียงการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2546 เท่านั้นที่ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกระบวนการจัดทำร่างข้อเสนอในขั้นตอนต่อไป รวมถึงการรับรู้ตัดสินใจเพื่อจัดทำร่างนโยบายที่เสนอต่อผู้มีอำนาจในการตัดสินใจเลือกใช้นโยบายดังกล่าว ส่วนอีก 2 กระบวนการนั้นประชาชนได้มีโอกาสเข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในกระบวนการจัดทำร่างนโยบายน้อยมาก แนวคิดในการจัดทำร่างนโยบายทั้ง 3 ฉบับมีความแตกต่างกัน โดยแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มุ่งเน้นไปที่การเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันเชิงการค้าเพื่อก่อให้เกิดรายได้ในภูมิภาค ส่วนข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติมุ่งเน้นไปที่การสร้างสุขภาวะของมนุษย์ให้ครบทุกองค์ประกอบ ได้แก่ กาย จิตใจ สังคม และปัญญา (จิตวิญญาณ) ซึ่งแนวคิดที่แตกต่างกันนี้ส่งผลถึงกระบวนทัศน์และแนวทางในการกำหนดนโยบายที่แตกต่างกัน ส่งผลถึงการวัดและประเมินผลนโยบายที่ตามมาโดยแผนยุทธศาสตร์เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและยุทธศาสตร์ระดับกลุ่มจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือสามารถประเมินผลได้ชัดเจนมากกว่าการประเมินผลของข้อเสนอเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์จากสมัชชาสุขภาพแห่งชาติที่ต้องทำประเมินในหลายองค์ประกอบ กระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะควรเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ มากขึ้น และมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเลือกนโยบายที่จะมีผลมาใช้กับประชาชนเอง เพื่อให้นโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตสามารถตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการของประชาชนได้อย่างแท้จริงth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Public Policyen_US
dc.subjectHealth Policyen_US
dc.subjectHealth Impact Assessmenten_US
dc.subjectนโยบายสาธารณะเพื่อสุขภาพen_US
dc.subjectนโยบายสาธารณสุขen_US
dc.subjectการประเมินผลกระทบทางสุขภาพen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleแผนที่นโยบายสาธารณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือen_US
dc.title.alternativePublic policy mapping in north earstern regionen_US
dc.identifier.callnoWA541 ป287ผ 2546en_US
dc.identifier.contactno46ข080en_US
dc.subject.keywordPublic Policy Mappingen_US
dc.subject.keywordนโยบายสาธารณะen_US
dc.subject.keywordแผนที่en_US
.custom.citationประธาน ฦาชา and Prathan Luecha. "แผนที่นโยบายสาธารณะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ." 2546. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1549">http://hdl.handle.net/11228/1549</a>.
.custom.total_download49
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0

Fulltext
Icon
Name: hs1213.pdf
Size: 887.4Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record