แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพหุภาคีในการร่วมปฏิบัติการเพื่อลดการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชในจังหวัดพิจิตร

dc.contributor.authorสุรเดช เดชคุ้มวงศ์en_US
dc.contributor.authorSuradej Dejkumwongseen_US
dc.contributor.authorสมนึก แจ่มจำรัสen_US
dc.contributor.authorสุนทร ตุตะพะen_US
dc.contributor.authorจารุภา เหลาหพจนารถen_US
dc.contributor.authorสุนีย์ สุขสว่างen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:20:58Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:39:16Z
dc.date.available2008-12-04T05:20:58Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:39:16Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0803en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1637en_US
dc.description.abstractกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพหุภาคีในการร่วมปฏิบัติการเพื่อลดการใช้สารเคมีในการควบคุมศัตรูพืชในจังหวัดพิจิตร การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์ เงื่อนไข ปัจจัยและกระบวนการเชิงระบบ ที่มีผลต่อการลดการใช้สารเคมีในภาคการเกษตรของเกษตรกร รวมทั้งศึกษาแผนในการขยายผลการปรับเปลี่ยนการผลิตโดยการลดเลิกการใช้สารเคมีของเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร โดยคัดเลือกพื้นที่ศึกษา จำนวน 3 ชุมชนจาก 3 อำเภอของจังหวัดพิจิตร เก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้นำชุมชน ผู้นำกลุ่มเกษตรกร และสมาชิกในชุมชน โดยวิธีการสัมภาษณ์ สังเกต และเสวนากลุ่มย่อย โดยเตรียมคำถามปลายเปิดไว้ล่วงหน้า เมื่อได้ข้อมูลแล้วนำข้อมูลมาตรวจสอบตามวัตถุประสงค์ วิเคราะห์คำตอบโดยพรรณนาเชิงอธิบาย อ้างอิงเหตุผล อธิบายจากทฤษฎีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานการศึกษาตามลำดับหัวข้อที่ทำการศึกษาโดยพรรณนา ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลด เลิกการใช้สารเคมีของเกษตรกรในจังหวัดพิจิตร ได้แก่ 1. ปัจจัยนำ 1.1 การตรวจสุขภาพประจำปีโดยเจ้าหน้าที่สาธารณสุข พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรรมโดยการใช้สารเคมี มีอัตราการแพ้พิษสารเคมีในอัตราที่สูง พร้อมทั้งสุขภาพเสื่อมโทรม เจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาพยาบาลเป็นประจำ 1.2 ภาวะการขาดทุนจากการทำการเกษตรที่มีต้นทุนการผลิตสูง ซึ่งเกิดจากการใช้สารเคมีที่มีราคาแพง แต่ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ 1.3 การได้รับความรู้ด้านเกษตรกรรมปลอดสารพิษจากผู้นำเกษตรกร ซึ่งมีโอกาสได้เข้ารับการอบรมเสริมความรู้ทั้งจากภาครัฐและเอกชน มาถ่ายทอดประสบการณ์ซึ่งกันและกันในชุมชน 1.4 ความเชื่อมั่นในประสิทธิผลของเกษตรกรรมปลอดสารพิษ จาการที่ได้มีโอกาสอบรม และศึกษาดูงานในพื้นที่ซึ่งดำเนินงานด้านเกษตรปลอดสารพิษ ซึ่งประสบผลสำเร็จมาแล้ว 2.ปัจจัยเอื้อ 2.1 การสนับสนุนด้านแหล่งทุนและวิชาการจากองค์กรต่าง ๆ ทั้งจากภาครัฐและเอกชน 2.2 การได้ร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการฝึกปฏิบัติและการมีส่วนร่วม ที่จัดโดยภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน 2.3 การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพรวดเร็ว ทำให้เกิดความรัก ความสามัคคี ความเข้าใจซึ่งกันและกัน ส่งผลถึงความร่วมมือร่วมใจในการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตด้านเกษตรกรรม 2.4 คุณภาพของประชากรที่สนใจการศึกษาพัฒนาตนเอง มีความตื่นตัวในการพึ่งพาตนเอง เป็นส่วนที่ผลักดันให้สมาชิกมีความต้องการในการพัฒนาตนเอง 2.5 การมีผู้นำเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จในวิชาชีพจนเป็นที่ยอมรับ เป็นผู้นำโดยธรรมชาติ ข้อเสนอแนะจากการศึกษาวิจัย 1. ในการส่งเสริมหรือขยายผลการทำเกษตรปลอดสารพิษควรเริ่มต้นการส่งเสริมการค้นหาผู้นำการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ก่อน 2. กระบวนการเรียนรู้ที่นำมาใช้เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและสามารถขยายผลการทำเกษตรปลอดสารพิษได้ในระยะเริ่มต้น ควรจัดกระบวนการเรียนรู้ในลักษณะกลุ่มขนาดเล็กอย่างไม่เป็นทางการ ที่มีการแลกเปลี่ยนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ใช้กระบวนการมีส่วนร่วม มีกิจกรรมการทำสารทดแทนสารเคมีร่วมกัน โดยสารทดแทนนั้นควรเน้นวัสดุที่หาได้ในท้องถิ่น 3. การขยายแนวคิดการทำเกษตรปลอดสารพิษ ควรใช้รูปแบบการประสานเชื่อมโยงทุกกลุ่มให้เป็นเครือข่าย โดยมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างสม่ำเสมอ 4. การสนับสนุนจากองค์กรภายนอกทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชนควรเน้นการสนับสนุนการจัดกระบวนการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาศักยภาพผู้นำการเปลี่ยนแปลง 5. ภาครัฐควรส่งเสริมและพัฒนาทักษะ กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการทำงานของเกษตรกร ให้กับเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในท้องถิ่น เช่น เกษตรตำบล ครู หรือ เจ้าหน้าที่สาธารณสุขประจำสถานีอนามัย เป็นต้น 6. ในอนาคตควรมีการศึกษาวิจัยกระบวนการที่เหมาะสมในการค้นหาผู้นำการเปลี่ยนแปลง และกระบวนการขยายทั้งเชิงปริมาณ และคุณภาพ ที่เชื่อมโยงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1204816 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectPesticideen_US
dc.subjectPhichit--Pesticide Usingen_US
dc.subjectสารเคมีen_US
dc.subjectยากำจัดศัตรูพืชen_US
dc.subjectพิจิตร--การใช้สารเคมีen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพหุภาคีในการร่วมปฏิบัติการเพื่อลดการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชในจังหวัดพิจิตรen_US
dc.title.alternativeThe participatory learning of alliance of agricultural action to reduce pesticide using : case study in Phichit provinceen_US
dc.description.abstractalternativeThe Participatory Learning of Alliance of Agricultural action to reduce pesticide using: case study in Phichit province The opjective of this qualitative was to analysis a condition at situation, factors and system procedures affecting to abate the chemicals of agriculturist. To pick and choose 3 village in 3 subdristric of Phichit Provinec were the case study . Data were collected from the leader of villages, the leader of agriculturist, and a member of villages, using interview, observation and focus group discussion, in conjunction with the questionair. The data were interpreted and analyzed in accordance with the related literatures, theories, and narration . The detailed conclusions were introduced in form of report and the procedures for the scheme were also established. The overall conclusion and procedures for affecting to abate the chemicals of agriculturist are as follows; Predisposing factors.To check a health of agriculturist by public health offices were to have an allergy on majority of agriculturist whom to do chemicals of agriculture, to cure a sickness always.To lose from capital of agriculture that to do chemical agriculture but price of produce to be lowly.The leader of agriculturist to training about the natural farming from government service and mon-government oganization, to training the agriculturist.An agriculturists to training about the matural farming and non-chemical agricultuer, to be convinced in effective of non –chemical agriculture.Enabling factor.The government service and non-government oganization to support the capital and technique. An agriculturists to be participate of the learning process with the government service and non-government organization.Communication : make an agriculturists have good relationship and good understanding to one another, which leads to good incorporation in the development scheme. The quality of population are likely to have potential in self-learning and self-development, which, consequently, will influence other to seek for more development. The leader of agriculturist to be complete at the natural farming and non-chemical agriculture.The proposals of this qualitative researchThe promotion to selling or publicized of non-chemical agriculture should be search to change agents in community.The learning process ought to small group for interactive learning : the first, An interactive learning through action were to be considure.Non chemical agriculture were to increase by paticipate of agriculturist network to change the knowledge and technology to be consistent.The government service and non government organization should to increase in learning process development the capable of change agent. The public service should be promote and development of participatory leaning process and skill to the public servant; sub-district agriculture, teacher, public health officer.The future ; should be research the appropriate process to search change agent and planing to promote non-chemical agriculture by integrate economic, society, and environment.en_US
dc.identifier.callnoWA754 ส848ก 2544en_US
.custom.citationสุรเดช เดชคุ้มวงศ์, Suradej Dejkumwongse, สมนึก แจ่มจำรัส, สุนทร ตุตะพะ, จารุภา เหลาหพจนารถ and สุนีย์ สุขสว่าง. "กระบวนการเรียนรู้ร่วมกันของพหุภาคีในการร่วมปฏิบัติการเพื่อลดการใช้สารเคมีควบคุมศัตรูพืชในจังหวัดพิจิตร." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1637">http://hdl.handle.net/11228/1637</a>.
.custom.total_download168
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year1

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0803.pdf
ขนาด: 682.3Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย