ผลกระทบบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อโรงพยาบาลภาครัฐ
dc.contributor.author | อารยา ศรีไพโรจน์ | en_US |
dc.contributor.author | ศรีเพ็ญ ตันติเวสส | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-09-26T10:09:25Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:55:58Z | |
dc.date.available | 2008-09-26T10:09:25Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:55:58Z | |
dc.date.issued | 2543 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารนโยบายและแผนสาธารณสุข. 3,3(2543) : 20-40 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ8 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/165 | en_US |
dc.description.abstract | บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2539 จัดทำขึ้นโดยใช้หลักการและแนวทางในการคัดเลือกยาขององค์การอนามัยโลกที่กำหนดให้มีจำนวนยาที่จำเป็นที่น้อยที่สุด (Minimal List) ต่อมามติของคณะรัฐมนตรีในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ผู้ป่วยที่มีสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการต้องจ่ายค่ายาที่อยู่นอกบัญชียาหลักแห่งชาติ จากมติดังกล่าวมีส่วนกดดันให้ทบทวนปรับปรุงบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2539 ผลจากการปรับปรุงทำให้ได้บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่มีจำนวนรายการยามากขึ้น บัญชียาหลักแห่งชาติฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อวันที่ 29 เดือนมกราคม พ.ศ. 2539 มีจำนวนรายการยา 933 รายการ ตัวยาถูกจัดเป็นบัญชีย่อย 5 บัญชีคือ บัญชี ก. ข. ค. ง. และ จ. โดยนัยของการทบทวน บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 เป็น Maximum List วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้ 1) เพื่อเปรียบเทียบจำนวนรายการยาและมูลค่าการใช้ยาในปีงบประมาณ 2542 ที่ถูกจัดกลุ่มตามบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2539 และบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 2) เพื่อวิเคราะห์ผลการดำเนินการของคณะกรรมการเภสัชกรรมและการบำบัดในการทบทวนรายการยาในโรงพยาบาล พ.ศ. 2542 3) เพื่อประเมินผลกระทบของบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อผู้ป่วยแต่ละสิทธิ์ ได้แก่ ผู้ป่วยสิทธิ์สวัสดิการข้าราชการ ผู้ป่วยที่มีรายได้น้อย ผู้ป่วยประกันสุขภาพ และผู้ป่วยประกันสังข้อมูลได้จากวิธีการศึกษา 2 วิธีคือ การวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ ผลการศึกษามีโรงพยาบาล 34 โรงพยาบาล (จาก 88 โรงพยบาล) ที่ส่งข้อมูลบัญชีรายการยาและมูลค่าการใช้ยาในปีงบประมาณ 2542 ในรูป Diskette มาให้ และมีโรงพยาบาล 95 โรงพยาบาล (จาก 108 โรงพยาบาล) ที่ให้สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ การศึกษาพบว่าโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ และโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยยังมีสัดส่วนของยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติสูง ทั้งๆ ที่บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มีจำนวนรายการยาที่เพิ่มขึ้นมาก มูลค่าการใช้ยาของยาที่เคยเป็ยยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2539 แล้วกลายมาเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 คิดเป็นร้อยละได้ดังนี้คือ 9.9, 24.2, 32.4, 42.5 และ 42.2 ของมูลค่าการใช้ยารวมในโรงพยาบายชุมชน โรงพยาบาลทั่วไป โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ และโรงพยาบาลสังกัดทบวงมหาวิทยาลัยตามลำดับ มูลค่ารวมการใช้ยาของยาที่เคยเป็นยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2539 แล้วกลายมาเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ของ 34 โรงพยาบาลเป็นเงิน 881.67 ล้านบาท นั่นคือถ้าหากยังใช้บัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2539 และให้ผู้ที่มีสิทธิ์ในสวัสดิการรักษาพยาบาลประเภทต่างๆ เบิกจ่ายได้เฉพาะยาในบัญชียาหลักแห่งชาติเท่านั้น ผู้ดูแลรับผิดชอบผู้ป่วยทุกสิทธิ์ที่ไปรับการรักษาที่ 34 โรงพยาบาลนี้จะสามารถประหยัดเงินได้จำนวน 881.67 ล้านบาท สำหรับมูลค่ารวมการใช้ยาของยาในบัญชี ง. ซึ่งส่วนใหญ่เป็นยาที่มีราคาแพงและได้กำหนดให้มีการกำกับประเมินและตรวจสอบการใช้ยา (ระบบ Drug Utilization Evaluation - DUE) ของโรงพยาบาล 34 โรงพยาบาลมีมูลค่าประมาณ 602 ล้านบาทในปีงบประมาณ 2542 คิดเป็นร้อยละ 24.2 ของมูลค่าการใช้ยาทั้งหมดของ 34 โรงพยาบาล จากการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์พบว่าสำหรับยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ที่คณะกรรมการเภสัชกรรมและบำบัดของโรงพยาบาลเสนอเพื่อให้เข้ามาอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 โดยให้เหตุผลว่าเป็นยาที่ต้องใช้ในผู้ป่วยและมีราคาถูก ส่วนใหญ่เป็นยาที่เคยถูกพิจารณาโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติไม่ให้เข้าเป็นยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ส่วนหลักเกณฑ์การจ่ายยาสำหรับผู้ป่วยแต่ละสิทธิ์ของโรงพยาบาลพบว่า ผู้ป่วยสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการมีสิทธิ์ในการได้รับยามากกว่า ผู้ป่วยประกันสังคม ผู้ป่วยประกันสุขภาพ และผู้ป่วยที่มีรายได้น้อยตามลำดับ | en_US |
dc.format.extent | 1314780 bytes | en_US |
dc.format.mimetype | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.rights | สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข | en_US |
dc.subject | บัญชียาหลักแห่งชาติ | en_US |
dc.title | ผลกระทบบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อโรงพยาบาลภาครัฐ | en_US |
dc.title.alternative | The Implications of 1999 national essential drug list on public hospitals in Thailand | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.description.abstractalternative | Thailand’s 1996 National Essential Drug List (NEDL) was based on the World Health Organization (WHO) minimal drug list concept. However, after Cabinet Resolution in February 1998, copayment for drugs outside the NEDL was enforced to Civil Servant Medical Benefit Scheme (CSMBS) beneficiaries. Pressures from CSMBS copayment triggered the 1996 NEDL revision resulted in a new version of “maximum drug list” 1999 NEDL. Promulgated on January 29, 1999, the current 1999 NEDL consisted of 933 items classified as sub-list A., B., C., D. and E whereby DUE must be introduced for the use of sub-list D. The objectives of this study were 1) to compare the hospital drug list and cost of drug consumption in fiscal year 1999 broken down by sub-lists of 1996 NEDL compared to 1999 NEDL, 2) to analyze the pharmaceutical and therapeutic committee (PTC) decisions on their hospital drug list revision in 1993, 3) to assess the impact of 1999 NEDL on different types of patients, namely CSMBS, Low income patients, Voluntary Health Card Holders and Social Security Scheme (SSS) beneficiaries. The researchers used two approaches: document research and structured telephone interview. Thirty-four hospitals (39% of proposed samples) agreed to provide electronic database of the fiscal year 1999 drug list and consumption value. Ninety five from 108 hospitals agreed to provide telephone interviews. Despite the fact of maximum list of 1999 NEDL, Department of Medical Service hospitals (DMS) and non-Ministry of Public Health (non-MOPH) public hospitals dispensed quite high proportion of non-ED drugs. Reclassification of previously 1996 non-ED into sub-lists A., B., C., D. and E. of 1999 NEDL account for 9.9%, 24.2%, 32.4%, 42.5% and 42.2% of total drug consumption in district, provincial, regional, DMS and non-MOPH public hospitals respectively. Cost of drug consumption due to reclassification of 1996 non-ED to 1999 DEDL account for 881.67 million Baht in 34 hospitals, this implies that if there were no 1999 NEDL, there will be savings of 881.67 million Baht to insurance schemes assuming that all ED are reimbursable. Sub-list D. drug consumption in 34 hospitals was 602 million Baht in the fiscal year 1999, 24.2% of total drug consumption in these hospitals. Telephone interview reveals to the reasons for adding some more non-EDs into 1999 NEDL by PTC in 15 hospitals are patients have to take and cheap cost. All these drugs were drugs that used to be considered by 1999 NEDL developing subcommittee. There are some extent discriminating dispensing policy, biased towards CSMBS and against Low Income Scheme beneficiaries, Social Insurance and Voluntary Health Card lied in-between, during the 1999 hospital drug list revisions. | en_US |
dc.subject.keyword | โรงพยาบาลภาครัฐ | en_US |
.custom.citation | อารยา ศรีไพโรจน์, ศรีเพ็ญ ตันติเวสส and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ผลกระทบบัญชียาหลักแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ต่อโรงพยาบาลภาครัฐ." 2543. <a href="http://hdl.handle.net/11228/165">http://hdl.handle.net/11228/165</a>. | |
.custom.total_download | 1751 | |
.custom.downloaded_today | 3 | |
.custom.downloaded_this_month | 39 | |
.custom.downloaded_this_year | 823 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 136 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
ฉบับเต็ม
ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)