Show simple item record

Local media procedures for health communication

dc.contributor.authorดวงพร คำนูณวัฒน์th_TH
dc.contributor.authorDongporn Khamnuwaten_US
dc.contributor.authorนิยะนันท์ สำเภาเงินth_TH
dc.contributor.authorสุนิดา ศิวปฐมชัยth_TH
dc.contributor.authorNiyanan Sampao-ngernen_US
dc.contributor.authorSunida Siwaphathomchaien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:31Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:37:42Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:31Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:37:42Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1187en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1707en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของสื่อท้องถิ่นth_TH
dc.description.abstractศึกษาการสื่อสารด้านสุขภาพของสื่อท้องถิ่น 5 ประเภท ได้แก่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น วิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด วิทยุชุมชน หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย และ เคเบิลทีวี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เนื้อหาและการนำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพของสื่อท้องถิ่น ลักษณะการดำเนินงานของผู้ทำหน้าที่สื่อสารด้านสุขภาพ การเปิดรับสื่อและความคาดหวังของผู้รับสารในการรับข้อมูลด้านสุขภาพ และแนวโน้มการใช้สื่อท้องถิ่นเพื่อการสื่อสารสุขภาพ ดำเนินงานวิจัยใน 6 จังหวัด ได้แก่ แพร่ นครพนม นครปฐม จันทบุรี กาญจนบุรี และสตูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ สื่อท้องถิ่น ได้แก่ หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 16 หัว (95 ฉบับ) วิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด 14 สถานี วิทยุชุมชน 6 สถานี หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย 6 แห่ง และเคเบิลทีวี 5 สถานี ผู้ทำหน้าที่สื่อสาร 45 คน แบ่งเป็นทำงานหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น 14 คน วิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัด 14 คน วิทยุชุมชน 6 คน หอกระจายข่าว/เสียงตามสาย 6 คน และเคเบิลทีวี 5 คน ผู้รับสารในท้องถิ่นจาก 6 จังหวัด รวม 643 คน เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสำรวจ และสัมภาษณ์ วิเคราะห์ผลสื่อท้องถิ่นด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และแปลผลในส่วนของผู้ทำหน้าที่สื่อสารและผู้รับสารในท้องถิ่นด้วยวิธีการทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า วิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัดนำเสนอเนื้อหาด้านสุขภาพเกี่ยวกับอโรคยามากที่สุด มุ่งให้ผู้รับสารทราบวิธีการป้องกันตนเอง และมีการนำเสนอใน 4 รูปแบบ คือ รายการสุขภาพ สปอต แทรกในรายการข่าวท้องถิ่น และโฆษณา การดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของวิทยุชุมชนส่วนใหญ่มีคณะกรรมการดูแล โดยได้รับการสนับสนุนจากองค์กรเอกชน นำเสนอด้วยการจัดรายการสุขภาพโดยตรง และ แทรกอยู่ในรายการอื่น ประเด็นมักเกี่ยวข้องกับ อโรคยา และอาหาร เพื่อป้องกัน และสร้างเสริมสุขภาพมากกว่าการรักษาและฟื้นฟู ไม่มีการนำเสนอเนื้อหาสุขภาพในรูปแบบของการจัดเป็นรายการสุขภาพโดยตรงจากหอกระจายข่าว/เสียงตามสาย มักเป็นการประกาศข่าวสารให้ทราบหรือให้ไปรับบริการ และเปิดสปอตที่ส่วนราชการผลิต และเคเบิลทีวี ส่วนใหญ่นำเสนอข้อมูลสุขภาพผ่านรายการข่าวท้องถิ่น เพื่อแจ้งให้ทราบหรือรายงานเหตุการณ์ เนื้อหามักเกี่ยวข้องกับอโรคยา และอาหาร หนังสือพิมพ์ท้องถิ่น ซึ่งเป็นธุรกิจสื่อขนาดเล็ก เผยแพร่เป็นราย 5 วัน – เดือน นำเสนอเนื้อหาสุขภาพทุกประเภท ในรูปแบบของการรายงานข่าว บทวิเคราะห์ และโฆษณา สำหรับผู้ทำหน้าที่สื่อสารสุขภาพ ส่วนใหญ่เป็นชายและจบศึกษาระดับปริญญาตรี อายุอยู่ระหว่าง 25-55 ปี มีประสบการณ์การทำงาน 1-30 ปี มักทำงานสื่อท้องถิ่นหลายประเภท และมีการทำงานเป็นผู้สื่อข่าวให้กับสื่อส่วนกลาง บางคนทำงานสื่อเป็นอาชีพรอง และมีการใช้แหล่งข่าวในการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพหลายช่องทาง ส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ด้านสุขภาพจึงนำเสนอรายการสุขภาพ/บทวิเคราะห์สุขภาพในจำนวนน้อย และต้องอาศัยแหล่งข่าวด้านสุขภาพ ผู้รับสารในท้องถิ่น เป็นหญิงมากกว่าชายเล็กน้อย มีอายุอยู่ระหว่าง 31-60 ปี จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา ต่างมีความต้องการให้สื่อท้องถิ่นทั้ง 5 ประเภท สื่อสารด้านสุขภาพ โดยมีความคาดหวังจากวิทยุกระจายเสียงประจำจังหวัดมากที่สุด และจากเคเบิลทีวีน้อยที่สุด ต้องการเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับอโรคยามากที่สุด มีความต้องการให้ทุกสื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหาด้านสุขภาพ โดยนำเสนอเรื่องใกล้ตัว สามารถนำไปปฏิบัติได้ ข้อมูลมีความถูกต้อง เข้าใจง่าย มีความสม่ำเสมอต่อเนื่องและจริงจัง แม้ผู้ทำหน้าที่สื่อสารและผู้รับสารต่างมีความต้องการเพิ่มปริมาณเนื้อหาด้านสุขภาพ แต่ด้วยข้อจำกัดด้านความรู้ ข้อมูล แหล่งข่าวและงบประมาณ อีกทั้งสื่อบางประเภทดำเนินงานโดยคำนึงถึง ผลประโยชน์ด้านธุรกิจท้องถิ่นเหล่านี้จึงยังไม่สามารถทำหน้าที่สื่อสารสุขภาพได้อย่างเต็มที่เท่าที่ควรth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Communication Systemen_US
dc.subjectระบบสื่อสารสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)en_EN
dc.titleสถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของสื่อท้องถิ่นth_TH
dc.title.alternativeLocal media procedures for health communicationen_US
dc.description.abstractalternativeThis research was aimed to study the health communication of 5 types of local media; local newspapers, provincial broadcasting radios, community radios, news broadcasting towers, and cable televisions. The main objectives of this research were to study health communication content and presentations, health communicators’ procedures, audiences’ exposure and expectation of receiving health information and the tendency of local media use for health communication. The area of this research included six provinces; Prae, Nakhonpanom, Nakhonpathom, Chantaburi, Kanchanaburi and Stun. The sampling group of this research included five kinds of local media (16 titles of local newspapers or 95 pieces, 14 provincial radio broadcasting stations, 6 community radio stations, 6 news broadcasting towers and 5 cable television station), 45 communicators in 5 fields of media work (14 communicators of local newspapers, 14 communicators of radio broadcasting stations, 6 communicators of community radio stations, 6 communicators of news broadcasting towers, and 5 communicators of cable television stations) and 643 local media audience from 6 provinces mentioned above. The methodology conducted for this research involved surveys and interviews. The data of local media was analyzed by content analysis methodology and the data of communicators and audiences was analyzed by statistics methodology. As a result of the study, it was found that the health content presented by provincial radio was mostly related to “disease”, with the aim of making the audience know how to protect themselves from getting ill. The content was presented in 4 forms; health programs, radio spots, trifling information inserted into other programs, and advertisements. Regarding the community radio stations, the health communication management was mostly under the control of the station committee, supported by private organizations. The content was presented in the forms of health programs and pieces of information in other programs. The main issues of the content were mostly related to “disease” and “food” with the objectives of disease prevention and health promotion more than disease cure and rehabilitation. In the case of the news broadcasting towers, health content was not presented in the form of health programs but the announcement of health service and spots from official organizations were found being broadcast instead. Most of the cable television stations presented health information through local news programs to inform or report the events. The content was mostly related to “disease” and “food”. While small-size medium local newspapers, published from every five days to monthly, presented every type of health content in the forms of news reports, articles and advertisements. Regarding the health communicators, most of them were male, aged between 25-55, with 1 to 30 years work experience holding Bachelor degrees. They usually worked in many fields of local media and also worked as stingers for the media in Bangkok while some of them do this work as the second job. Most of these communicators had no knowledge of health so health columns and articles were brief with the use of many sources for health information. The local audiences, aged between 31 to 60, mostly were female, and graduated from secondary schools. They needed all 5 kinds of local media to communicate health information especially the provincial broadcasting radios. The audiences expected to receive health information from cable televisions least. However, they expected every local medium to increase the presentation of health content especially the continuous practical information which is easy to understand, correct and serious. The most needed content was information about “disease”. Although the communicators and audiences has desired an increase in the quantity of health content presentation, due to the limitation of knowledge, information, sources, budgets and also being attached to business interests of some media, the local media has been still unable to communicate health information with full-efficiency as they should do.en_US
dc.identifier.callnoWA590 ด211ส 2548en_US
dc.identifier.contactno47ค060en_US
dc.subject.keywordHealth Communicationen_US
dc.subject.keywordLocal Mediaen_US
dc.subject.keywordสื่อสารด้านสุขภาพen_US
dc.subject.keywordสื่อท้องถิ่นen_US
.custom.citationดวงพร คำนูณวัฒน์, Dongporn Khamnuwat, นิยะนันท์ สำเภาเงิน, สุนิดา ศิวปฐมชัย, Niyanan Sampao-ngern and Sunida Siwaphathomchai. "สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของสื่อท้องถิ่น." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1707">http://hdl.handle.net/11228/1707</a>.
.custom.total_download117
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1187.pdf
Size: 3.858Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record