แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ผลกระทบของพฤติกรรมผู้นำและวัฒนธรรมองค์การต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล

dc.contributor.authorศิริรัตน์ ชำนาญณรงค์ศักดิ์th_TH
dc.contributor.authorSirirat Chamnannarongsaken_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:35Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:38:55Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:35Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:38:55Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1101en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1715en_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำที่มีภาวะผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพ (Facilitator, Mentor, Innovator และ Broker Role) และภาวะผู้นำแบบแลกเปลี่ยน (Producer, Director, Coordinator และ Monitor Role) และแบบวัฒนธรรมองค์การ (Achievement, Support, Role และ Power-oriented culture) ที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ผ่านกระบวนการการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของผู้บริหาร 2) เพื่อค้นหาขนาดอิทธิพลทางตรงของพฤติกรรมผู้นำที่มีต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา 3) เพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของวัฒนธรรมองค์การที่มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา 4) เพื่อเปรียบเทียบขนาดอิทธิพลทางอ้อมของพฤติกรรมผู้นำและแบบวัฒนธรรมองค์การที่มีผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา 5) เพื่อตรวจสอบความกลมกลืนของโมเดลการวิจัยกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวมของพฤติกรรมผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยแจกแบบสอบถามได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจงซึ่งเป็นผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้องกับโครงการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชน 9 แห่งที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2538 จำนวน 800 คน และได้รับแบบสอบถามคืน จำนวน 550 ฉบับ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ผู้วิจัยสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง ซึ่งเป็นผู้บริหารโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐและเอกชน 8 แห่ง สถิติที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1) สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุแบบขั้นตอนเพื่อตรวจสอบความสัมพันธ์ของพฤติกรรมผู้นำที่มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ ตามการรับรู้ของผู้บริหาร ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่าการรับรู้ของผู้บริหารทั้งโรงพยาบาลภาครัฐและภาคเอกชนมีพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่ใช้บทบาท Producer role มีอิทธิพลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ 20% เมื่อพิจารณาองค์ประกอบย่อยขององค์กรแห่งการเรียนรู้พบว่าพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่ใช้บทบาท Producer role มีอิทธิพลต่อระบบการจัดการความรู้ในองค์กรแห่งการเรียนรู้ 29% 2) การสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเกี่ยวกับวัฒนธรรมองค์กร พบว่าผู้นำส่วนใหญ่เชื่อว่ากระบวนการเรียนรู้การพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาล ทำให้มีการเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานของบุคลากรเป็นที่สังเกตุได้ชัดเจน วัฒนธรรมองค์กรภายหลังผ่านกระบวนการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมีการเปลี่ยนแปลงในระดับหนึ่ง 3) การวิเคราะห์โมเดลลิสเรล (LISREL) เพื่อค้นหาขนาดอิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของพฤติกรรมผู้นำที่มีต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชา ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่าการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาของโรงพยาบาลเอกชน รับรู้ว่าพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่ใช้บทบาท Director role และพฤติกรรมผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพที่ใช้บทบาท Broker role มีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่ใช้บทบาท Coordinator role มีอิทธิพลโดยอ้อมต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยผ่านวัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement-oriented culture) และวัฒนธรรมองค์การแบบสนับสนุนเกื้อกูล (Supportive-oriented culture) ตามลำดับ ส่วนการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาของโรงพยาบาลรัฐรับรู้ว่าพฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่ใช้บทบาท Producer และ Director role มีอิทธิพลโดยตรงต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้และพฤติกรรมผู้นำแบบเปลี่ยนสภาพที่ใช้บทบาท Mentor role และ พฤติกรรมผู้นำแบบแลกเปลี่ยนที่ใช้บทบาท Director Monitor และ Coordinator role มีอิทธิพลโดยอ้อมต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยผ่านวัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement-oriented culture) และวัฒนธรรมองค์การแบบสนับสนุนเกื้อกูล (Supportive-oriented culture) ตามลำดับ และมีอิทธิพลทางอ้อมต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยผ่านวัฒนธรรมองค์การแบบมุ่งผลสำเร็จ (Achievement-oriented culture) และวัฒนธรรมองค์การแบบกฏระเบียบ (Role-oriented culture) ตามลำดับ อย่างไรก็ตามวัฒนธรรมองค์การแบบใช้อำนาจบังคับ (Power-oriented culture) ไม่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งในโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้ยังพบว่าแบบจำลององค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงพยาบาลภาคเอกชนสามารถอธิบายได้ 42% ส่วนแบบจำลององค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงพยาบาลภาครัฐสามารถอธิบายได้ 49% ดังนั้นแบบจำลององค์กรแห่งการเรียนรู้ของโรงพยาบาลเอกชนและรัฐที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลมีความกลมกลืนของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในภาพรวมตามสมมุติฐานที่กำหนดไว้ ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่ามีความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมผู้นำส่งผลโดยตรงต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ และส่งผลทางอ้อมต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้โดยผ่านการรับรู้วัฒนธรรมองค์การในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาแบบจำลององค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้ใต้บังคับบัญชาเท่านั้น ดังนั้นในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรทำการเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้นำ วัฒนธรรมองค์การ และองค์กรแห่งการเรียนรู้ในผู้บริหารโรงพยาบาลเพื่อที่จะเปรียบเทียบและวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างแบบจำลององค์กรแห่งการเรียนรู้ตามการรับรู้ของผู้บริหารและผู้ใต้บังคับบัญชา ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษากลุ่มตัวอย่างเฉพาะโรงพยาบาลเอกชนและรัฐที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลเท่านั้น ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไปควรศึกษาในองค์กรอื่นๆ เช่น สถาบันการศึกษา เช่น สถาบันอุดมศึกษาที่ผ่านการรับรองคุณภาพองค์กร และควรติดตามและศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเดิมว่าสามารถธำรงรักษาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ข้อเสนอแนะในการนำผลวิจัยไปใช้เป็นแนวทางให้หน่วยงานพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการพัฒนาภาวะผู้นำของบุคคลในโรงพยาบาลรัฐและเอกชน รวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาองค์กรให้มีความยั่งยืนขององค์กรแห่งการเรียนรู้โดยบริหารวัฒนธรรมองค์การของโรงพยาบาลให้มีแบบมุ่งผลสำเร็จและแบบเกื้อกูล หรือแบบมุ่งผลสำเร็จและแบบกฏระเบียบth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent3059684 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languageengen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญen_US
dc.subjectLeadershipen_US
dc.subjectHospital Administrationen_US
dc.subjectHospital, Publicen_US
dc.subjectHospital, Privateen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleผลกระทบของพฤติกรรมผู้นำและวัฒนธรรมองค์การต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลth_TH
dc.title.alternativeEffects of leadership behaviors and organization culture on the development of learning organization : case study of private and public hospitals with hospital accreditationen_US
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this study is to understand the relationship between roles of transformational and transactional leadership behaviors, types of a current organizational culture, and attributes of the learning organization in both private and public certified and accredited hospitals. The study has the following four objectives: 1) to test the relationship between leadership behaviors as perceived by administrators and the learning organization and each of its attributes, 2) to determine how much variation and what direct effect leadership behaviors have on learning organizations as perceived by subordinates, 3) to determine how much variation types of current organizational culture (achievement, support, role, and power–oriented culture) have on learning organizations, including both private and public hospitals, 4) to compare variations in indirect effects of leadership behaviors on learning organizations with regard to types of current organizational culture as perceived by subordinates, and 5) to confirm and compare the path analysis of a theoretical model showing subordinates perceived causality between eight roles of leadership behavior, four roles of a current organizational culture, and the development of a learning organization. The quantitative study utilized information from eight hundred healthcare professions systematically selected from nine hospitals in both sectors having been certified and accredited with HA since 1995. Five hundred and fifty respondents from different levels and jobs involved with quality improvement programs completed the questionnaire that was sent to them. Multiple regression using a stepwise technique was utilized for analyzing hospital’s chief executive perception of the eight roles of transformational and transactional leadership behaviors and to determine variance in the development of a learning organization. The results indicated that chief executives in both private and public hospitals viewed themselves as leaders performing transactional leadership behavior, with the producer role explaining 20% of the variance in the development of a learning organization. Regarding the significant relationship of each attribute of a learning organization, transactional leadership role of producer was a significant predictor of knowledge system and explained 29% of the variation. Chief executives with producer role, thus emphasized the knowledge system, that is, the development of new knowledge and insights that have the potential to influence behavior. The study also conducted semi-structured interviews with the chief executives of the hospitals to obtain their perception on the current organizational culture to gain insight about how the organizational culture has changed over time since they have participated in HA.For the subordinate’s perception of both two sectors, this study used quantitative techniques through a questionnaire survey. Descriptive statistics and structural equation modeling (SEM) based on LISREL methodology were applied to analyze the results. Direct and indirect effects were examined. The private hospitals’ learning organization model indicates that the development of a learning organization was directly influenced by transactional leadership (the director role) and transformational leadership (the broker role), regardless of the nature of organizational culture. For the public hospitals’ learning organization model, it indicates learning organization was directly influenced by transactional leadership (the producer and director role), regardless of organizational culture. Furthermore, the private hospitals’ learning organizational model illustrates that the development of a learning organization from learning the process of how to initiate and implement hospital accreditation successfully is indirectly affected by leaders using the coordinator role through the achievement culture and the supportive culture respectively. The public hospitals’ learning organization model indicates that the development a learning organization is indirectly influenced by transformational leadership (the mentor role) and transactional leadership (the director, coordinator, and monitor role) via achievement–oriented culture and supportive culture or via achievement–oriented culture and role-oriented culture respectively. Consequently, 42% of the variation in private hospitals’ learning organization model and 49% of the variation in public hospitals’ learning organization model were explained. Finally, the learning organization model in both private and public hospitals was found to adequately fit the hypothesized structural model with the satisfactory goodness-of-fit level. In addition, the results indicate the learning organization would not exist without the two supporting foundations of appropriate leadership behavior and organizational culture. Thus, the findings suggest that leadership behavior influences the organizational culture and is deemed an appropriate starting point in the casual relationship model. It confirms a theoretical model claiming that subordinates of both sectors see causality between leadership behaviors, a current organizational culture, and a learning organization. For future research, it is recommended to replicate the study but also include the measurement of a current organizational culture as perceived by the leaders. Thus, the replicated study will be able to compare and confirm two causal models of the development of a learning organization between leader’s perception and subordinate’s perception. With in this regard, the results of the future study will show whether or not a discrepancy exists between them. Moreover, replication of this study in other organizations such as educational institute would be useful. A follow-up study after several years of HA would indicate whether or not the attributes of a learning organization have been sustained in these hospitals. The results of the study also point to two important practical implications for organizational policy and human resource management. First, the training program for leaders is in organizational culture management because the development of a learning organization gained from learning how to implement quality improvement will be not sustained, unless culture of hospital change. The culture change process is recommended. The second implication on this study includes a leadership training and development program for chief executives of both private and public hospital.en_US
dc.identifier.callnoWX155 S619e 2004en_US
dc.identifier.contactno46ค046en_US
dc.subject.keywordLeadership Behaviorsen_US
dc.subject.keywordOrganizational Cultureen_US
dc.subject.keywordLearning Organizationen_US
.custom.citationศิริรัตน์ ชำนาญณรงค์ศักดิ์ and Sirirat Chamnannarongsak. "ผลกระทบของพฤติกรรมผู้นำและวัฒนธรรมองค์การต่อการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ : กรณีศึกษาโรงพยาบาลภาครัฐและเอกชนที่ผ่านการรับรองคุณภาพโรงพยาบาล." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1715">http://hdl.handle.net/11228/1715</a>.
.custom.total_download235
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1101.pdf
ขนาด: 1.352Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย