แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ภาระงานของบุคลากรและประสิทธิภาพการใช้เตียงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด ปี 2543

dc.contributor.authorวลัยพร พัชรนฤมลen_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียรen_US
dc.date.accessioned2008-09-27T11:06:12Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-15T08:53:00Z
dc.date.available2008-09-27T11:06:12Zen_US
dc.date.available2557-04-15T08:53:00Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.citationวารสารวิชาการสาธารณสุข. 10,3(2544) : 400-410en_US
dc.identifier.otherDMJ14en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/171en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณงานรักษาของบุคลาการ 3 สายงานได้แก่ แพทย์ เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ งบประมาณ 2543 ของโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัดทุกแห่งในประเทศไทยทำการศึกษาระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2544 โดยใช้ข้อมูลจำนวนครั้งผู้ป่วยนอกและจำนวนรายผู้ป่วยในจาก 0110 รง.5 ของโรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปทุกแห่งในประเทศไทยและข้อมูลจำนวนแพทย์, เภสัชกร และพยาบาลวิชาชีพ ที่ปฏิบัติงานจริงจากกองโรงพยาบาลภูมิภาคและกองสาธารณสุขภูมิภาค ปีงบประมาณ 2543 ยกเว้นพยาบาลวิชาชีพของโรงพยาบาลชุมชนเป็นจำนวนตามบัญชีถือจ่ายเงินเดือน (จ.18) ถ่วงน้ำหนักจำนวนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปด้วยร้อยละความต้องการแพทย์เฉพาะทางของแต่ละแผนกตรวจด้วยน้ำหนัก 2 และถ่วงน้ำหนักผู้ป่วยในทุกโรงพยาบาลด้วยค่าเฉลี่ยน้ำหนักสัมพันธ์ของกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG/RW), วันนอน และสัดส่วนต้นทุนดำเนินการต่อวันผู้ป่วยใน/ครั้งผู้ป่วยนอก (unit cost IP day/OP visit) นำผลรวมของผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในที่ถ่วงน้ำหนักแล้ว มาหารด้วยจำนวนบุคลากรแต่ละสายงาน จะได้ภาระงานต่อบุคลากร 1 คน วิเคราะห์ดัชนีความแตกต่าง (discrepancy index) เพื่อเปรียบเทียบปริมาณงานรักษาต่อบุคลากรระหว่างโรงพยาบาลทุกแห่งภายในจังหวัด เปรียบเทียบระหว่างจังหวัดภายในเขตเดียวกัน และเปรียบเทียบเขตต่างๆ ทั้ง 12 เขตของประเทศไทย พบว่า ภาคอีสานเป็นภาคที่มีดัชนีภาระงานทั้ง 3 สายงาน สูงกว่าค่าเฉลี่ยทั้งประเทศ และเป็นค่าสูงสุด แสดงว่ามีภาระงานต่อบุคลากร 1 คนมากที่สุด ส่วนภาคตะวันออกเป็นภาคที่มีดัชนีภาระงานของแพทย์และพยาบาลวิชาชีพต่ำสุด ภาคใต้มีดัชนีภาระงานของเภสัชกรต่ำที่สุด แสดงว่าแพทย์และพยาบาลวิชาชีพในภาคตะวันออกมีภาระงานน้อยที่สุด เภสัชกรในภาคใต้มีภาระงานที่น้อยที่สุด ค่าเฉลี่ยอัตราการครองเตียงและอัตราการใช้เตียงของประเทศไทยเท่ากับ 88% และ 82 คนต่อเตียงต่อปี ตามลำดับ ภาคอีสานเป็นภาคที่มีอัตราการครองเตียงและการใช้เตียงสูงสุดของประเทศไทยเท่ากับ 95% และ 100 คนต่อเตียงต่อปี ตามลำดับ ดัชนีความแตกต่าง เป็นเครื่องมือที่ชี้ให้เห็นถึงความหนักเบาของภาระงานต่อบุคลากร 1 คน สามารถนำมาเปรียบเทียบกันได้ในสายงานเดียวกัน แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบต่างสายงานกันได้ เนื่องจากแต่ละสายงานมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่ไม่เหมือนกันen_US
dc.format.extent910195 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.rightsสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศen_US
dc.titleภาระงานของบุคลากรและประสิทธิภาพการใช้เตียงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด ปี 2543en_US
dc.typeArticleen_US
dc.subject.keywordภาระงานของบุคลากรโรงพยาบาลen_US
dc.subject.keywordความไม่เสมอภาคen_US
dc.subject.keywordการจัดสรรทรัพยากรคนen_US
dc.subject.keywordการจัดสรรทรัพยากรเตียงen_US
dc.subject.keywordประสิทธิภาพen_US
.custom.citationวลัยพร พัชรนฤมล and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "ภาระงานของบุคลากรและประสิทธิภาพการใช้เตียงโรงพยาบาลชุมชนและโรงพยาบาลจังหวัด ปี 2543." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/171">http://hdl.handle.net/11228/171</a>.
.custom.total_download1894
.custom.downloaded_today3
.custom.downloaded_this_month113
.custom.downloaded_this_year356
.custom.downloaded_fiscal_year624

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: 2001_DMJ14_ภาระงา ...
ขนาด: 888.8Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย