สถานพยาบาลต้องปรับตัวอย่างไรภายใต้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า-กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี
dc.contributor.author | ภูษิต ประคองสาย | en_US |
dc.contributor.author | วลัยพร พัชรนฤมล | en_US |
dc.contributor.author | วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร | en_US |
dc.coverage.spatial | จันทบุรี | en_US |
dc.date.accessioned | 2008-09-27T11:15:27Z | en_US |
dc.date.accessioned | 2557-04-15T08:53:17Z | |
dc.date.available | 2008-09-27T11:15:27Z | en_US |
dc.date.available | 2557-04-15T08:53:17Z | |
dc.date.issued | 2544 | en_US |
dc.identifier.citation | วารสารวิชาการสาธารณสุข. 10,3(2544) : 411-422 | en_US |
dc.identifier.other | DMJ15 | en_US |
dc.identifier.uri | http://hdl.handle.net/11228/172 | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์ทางการเงินด้านรายจ่ายและรายรับภายใต้ฉากทัศน์ต่างๆ ของการดำเนินการตามนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า และต้นทุนดำเนินการต่อหน่วยของสถานพยาบาลในจังหวัดจันทบุรีปีงบประมาณ 2543 ซึ่งเป็นจังหวัดหนึ่งที่คาดว่าจะต้องมีการปรับตัวจากผลกระทบของโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า ในเดือนตุลาคม 2544 วิธีการศึกษาใช้ข้อมูลด้านทรัพยากรและการเงินที่มีอยู่ในระบบรายงานปรกติ ร่วมกับข้อมูลที่ได้จากการสำรวจของสถานพยาบาลทุกแห่งในช่วงระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2544 มาทำการวิเคราะห์แบบแผนรายรับ – รายจ่ายเงินงบประมาณและเงินนอกงบประมาณปี 2543 รวมทั้งต้นทุนดำเนินการต่อหน่วย ทำการประมาณการรายรับและรายจ่ายที่จะเกิดขึ้นในภาพรวมของจังหวัดภายใต้ระบบการประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการตอบสนองของประชาชนในระดับต่าง ๆ พบว่า สถานพยาบาลในจังหวัดจันทบุรีจะได้รับผลกระทบเนื่องจากรายรับที่ลดลงและการมีรายจ่ายดำเนินการที่ค่อนข้างสูง สถานพยาบาลทุกระดับต้องมีการปรับตัวด้านประสิทธิภาพรายจ่ายบุคลากรเนื่องจากมีรายจ่ายด้านค่าแรงมากกว่าครึ่งหนึ่งของรายจ่ายดำเนินการทั้งหมด โรงพยาบาลพระปกเกล้าจะต้องมีการปรับตัวอย่างมาก เนื่องจากมีต้นทุนดำเนินการต่อหน่วย (508 บาทต่อครั้งผู้ป่วยนอก และ9,139 บาทต่อรายผู้ป่วยใน) ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไปที่นำมาคำนวณอัตราเหมาจ่ายรายหัวตามนโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า (278 บาทต่อครั้งผู้ป่วยนอก และ 5,424 บาทต่อรายผู้ป่วยใน) การปรับระบบการจัดซื้อจัดหาเวชภัณฑ์ การจัดอัตรากำลัง การปรับค่าตอบแทนที่เหมาะสมและการช่วยเหลือซึ่งกันและกันระหว่างสถานพยาบาลทั้งหมดในจังหวัดโดยมีหน่วยงานกลางซึ่งเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายจะสามารถช่วยประสานงานและลดผลกระทบในภาพรวมของจังหวัดได้ | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.rights | สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ | en_US |
dc.subject | ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
dc.subject | โรงพยาบาลพระปกเกล้า | en_US |
dc.title | สถานพยาบาลต้องปรับตัวอย่างไรภายใต้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า-กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี | en_US |
dc.type | Article | en_US |
dc.subject.keyword | ต้นทุนดำเนินการต่อหน่วย | en_US |
dc.subject.keyword | นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า | en_US |
.custom.citation | ภูษิต ประคองสาย, วลัยพร พัชรนฤมล and วิโรจน์ ตั้งเจริญเสถียร. "สถานพยาบาลต้องปรับตัวอย่างไรภายใต้นโยบายประกันสุขภาพถ้วนหน้า-กรณีศึกษาจังหวัดจันทบุรี." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/172">http://hdl.handle.net/11228/172</a>. | |
.custom.total_download | 737 | |
.custom.downloaded_today | 1 | |
.custom.downloaded_this_month | 3 | |
.custom.downloaded_this_year | 94 | |
.custom.downloaded_fiscal_year | 16 |
ผลงานวิชาการเหล่านี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข หากมีการนำไปใช้อ้างอิง โปรดอ้างถึงสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข ในฐานะเจ้าของลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์สำหรับการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ |
Fulltext
This item appears in the following Collection(s)
-
สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ [161]
International Health Policy Program Foundation (IHPP)