แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

บทเรียนจากการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ

dc.contributor.authorเล็ก สมบัติen_US
dc.contributor.authorLek Sombaten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:51Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:44:48Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:51Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:44:48Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifierABSTRACT[ENGISH]/abs/res/hs1334e.docen_US
dc.identifierOn loan at HSRI libraryen_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1747en_US
dc.description.abstractการศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทเรียนจากการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างศักยภาพผู้บริโภคในภาคเหนือโดยการศึกษาพัฒนาการและปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อการก่อตัวของกลุ่มที่ดำเนินงานเพื่อเสริมสร้างพลังผู้บริโภค ศึกษาปรัชญา การทำงาน รูปแบบ กระบวนการจัดการองค์การ กลไก และแนวทางการทำงานของกลุ่ม เพื่อสังเคราะห์บทเรียนและข้อเสนอในการดำเนินการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ ใช้วิธีการศึกษาโดยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ที่ดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการกำหนดประเด็นและพรรณนาข้อมูลเพื่อนำเสนอตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ผลการศึกษา การดำเนินการของกลุ่มที่ดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคทั้ง 5 กลุ่มได้แก่ 1) ชมรมผู้ประกอบการร่วมใจใส่ใจผู้บริโภค อำเภอแม่ริม จังหวัดน่าน ที่ตระหนักในความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยการสนับสนุนให้กลุ่มผู้ประกอบการเข้ามาร่วมเป็นพลังในการคุ้มครองผู้บริโภค 2) ชมรมเกษตรธรรมชาติและอาหารปลอดภัย จังหวัดพิจิตร ที่มีความพอเพียงและมีการสรุปบทเรียนอย่างมีระบบและจัดกระบวนการถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชนและสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาทางความคิดที่ยั่งยืน 3) เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอดส์ จังหวัดแม่ฮ่องสอน ที่พัฒนากิจกรรมให้เกิดเป็นพลังของกลุ่ม พลังทางสุขภาพ และพลังทางสังคม จนเกิดเป็นเครือข่ายจากระดับปัจเจกสู่ระดับประเทศ เกิดภาคีความร่วมมือเพื่อการแก้ไขปัญหาของสังคมในที่สุด 4) กลุ่มเครือข่ายสิทธิผู้ป่วย อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เป็นการรวมพลังของกลุ่มผู้ประสบปัญหาสุขภาพจากสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ที่ต่อรองให้ได้รับการดูแลด้านสุขภาพและให้ได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้จากการสูญเสียที่เกิดขึ้น 5) ชมรมคุ้มครองผู้บริโภค จังหวัดเชียงราย ได้ดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและเท่าทัน ผ่านพลังสตรีในครอบครัวและในชุมชนแล้วสร้างเครือข่ายความร่วมมือไปสู่เด็ก เยาวชนในโรงเรียนและกลุ่มต่าง ๆ ในชุมชน กล่าวโดยสรุปบทเรียนจากการดำเนินงานด้านการเสริมสร้างพลังผู้บริโภคในภาคเหนือเกิดจากการที่ประชาชนประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ความยากจน การถูกละเมิดสิทธิ เป็นต้น โดยสาเหตุของปัญหามาจากการกำหนดนโยบายการพัฒนาภาครัฐ ที่เน้นการพัฒนาด้านเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาด้านสังคม ดังนั้นการดำเนินการของภาคประชาชนจึงเป็นลักษณะการขยายตัวอย่างช้าๆ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอกเพื่อความต่อเนื่องและยั่งยืนth_TH
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectConsumer Advocacyen_US
dc.subjectผู้บริโภคen_US
dc.subjectการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพen_US
dc.subjectภาคเหนือen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleบทเรียนจากการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมพลังผู้บริโภคในภาคเหนือth_TH
dc.title.alternativeObject lessons from the self-empowerment administration of consumers in Northern Thailanden_US
dc.identifier.callnoWA288 ล754บen_US
dc.subject.keywordEmpowermenten_US
dc.subject.keywordConsumeren_US
dc.subject.keywordพลังผู้บริโภคen_US
dc.subject.keywordชมรมผู้บริโภคen_US
dc.subject.keywordชมรมคุ้มครองผู้บริโภคen_US
.custom.citationเล็ก สมบัติ and Lek Sombat. "บทเรียนจากการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมพลังผู้บริโภคในภาคเหนือ." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1747">http://hdl.handle.net/11228/1747</a>.
.custom.total_download0
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year0
.custom.downloaded_fiscal_year0


ฉบับเต็ม

ไฟล์ขนาดรูปแบบดู

ขออภัย ไม่มีไฟล์ Full Text ติดต่อ 0 2027 9701 ต่อ 9038

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย