Show simple item record

Extra funding for universal healthcare coverage

dc.contributor.authorวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์th_TH
dc.contributor.authorWorawan Chanduaiywiten_US
dc.contributor.authorวิโรจน์ ณ ระนองth_TH
dc.contributor.authorWirot Na Ranongen_US
dc.contributor.authorMaslove, Allanen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:53Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:50:11Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:53Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:50:11Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.otherhs1203en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1753en_US
dc.descriptionชุดโครงการวิจัย การจัดทำข้อเสนอระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
dc.description.abstractระบบหลักประกันสุขภาพของประเทศไทยได้ผ่านการปฏิรูปครั้งสำคัญในปี 2544 เมื่อเริ่มมีการดำเนินการโครงการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือรู้จักกันดีในนามของ “โครงการ 30 บาท” ในฐานะที่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าถือได้ว่าเป็น entitlement program รัฐบาลจึงมีหน้าที่ที่จะต้องจัดสรรงบประมาณให้กับโครงการฯ ในระดับที่เพียงพอต่อมาตรฐานการรักษาพยาบาลที่ประชาชนพึงได้รับ ด้วยข้อจำกัดของเงินงบประมาณการที่รัฐจะสนับสนุนโครงการฯ ให้ได้มาตรฐานนั้น รัฐอาจจะต้องหารายได้เพิ่มเติม แนวทางที่รัฐจะสรรหางบประมาณส่วนเพิ่มเพื่อนำมาจัดสรรให้กับโครงการ 30 บาทนั้นอาจทำได้อย่างน้อยสองวิธีคือ 1. การลดค่าใช้จ่ายเงินงบประมาณด้วยการโยกย้ายผู้มีสิทธิรับสวัสดิการรักษาพยาบาลจากโครงการ 30 บาท (เช่น คู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนภายใต้สวัสดิการประกันสังคมและผู้ประกันตนที่เกษียณอายุและคู่สมรส) ไปยังสวัสดิการรักษาพยาบาลโครงการอื่นที่ให้ความคุ้มครองไม่น้อยกว่าโครงการ 30 บาท (เช่น สวัสดิการประกันสังคม) และ 2. การหารายได้เข้างบประมาณเพิ่มขึ้น เช่น จากการเก็บภาษีบางประเภทเพิ่ม หรือการให้ประชาชนบางกลุ่มมีส่วนร่วมจ่ายมากขึ้น แล้วจึงนำรายได้ที่เพิ่มขึ้นนั้นจัดสรรให้แก่สวัสดิการรักษาพยาบาลปี 2548-2552 ประมาณการว่าจะมีจำนวนผู้มีสิทธิในโครงการ 30 บาทประมาณ 50-52 ล้านคน ถ้าหากว่าค่าใช้จ่ายต่อหัวสำหรับสวัสดิการรักษาพยาบาลนี้เท่ากับ 2,000 บาทต่อหัวในปี 2548 และเพิ่มขึ้นตามอัตราการปรับเพิ่มของเงินเดือนข้าราชการในปีต่อๆ ไป จะทำให้จำนวนเงินที่ต้องการมาสนับสนุนโครงการฯ นี้เท่ากับประมาณ 1-1.36 แสนล้านบาท หรืองบที่ต้องการเพิ่มจากการจัดสรรโดยปกติเท่ากับประมาณ 3.1-4.6 หมื่นล้านบาทต่อปี ในช่วงปี 2548-2552 การโอนคู่สมรสและบุตรของผู้ประกันตนและผู้ประกันตนที่เกษียณอายุพร้อมทั้งคู่สมรสที่อายุ 55 ปีขึ้นไปออกจากโครงการ 30 บาท จะลดจำนวนผู้อยู่ภายใต้สวัสดิการรักษาพยาบาลโครงการ 30 บาท ประมาณ 6.7-7.2 ล้านคนในช่วงปี 2548-2552 และจะทำให้จำนวนเงินงบประมาณที่ใช้สำหรับโครงการ 30 บาทลดลง ดังนั้น ถ้าค่าใช้จ่ายต่อหัวเท่ากับ 2,000 บาทแล้วจำนวนเงินส่วนเพิ่มสำหรับโครงการ 30 บาท จะเท่ากับ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2548 และ 2.7 หมื่นล้านบาทในปี 2552 ถ้าหากรัฐต้องการหาเงินเพิ่มเติมจากการขึ้นภาษีสินค้า (เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ที่หลายฝ่ายได้พยายามเสนอ) ด้วยการปรับอัตราภาษีในปี 2548 พบว่า ถ้าขึ้นภาษีสรรพสามิตแอลกอฮอล์จากอัตราปัจจุบันอีกร้อยละ 40 รายได้จากภาษีสรรพสามิตจะเพิ่มขึ้นจำนวน 2.5 หมื่นล้านบาทในปี 2552 ถ้าขึ้นภาษีสรรพสามิตจากน้ำมันเชื้อเพลิงจากอัตราปัจจุบันอีกร้อยละ 30 รายได้จากภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นจำนวน 4.5 หมื่นล้านบาทในปี 2552 การขึ้นภาษีสรรพสามิตจากบุหรี่มิได้มีผลให้รายได้ของรัฐเพิ่มมากอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ กล่าวคือ การขึ้นอัตราภาษีสรรพสามิตของบุหรี่จากอัตราปัจจุบันอีกร้อยละ 70 จะทำให้รายได้จากภาษีสรรพสามิตเพิ่มขึ้นประมาณ 2 หมื่นล้านบาทในปี 2552 ทั้งนี้เนื่องจากการบริโภคบุหรี่ที่เสียภาษีที่ถูกกฎหมายนั้นมีค่าความยืดหยุ่นของราคาสูง และประมาณครึ่งหนึ่งของผู้สูบบุหรี่ซื้อบุหรี่ที่ไม่เสียภาษี ส่วนการขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มไปเป็นอัตราร้อยละ 10 จะทำให้รายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 1.4-2.0 แสนล้านบาทต่อปีในช่วงปี 2548-2552 การขึ้นอัตราภาษีสินค้านั้นไม่จำเป็นต้องเลือกขึ้นอัตราภาษีของสินค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง รัฐสามารถขึ้นอัตราภาษีจากสินค้าหลายประเภทได้ในขณะเดียวกัน ทั้งนี้ทำได้โดยประมาณให้ได้ผลรวมของรายรับเพียงพอต่อการบริการสาธารณะที่จะต้องใช้เงินเพิ่ม ในการศึกษานี้ได้ข้อสรุปว่า ภายใต้โครงสร้างภาษีสินค้าของไทยในปัจจุบันนั้นรัฐควรหารายได้เพิ่มด้วยการขึ้นภาษีสินค้าประเภทบันเทิง น้ำมันเชื้อเพลิง และเครื่องนุ่งห่ม ส่วนการขึ้นภาษีสินค้าชนิดอื่น (โดยเฉพาะภาษีบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์) จะยิ่งทำให้ราคาสัมพัทธ์บิดเบือนมากขึ้น และทำให้การจัดสรรทรัพยากรในระบบเศรษฐกิจด้อยประสิทธิภาพลงไปอีกซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อสวัสดิการของสังคมth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Insurance Systemsen_US
dc.subjectHealth Expenditureen_US
dc.subjectระบบประกันสุขภาพen_US
dc.subjectค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพen_US
dc.subjectระบบการเงินการคลังด้านสุขภาพ (Health Systems Financing)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleวิเคราะห์การหาแหล่งเงินเพิ่มเติมสำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าth_TH
dc.title.alternativeExtra funding for universal healthcare coverageen_US
dc.description.abstractalternativeThailand experienced a major healthcare reform in 2001 when the newly elected government launched the Universal Healthcare Coverage (UC) scheme, which is also known as the “30 Baht Healthcare Scheme.” As the UC scheme is an entitlement program, the government has responsibility to provide such program and maintain the quality of the program to meet the standard. Under the limited budget and commitment to many public programs, the government may have to find extra funding to finance the UC scheme. There are at least two possible directions for the UC extra funding: reducing the cost of the program by transferring people who are eligible for the UC program (e.g. spouse and children of insured persons under the Social Security scheme) to a preferable healthcare program (e.g. Social Security scheme), and raising government revenues by increasing tax rates or healthcare co-payment.During the period of 2005-09, we estimate that there will be 50-52 million UC eligible people. In 2005, the capitation cost required to maintain the standard of healthcare services is Bt2,000. When the capitation cost is indexed with the growth of public employee’s salary, the total cost of the UC scheme will be Bt100-136 billion in 2005-09. Compared with past budget allocation (when capitation rates were much lower), the extra funding required to finance the UC scheme will be Bt31-46 billion.When transferring spouse and children of insured persons under the Social Security or SS scheme (who are currently under the UC scheme) and allowing retirees of the SS scheme and their spouses to be under the healthcare program of the SS scheme, the total cost of the UC scheme would reduce. With the capitation cost of Bt2,000, the extra funding to finance the UC scheme would reduce to Bt17.6 billion in 2005 and Bt27.5 billion in 2009.The government can also raise extra revenues by increasing the commodity tax rates (e.g. taxes on alcoholic beverages and cigarette as recommended by many policy makers). When the excise tax rate on alcoholic beverage increases by 40 percent in 2005, additional government revenue raised from excise taxes will be Bt25 billion in 2009. In the same period, if the excise tax rate on fuel and gas increases by 30 percent, additional government revenue raised from excise taxes will be Bt45 billions. An increase in the tobacco tax rate by 70 percent will raise additional government revenue on excise taxes by only Bt20 billion. The additional tax rate on tobacco does not raise a large sum of government revenue because the price elasticity of consumption on taxed tobacco and cigarette is high. About half of the cigarette consumption was untaxed. In addition, an increase of value added tax (VAT) from 7 to 10 percent would raise Bt140-200 billions of VAT revenue during the period 2005-09.To raise tax revenues for the UC scheme, the government may choose to raise some combination of commodity tax rate just enough to cover the extra spending on the UC program. However, this study has shown that, under the existing commodity tax structure, the government should increase tax rates on entertainment, fuel and gas, and clothing. The marginal cost of public funds for alcoholic beverages and cigarette are high. Raising their tax rates will further distort the prices and deteriorate efficiency of resource allocation.en_US
dc.identifier.callnoW74 ว324ว 2549en_US
dc.identifier.contactno47ค064en_US
dc.subject.keywordUniversal Health Coverageen_US
dc.subject.keywordหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าen_US
.custom.citationวรวรรณ ชาญด้วยวิทย์, Worawan Chanduaiywit, วิโรจน์ ณ ระนอง, Wirot Na Ranong and Maslove, Allan. "วิเคราะห์การหาแหล่งเงินเพิ่มเติมสำหรับหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1753">http://hdl.handle.net/11228/1753</a>.
.custom.total_download79
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month1
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year2

Fulltext
Icon
Name: hs1203.pdf
Size: 1.876Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record