Show simple item record

Legal Aspeets of The Constitution on National Health System

dc.contributor.authorไพศาล ลิ้มสถิตย์en_US
dc.contributor.authorPaisan Limstiten_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:21:57Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:54Z
dc.date.available2008-12-04T05:21:57Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:54Z
dc.date.issued2550en_US
dc.identifierhs1357.zipen_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1764en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานวิจัยฉบับบสมบรูณ์ขอบเขตการปฏิบัติงานโครงการสังเคราะห์ความรู้เรื่อง "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ: มิติทางกฏหมาย"en_US
dc.description.abstractรายงานวิจัย ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ: มิติทางกฎหมาย ศึกษาธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติตามพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ซึ่งถูกกำหนดให้เป็นกรอบและแนวทางกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์และการดำเนินงานด้านสุขภาพของประเทศคือ เป็นกรอบกำหนดทิศทางระบบสุขภาพของประเทศ เพื่อทำให้ประชาชนมีสุขภาวะหรือสุขภาพอย่างสมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคมที่เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวม ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติไม่ถือเป็นกฎหมายตามแบบพิธีและไม่มีสภาพบังคับทางกฎหมาย แต่ก็มิได้หมายความว่าธรรมนูญฯ ซึ่งผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีแล้ว จะเป็นสิ่งที่ปราศจากความผูกพันใดๆ เนื่องจากพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติได้วางกลไกที่จะสร้างความผูกพันของหน่วยงานของรัฐไว้ ซึ่งจะทำให้เกิดผลผูกพันอย่างจริงจังต่อเมื่อเนื้อหาของธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติมีความเชื่อมโยงกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบัญญัติมาตรา 80 (2), มาตรา 75 , มาตรา 76 ในหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ กล่าวคือ จะต้องมีการผลักดันให้ธรรมนูญฯ เป็นส่วนหนึ่งของ “นโยบายรัฐบาล” และ “แผนการบริหารราชการแผ่นดิน” ของรัฐบาลที่จะมีผลผูกพันฝ่ายบริหารและส่วนราชการต่างๆ รวมถึง “แผนการตรากฎหมาย” ที่จำเป็นต่อการดำเนินการตามนโยบายและแผนการบริหารราชการแผ่นดิน บทบัญญัติเรื่องสิทธิและหน้าที่ด้านสุขภาพบางมาตรา รวมทั้งธรรมนูญฯตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ มีความเกี่ยวข้องกับบทบัญญัติในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน แนวทางที่จะทำให้เนื้อหาของธรรมนูญฯ มีผลผูกพันต่อหน่วยงานของรัฐอย่างจริงจังแน่นอน คือ การทำให้สาระสำคัญของธรรมนูญฯ เป็นเครื่องมือในการพัฒนากฎหมายด้านสุขภาพ คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติจะต้องร่วมกับสมัชชาสุขภาพและเครือข่ายสุขภาพ เพื่อผลักดันให้ประชาชนใช้สิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติต่อรัฐสภาตามมาตรา 163 ของรัฐธรรมนูญ จึงจะทำให้พระราชบัญญัตินี้กลายเป็นกฎหมายแม่บทสุขภาพสมดั่งเจตนารมณ์ของผู้มีส่วนยกร่างกฎหมาย ทั้งนี้ เนื้อหาของธรรมนูญฯ จะต้องสัมพันธ์กับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 – 2554) และแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2554) รวมถึงกรอบนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพต่างๆen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoth_THen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Lawen_US
dc.subjectHealth -- lawen_US
dc.subjectกฎหมายสาธารณสุขen_US
dc.subjectสุขภาพ--กฏหมายen_US
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ: มิติทางกฏหมายen_US
dc.title.alternativeLegal Aspeets of The Constitution on National Health Systemen_US
dc.identifier.callnoW84 พ996ธ 2550en_US
dc.identifier.contactno50ค004en_US
dc.subject.keywordNational Health Systemen_US
dc.subject.keywordพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติen_US
.custom.citationไพศาล ลิ้มสถิตย์ and Paisan Limstit. "ธรรมนูญว่าด้วยระบบสุขภาพแห่งชาติ: มิติทางกฏหมาย." 2550. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1764">http://hdl.handle.net/11228/1764</a>.
.custom.total_download187
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year5

Fulltext
Icon
Name: hs1357.pdf
Size: 10.43Mb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record