แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การศึกษาเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดี

dc.contributor.authorพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์th_TH
dc.contributor.authorPorapan Punyaratabandhuen_US
dc.contributor.authorอังสนา บุญธรรมth_TH
dc.contributor.authorมันทนา ประทีปะเสนth_TH
dc.contributor.authorชนินทร์ เจริญกุลth_TH
dc.contributor.authorกุลยา นาคสวัสดิ์th_TH
dc.contributor.authorชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัยth_TH
dc.contributor.authorAngsana Boonthumen_US
dc.contributor.authorMantana Pratipasenen_US
dc.contributor.authorChanin Chareonkulen_US
dc.contributor.authorKulaya Narksawaten_US
dc.contributor.authorChalerat Direkwatanachaien_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:26Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:18:18Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:26Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:18:18Z
dc.date.issued2548en_US
dc.identifier.otherhs1211en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1824
dc.descriptionชื่อหน้าปก : รายงานผลการวิจัยการศึกษาเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดีth_TH
dc.description.abstractการศึกษาเพื่อพัฒนาเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดี มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือการสร้างภาพลักษณ์ของคนไทยที่มีสุขภาพดีพร้อมทั้งร่างกาย จิตใจ สังคม และพฤติกรรมที่จะนำไปสู่การมีสุขภาวะในช่วงอายุต่อๆไปด้วยรวมทั้งการพัฒนาเครื่องชี้วัดที่จะวัดคุณสมบัติเหล่านี้ด้วย การพัฒนาได้เริ่มจากการศึกษาปัญหาสุขภาพที่สำคัญในแต่ละกลุ่มอายุของคนไทย ปัจจัยเสี่ยงหรือสาเหตุของปัญหาและปัจจัยคุ้มครองซึ่งได้สร้างเป็นเกณฑ์และเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดีตามอายุและเพศ รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนสภาวะสุขภาพด้วย จากนั้นขอความเห็นและข้อแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆที่เกี่ยวข้องรวม 32 ท่าน รวมทั้งเสนอต่อกลุ่มต่างๆในชุมชน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ, กลุ่มแม่บ้าน, ผู้นำชุมชน ฯลฯ เพื่อรับฟังความคิดเห็น และนำมารวบรวมเป็นเกณฑ์และเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดีในกลุ่มอายุตั้งแต่ วัยทารกและก่อนวัยเรียน (0-5 ปี) วัยเรียน (6-12 ปี) วัยรุ่น (13-18 ปี) วัยทำงาน (19-59 ปี) และวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) รวมทั้งสิ่งแวดล้อมที่สนับสนุนการมีสุขภาพดี คือคู่ครอง ครอบครัว โรงเรียน สถานที่ทำงานและชุมชน ได้นำเครื่องชี้วัดไปทดสอบความแม่นตรง และความเชื่อถือได้ พบว่าสามารถให้ความแม่นตรงในด้าน Content และ Constructed validity และมีความเชื่อถือได้อยู่ในระดับ 0.8 – 0.9 จากนั้นได้ปรับเครื่องชี้วัดเป็นแบบสอบถามเพื่อนำไปประเมินสุขภาวะของประชากรในจังหวัด 4 ภาคของประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร, น่าน, สระแก้ว, อำนาจเจริญ และยะลา รวมประชากรที่สำรวจ 13,803 คน ใน 3919 ครอบครัว ผลการสำรวจในภาพรวมแสดงให้เห็นว่าประชาชนไทยในทุกกลุ่มอายุมีสุขภาพด้านกายภาพรวมทั้งการได้รับบริการตรวจรักษาอยู่ในระดับใช้ได้ แต่ระดับสติปัญญา (IQ) ในเด็กนักเรียนประมาณครึ่งหนึ่ง ยังอยู่ในระดับต่ำกว่ามาตรฐาน นอกจากนี้ด้านพฤติกรรมอนามัย และพฤติกรรมที่ลดความเสี่ยงจากอุบัติภัย ยังมีประชากรในสัดส่วนที่น้อย (ร้อยละ 30 – 40) ที่ปฏิบัติได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ด้านความฉลาดทางอารมณ์มีแนวโน้มว่าจะมีปัญหาเกี่ยวกับ ความรับผิดชอบ ความพอใจในชีวิต และความสุขสงบทางใจ ในเด็กก่อนวัยเรียน (3 ขวบขึ้นไป) มีประมาณร้อยละ 30 ที่เริ่มใช้ความรุนแรงคือการรังแกเพื่อนและทำร้ายสัตว์ต่างๆ เป็นประจำซึ่งสอดคล้องกับครอบครัวร้อยละ 40 ที่ยอมรับว่ามีการใช้ความรุนแรงทางวาจาหรือทำร้ายร่างกายซึ่งกันและกันอยู่ ในโรงเรียนมีการสอนทักษะชีวิตในการแก้ปัญหา การปฏิเสธโดยไม่ใช้ความรุนแรงเพียงร้อยละ 58.8 ของโรงเรียนทั้งหมด ในสถานที่ทำงานมีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่ร้านค้าในสถานที่นั้นๆไม่จำหน่ายบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับชุมชนด้านกายภาพ เช่นถนน สาธารณูปโภคมีความครอบคลุม ร้อยละ 80 ขึ้นไป แต่ที่ยังพบน้อยคือระบบป้องกันอุบัติภัย การรักษาความปลอดภัยและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจร่วมกันของชุมชน ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่า เครื่องชี้วัดเหล่านี้สามารถแสดงสถานะสุขภาพในทางบวกของชุมชนได้ในระดับหนึ่งแต่ยังต้องการการศึกษาวิจัยต่อไปถึงความสามารถในการทำนายสุขภาพ (Predictive validity) และการปรับการวัดให้เป็นเชิงองค์รวมมากขึ้น นอกจากนี้กลุ่มผู้วิจัยยังได้ปรับเครื่องชี้วัดให้สั้นและง่ายขึ้นเหมาะสำหรับการใช้โดยประชากรหรือองค์กรชุมชนเพื่อประเมินสุขภาวะได้ด้วยตนเองth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipองค์การอนามัยโลกen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Behavioren_US
dc.subjectHealth Surveysen_US
dc.subjectHealth Status Indicatorsen_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectอนามัย, สุขภาพen_US
dc.subjectระบบสารสนเทศด้านสุขภาพ (Health Information Systems)th_TH
dc.titleการศึกษาเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดีth_TH
dc.title.alternativeThe study of healthy Thai indicatorsen_US
dc.identifier.callnoWA900 พ246ก 2548en_US
dc.identifier.contactno45ค027en_US
dc.subject.keywordHealthy Thai Indicatorsen_US
dc.subject.keywordDevelop indicators for healthy Thaien_US
.custom.citationพรพันธุ์ บุณยรัตพันธุ์, Porapan Punyaratabandhu, อังสนา บุญธรรม, มันทนา ประทีปะเสน, ชนินทร์ เจริญกุล, กุลยา นาคสวัสดิ์, ชลีรัตน์ ดิเรกวัฒนชัย, Angsana Boonthum, Mantana Pratipasen, Chanin Chareonkul, Kulaya Narksawat and Chalerat Direkwatanachai. "การศึกษาเครื่องชี้วัดคนไทยสุขภาพดี." 2548. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1824">http://hdl.handle.net/11228/1824</a>.
.custom.total_download241
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year3

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1211.pdf
ขนาด: 2.658Mb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย