แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม : กรณีศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.อุบลราชธานี

dc.contributor.authorจิรวัฒน์ มูลศาสตร์en_US
dc.contributor.authorJirawat Mulsaten_US
dc.contributor.authorอินทิรา เรืองสิทธิ์en_US
dc.contributor.authorรัชนี วีระสุขสวัสดิ์en_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:22:42Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:43:13Z
dc.date.available2008-12-04T05:22:42Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:43:13Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0817en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1861en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อทราบพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของนักเรียนมัธยม ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่งใน จ.อุบลราชธานี รวมทั้ง เหล้า, บุหรี่ โดยเน้นที่การใช้ยาบ้าหรือแอมเฟตามีน วิเคราะห์ถึงปัจจัยที่อาจส่งผลต่อพฤติกรรมดังกล่าว ลักษณะและความต่อเนื่องของพฤติกรรม ผลกระทบที่เกิดขึ้นตามมา รูปแบบและการจัดการกับปัญหานี้ในโรงเรียนที่ผ่านมา รูปแบบการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ กลุ่มนักเรียนมัธยมภายในโรงเรียนที่มีประสบการณ์การใช้สารเสพติด, ผู้ที่เคยทดลองใช้, ผู้ที่ใกล้ชิดกับการใช้ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน 10 คน) รวมทั้งกลุ่มครู อาจารย์ประจำชั้น/ที่ปรึกษา โดยการสนทนากลุ่ม (กลุ่มครู อาจารย์ 2 กลุ่ม, รวม 18 คน) ระหว่างเดือน สิงหาคม 2542-กุมภาพันธ์ 2543 วิเคราะห์ข้อมูลโดย การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างนักเรียนที่เป็นผู้ให้ข้อมูลสำคัญจะเริ่มต้นด้วยการดื่มเหล้า, เบียร์ ตามมาด้วย บุหรี่ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งมักจะอยู่ในช่วง ม.ต้น ส่วนยาบ้านั้นช่วงเวลาของการเริ่มต้นไม่แน่นอน ขึ้นกับโอกาสในการพบเห็นและการอยู่รวมกลุ่มกับเพื่อนที่มีการใช้ โดยแบบแผนของการเริ่มทดลองใช้จะคล้ายคลึงกัน คือ มีการรวมกลุ่มกัน (เที่ยวกลางคืน, งานเลี้ยง, วงเหล้า, โดดเรียน, ขาดเรียน) มีการพบเห็นจากเพื่อนหรือพี่ที่ใช้อยู่แล้ว จากนั้นจึงชักชวนกันทดลองหรือขอลองเอง มีการใช้ต่อเนื่องติดตามมาจากความพึงพอใจและพฤติกรรมการรวมกลุ่ม สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการใช้สารเสพติด โดยเฉพาะยาบ้าแล้ว ที่สำคัญที่สุด คือ ตนเอง ขณะที่ปัจจัยอื่นๆ นั้นเป็นเหตุผลทางอ้อมมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นสภาพแวดล้อม, บรรยากาศในโรงเรียน, สภาพครอบครัว, พฤติกรรมการรวมกลุ่ม, และการที่ได้ตัวยามาง่ายๆ ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการลดหรือเลิกใช้ คือ ความตั้งใจของตนเอง, การตัดสินใจเลิกใช้ของกลุ่มเพื่อน, พยายามเลี่ยงกลุ่มเพื่อนที่มีการใช้, การหายาบ้าได้ยากขึ้น, ไม่มีเงิน, การเข้ามาในโรงเรียนของตำรวจและการสุ่มตรวจปัสสาวะ ปัจจัยเหล่านี้ ส่งผลต่อความถี่บ่อยของการใช้ยาบ้าในแต่ละช่วงเวลา อย่างไรก็ตาม ในภาพรวมของเด็กนักเรียนมัธยมแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มีการใช้เป็นครั้งคราวสลับกับการใช้ประจำเป็นช่วงๆ เมื่อมีโอกาส ในกลุ่มผู้ที่มีการใช้ จะกล่าวว่า การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ แทบจะไม่มีผลกระทบใดๆ ต่อตนเอง ส่วนกรณียาบ้า แม้จะเห็นผลกระทบทั้งด้านร่างกายและพฤติกรรมในช่วงที่มีการใช้บ่อยขึ้น ได้แก่ พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในโรงเรียน, ผลการเรียนตกต่ำ, การใช้เงินมากขึ้น, และการโกหกผู้ปกครอง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายที่พบเป็นเพียงชั่วคราวเท่านั้นและไม่ใช่เรื่องสำคัญที่ต้องกังวล นอกจากนั้นก็ไม่พบว่ามีความผิดปกติหรืออาการทางจิตที่ชัดเจนถึงแม้ว่า กลุ่มตัวอย่างนักเรียนเหล่านี้จะมองว่าเรื่องสารเสพติดเป็นเรื่องที่พบได้ในช่วงชีวิตวัยรุ่น โดยเฉพาะเหล้า, เบียร์, บุหรี่ แทบจะเป็นสิ่งที่คู่กัน แต่กรณียาบ้าแล้ว หลายคนก็ยังมองว่าเป็นเรื่องเฉพาะบุคคลเท่านั้นเมื่อให้กลุ่มตัวอย่างประเมินสภาพการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม จะกล่าวว่า การดื่มเหล้า สูบบุหรี่ จะเริ่มในชั้น ม.2, ยาบ้าจะเริ่มเห็นในชั้น ม.3, จะพบการใช้มากที่สุดในทุกชนิดของสารในชั้น ม.4-ม.5, และเริ่มลดลงในชั้น ม.6 ชนิดของสารที่มีการใช้มากในนักเรียนชาย คือ เหล้า, บุหรี่, ยาบ้า ส่วนนักเรียนหญิง คือ เหล้า, ยาบ้า, บุหรี่ เรียงตามลำดับ ขณะที่สารระเหยหรือกาว ไม่พบว่ามีการใช้ในช่วง 1-2 ปี ที่ผ่านมาด้านการจัดการกับปัญหาสารเสพติดในโรงเรียน ส่วนใหญ่จะเป็นการรณรงค์ ให้ความรู้ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างนักเรียนกล่าวว่า ไม่ค่อยสนใจและให้ความร่วมมือมากนัก และไม่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้สารเสพติดของตน ส่วนรูปแบบการดำเนินการอื่นๆ ของทางโรงเรียนก็ไม่ชัดเจน ขณะที่นโยบายและแนวทางปฏิบัติของทางโรงเรียนก็ยังไม่มีความชัดเจนเช่นกันen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1014196 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectNarcoticsen_US
dc.subjectUbon Ratchathanien_US
dc.subjectพฤติกรรมสุขภาพen_US
dc.subjectยาเสพติดen_US
dc.subjectอุบลราชธานีen_US
dc.subjectปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ (Social Determinants of Health: SDH)th_TH
dc.titleพฤติกรรมการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม : กรณีศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.อุบลราชธานีen_US
dc.title.alternativePattern of substance use in high school students : a high school study in Ubonratchathanien_US
dc.description.abstractalternativePattern of Substance Use in High School Students: A High School Study in Ubonratchathani.The objective of this research is to study pattern of substance use in high school students; including alcohol, cigarette, and amphetamine especially. The factors associate to such behavior, progression of use, consequence, and management of substance use problem from the school were explored. The methodology of the study was a qualitative research. The study site was a high school in Ubonratchathani province, by purposive selection. Key-informants were the students who had experience in substance use or exposed to the user, and the teachers who were advisor of students. Data collection was done from August 1999 to February 2000, by in-depth interview (student 10 cases) and focus group discussion (teachers, 2 groups/18 cases). Then, the data was analyzed by content analysis method. For the key-informants, the student group, the substance use began from alcohol drinking and then cigarette smoking in a short period of time, between grade 7-9. The use of amphetamine came later, depend on the exposure opportunity to the user and participation with the user group. The pattern of use was similar in each key-informant; initiate from group participation, expose to peer or sibling whom experienced of use, and then ask to try or encouraged by peers. Continue of use was follow because of pleasure and group participation. The significant factor associated with substance use, especially amphetamine use, was their own while the others were influence indirectly; such as social and school environment, family role and status, group participation, and availability of substance. And the factors associated with lowering of use or abstinence were intention of themselves and/or peer group to quit, avoidance from the user group, difficulty in drug seeking, less of money, appearance of the police in school and urinary testing for substance use. These factors influenced frequency of use by the time. However, among high school users, recreational or occasional use with regular use at times were the majority of them. Among the user, it was no significant impact while taking alcohol and/or cigarette. But in case of amphetamine, there were both behavioral and physical changes when the frequent of use was increase. Behavioral changes might be delinquent or problem behaviors in school, alter school performance, use much more money, and lie their parents. From their viewpoint, physical changes were transient and no significant to worry about it. And no psychiatric sign and symptom or disorder was appearing. In opinion of student group, although alcohol drinking or cigarette smoking seems to be a part of adolescent life, but amphetamine use was only individual behavior. When the situation about substance use in high school to be asked, the key-informants said that alcohol drinking and cigarette smoking initiated in grade 8, amphetamine use by smoking appeared in grade 9, the user rate increased in all type of substances between grade 10 and 11, and then decreased in grade 12. The favorite substances in boys were alcohol, cigarette, and amphetamine; while in girls were alcohol, amphetamine, and cigarette respectively. And evidence of inhalant or glue was not found in last 1-2 years. About programs against substance use problem in school such as campaign or education, there were not interested and less participation from the user group and not influence their substance use behavior. In addition, it was no other action plan or relevance program from the school while the policy and strategy were not clear defined.en_US
dc.identifier.callnoHV5840.T5 จ512พ 2544en_US
dc.subject.keywordSubstance useen_US
dc.subject.keywordสารเสพติดen_US
.custom.citationจิรวัฒน์ มูลศาสตร์, Jirawat Mulsat, อินทิรา เรืองสิทธิ์ and รัชนี วีระสุขสวัสดิ์. "พฤติกรรมการใช้สารเสพติดในนักเรียนมัธยม : กรณีศึกษาในโรงเรียนแห่งหนึ่ง จ.อุบลราชธานี." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1861">http://hdl.handle.net/11228/1861</a>.
.custom.total_download319
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year3
.custom.downloaded_fiscal_year9

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0817.pdf
ขนาด: 727.6Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย