แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

ลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน

dc.contributor.authorเพชร รอดอารีย์th_TH
dc.contributor.authorPhet Rotareeen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:18Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:49:29Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:18Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:49:29Z
dc.date.issued2547en_US
dc.identifier.otherhs1141en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1938en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อศึกษาความชุกของโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน ความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนของเบาหวาน และประเมินคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน รูปแบบการวิจัย การดําเนินการวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive research) เป็นการศึกษา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (Cross-sectional study) กลุ่มตัวอย่าง ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานโดยใช้เกณฑ์ Fasting plasma glucose มากกว่าหรือเท่ากับ 126 mg/dl อย่างน้อย 2 ครั้งขึ้นไป หรือ Plasma glucose ที่ 2 ชั่วโมง หลังทําการทดสอบความทนกลูโคสโดยใช้กลูโคส 75 กรัม มากกว่าหรือเท่ากับ 200 mg/dl ขนาดกลุ่มตัวอย่างจํานวน 8,360 ราย วิธีดําเนินการวิจัยการเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบบันทึกข้อมูล (case record form : CRF) ซึ่งออกแบบและปรับปรุงโดยคณะผู้วิจัย, database designer, นักชีวสถิติ และ data entry operator แหล่งข้อมูลปฐมภูมิได้จากการซักประวัติข้อมูลส่วนบุคคล, ประวัติความเจ็บป่วยและการตรวจร่างกาย แหล่งข้อมูลทุติยภูมิได้จากแฟ้มประวัติผู้ป่วยได้แก่ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการ, ประวัติการรักษาผลการวิจัย เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังที่พบทั่วโลก ทําให้เกิดโรคแทรกซ้อนของระบบไหลเวียนโลหิตทั้ง microvascular และ macrovascular ส่งผลให้เกิดการสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาและตายมาก จึงจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องควบคุมโรคเบาหวาน เพื่อป้องกันโรคร่วมและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อน ได้มีมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและยอมรับกันทั่วโลก ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะต้องหาข้อมูล เกี่ยวกับมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยเบาหวานในประเทศไทย จึงเกิดการรวมกลุ่มวิจัยสหสถาบันเพื่อลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานในคลีนิกเบาหวาน ทั้งหมด 11 สถาบันในกรุงเทพมหานคร เชียงใหม่ นครราชสีมา และสงขลา ระยะเวลาในการดําเนินการตั้งแต่ เดือนเมษายน 2546 – ธันวาคม 2546 จํานวนผู้ป่วยเบาหวานที่ลงทะเบียนทั้งสิ้น 9,419 ราย ผลการศึกษาพบว่า ร้อยละ 91.7 มีอายุมากกว่า 40 ปี ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.9 ทางด้านของข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐานะ พบว่าผู้ป่วยมากกว่าครึ่งมีการศึกษาระดับประถมศึกษาหรือต่ำกว่า และว่างงาน แต่กระนั้นผู้ป่วยมากกว่าร้อยละ 70 ใช้สิทธิค่ารักษาพยาบาลจากทางราชการ ประเภทของผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 พบร้อยละ 4.5 เบาหวานชนิดที่ 2 พบร้อยละ 36. 29 ร้อยละ 94.6 ส่วนเบาหวานชนิดอื่นๆ พบร้อยละ 0.9 ระยะเวลาที่ผู้ป่วยเป็นเบาหวานนานกว่า 10 ปี พบร้อยละ 38.9 ผู้ป่วยเบาหวานส่วนใหญ่ไม่สูบบุหรี่ คิดเป็นร้อยละ 80 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด พบว่ามากกว่าครึ่งที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ พบร้อยละ 61.8 ที่มี asting plasma glucose มากกว่า 130 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และร้อยละ 69.34 ที่มี HbA1c มากกว่า 7 % การวิเคราะห์ไขมันแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยเบาหวาน ร้อยละ 63.3 มีระดับ LDL มากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร และพบประมาณร้อยละ 32.2 ที่มีระดับ HDL และ Triglycerides ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับกัน เมื่อพิจารณาภาวะแทรกซ้อน พบความชุกของโรค retinopathy ร้อยละ 23.3 แต่อย่างไรก็ดีในการศึกษานี้มีผู้ป่วยถึงร้อยละ 24.4 ที่ไม่ได้รับการประเมินโรค retinopathy และประมาณครึ่งหนึ่งที่ไม่ได้รับ การประเมิน nephropathy ในผู้ป่วยที่ได้รับการประเมิน nephropathy พบว่า ร้อยละ 24 ที่เป็น nephropathy นอกจากนั้นยังพบว่า ร้อยละ 5.9 ที่ผู้ป่วยมีประวัติเป็นแผลที่เท้า และร้อยละ 1.6 ถูกตัดเท้าหรือนิ้วเท้า ความชุกของโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ความดันโลหิตสูง และไขมันในหลอดเลือดสูง พบร้อยละ 8.2, 4.4, 63.6 และ 73.3 ตามลําดับ ข้อมูลเกี่ยวกับยารักษาเบาหวานที่ใช้ พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 29 ใช้ Insulin ยาเบาหวานที่นิยมใช้มากที่สุด เป็นการใช้ยาร่วมกันระหว่าง sulonylurea ร่วมกับ metformin พบร้อยละ 37 ยาควบคุมความดันโลหิตสูง ที่นิยมใช้ คือ ACE-I และ Diuretic ร้อยละ 6.5 ยาลดไขมันพบว่าผู้ป่วยที่ลงทะเบียนใช้ร้อยละ 54 และพบว่า ผู้ป่วยที่เป็นโรคไขมันในเส้นเลือดสูงได้รับการรักษายาลดไขมันร้อยละ 74.5 การใช้สมุนไพรในผู้ป่วยเบาหวานที่ลงทะเบียน ทั้งหมดพบว่า เคยใช้ ร้อยละ 22.3 และปัจจุบันใช้อยู่ร้อยละ 10.9 สรุป จากผลการวิจัยครั้งนี้ พบว่า โรคแทรกซ้อนของเบาหวานที่พบมาก สามอันดับแรก ภาวะแทรกซ้อนทางไต ต้อกระจก ภาวะแทรกซ้อนที่เรตินาของตา ความชุกของปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อน ของเบาหวาน และประเมินคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยเบาหวานใหญ่ยังไม่ได้รับการประเมินเกี่ยวกับตาและไตth_TH
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.description.sponsorshipโครงการเครือข่ายประสานงานวิจัยร่วมสหสถาบันen_US
dc.description.sponsorshipสมาคมต่อมไร้ท่อแห่งประเทศไทยen_US
dc.format.extent1178766 bytesen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectDiabetes Mellitusen_US
dc.subjectเบาหวานen_US
dc.subjectการบริการสุขภาพ (Health Service Delivery)th_TH
dc.subjectภาวะผู้นำและการอภิบาล (Leadership and Governance)th_TH
dc.titleลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวานth_TH
dc.title.alternativeDiabetes Registry Project 2003en_US
dc.description.abstractalternativeDiabetes is a common chronic disease world wide. Its long term complications both microvascular and macrovascular lead to increased medical expenses, hospitalization and death in diabetic patients. It is proven that intensive control of diabetes and its comorbidities prevent or delay its complications, and the standard of care for diabetes has been established and widely accepted. Therefore, it is important to document the current status of diabetic care and complications in Thailand. We conducted a multicenter registry in diabetic clinics of 11 tertiary centers in Bangkok and major provinces. The registry collected data from April-December 2003. There were total of 9419 diabetic patients. The majority of patients were older than 40 year-old (91.7 %) and 65.9% were female. With respect to socioeconomic status, more than half of the patients had only preliminary education or less and not currently working, nevertheless more than 70% had health care coverage. The registry comprised of type1, 4.5%, type2, 94.6% and others 0.9%. The data also showed that 38.9% of the patients had diabetes more than 10 years, and almost 80% were non-smoker. For glycemic control, more than half had inadequate control: 61.8% had fasting plasma glucose > 130 mg/dl and 69.34% had HbA1C > 7%. The analysis of lipids profile revealed that 63.3% had LDL > 100 mg/dl, interestingly only approximately 32.2% had levels of HDL and triglycerides out of the recommended ranges. With regard to complications, the data showed prevalence of retinopathy of various degrees in 23.3%, but 24.4% of the registry did not received evaluation. Almost half of the patients also had not been adequately assessed for nephropathy, for those who had evaluation, 34.9% had some degree of nephropathy. 5.9% of the patients reported a history of foot ulcers, and 1.6% had had amputation. The prevalence of coronary disease, stroke, hypertension and dyslipidemia were 8.2%, 4.4%, 63.6% and 73.3% respectively. Medication usage data showed that 29% of the patients use insulin. The most commonly prescribed regimen was a combination of sufonylurea and metformin (37%) for hypoglycemic agents, and ACE-I and diuretic (6.5%) for antihypertensive. Lipid lowering drugs were prescribed in 54% of the registry which would reflected that 74.5% of dyslipidemia patients received treatment. Non-prescribed herbal preparation was used at one time in at least 33% of the registered patients.Conclusion: The majority of the patients in this registry had unsatisfactory control ofdiabetes and other risk factors for development of long term complications. Screening for early retinopathy and nephropathy also was insufficient. There should be additional process or system to improve care for diabetes.en_US
dc.identifier.callnoWK810 พ873ค 2547en_US
dc.identifier.contactno46ค028en_US
dc.subject.keywordผู้ป่วยเบาหวาน, ทะเบียนen_US
.custom.citationเพชร รอดอารีย์ and Phet Rotaree. "ลงทะเบียนผู้ป่วยเบาหวาน." 2547. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1938">http://hdl.handle.net/11228/1938</a>.
.custom.total_download113
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year1
.custom.downloaded_fiscal_year7

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs1141.pdf
ขนาด: 694.9Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย