แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย

การหาแนวทางพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลสิรินธร : กรณีศึกษาชุมชนริมเขื่อน

dc.contributor.authorวิยะดา ฆารวิพัฒน์en_US
dc.contributor.authorWiyada Karwipaten_US
dc.contributor.authorอัญชลี แสนอ้วนen_US
dc.contributor.authorนาฏนภา สมโสภาen_US
dc.contributor.authorธนาวุฒิ พรมดีen_US
dc.contributor.authorรัศมีแข ยิ่งอำนวยชัยen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:23:40Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:45:52Z
dc.date.available2008-12-04T05:23:40Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:45:52Z
dc.date.issued2544en_US
dc.identifier.otherhs0773en-EN
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/1977en_US
dc.description.abstractการหาแนวทางพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลสิรินธร : กรณีศึกษาชุมชนริมเขื่อน การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการศึกษาชุมชนแบบการประเมินสภาวะชนบทแบบเร่งด่วน(Rapid Rural Appraisal-RRA) มีวัตถุประสงค์เพื่อหารูปแบบการบริการสาธารณสุข ด้านการส่งเสริมสุขภาพของโรงพยาบาลสำหรับชุมชนริมเขื่อน ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติและการรับรู้ของชุมชน ใช้การสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (Semi-structured Interview)เก็บรวบรวมข้อมูล โดยสัมภาษณ์ผู้รู้ในชุมชน และผู้รู้ในระดับครอบครัว ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ร่วมกันในเชิงเนื้อหาแล้วนำไปให้ชุมชนร่วมตรวจสอบ ผลการวิจัยพบว่า ชุมชนริมเขื่อนมีสภาพกายภาพที่แห้งแล้ง ไม่มีที่นา และที่ดินทำกินเป็นของตนเอง ชาวบ้านมีอาชีพหลักคือ อาชีพรับจ้างทั่วไป เป็นชุมชนที่ต้องพึ่งพิงจากภายนอกสูง ทั้งเชิงอาชีพและอาหารที่ต้องหาจากนอกชุมชน ชุมชนมีแบบแผนการรักษาพยาบาลเมื่อเกิดการเจ็บป่วยอยู่ 3 รูปแบบ โดยจำแนกตามรูปแบบของการเจ็บป่วย ได้แก่ การเจ็บป่วยฉุกเฉิน การเจ็บป่วยเรื้อรัง และการเจ็บป่วยทั่วไป ซึ่งแต่ละแบบมีการรับรู้และแบบแผนการรักษาที่แตกต่างกันไป นอกจากนี้ชาวบ้านยังมีความเข้าใจผิดและการรับรู้ในด้านพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพอยู่บางประการ โดยเฉพาะที่เป็นความเชื่อที่ได้สืบต่อกันมา เช่น การใช้ยาปฏิชีวนะในการรักษาโรคทุกอย่าง การเลี้ยงดูทารกด้วยนมข้นหวาน เป็นต้น เมื่อศึกษาถึงแนวทางที่ชุมชนและโรงพยาบาลจะร่วมมือกันในการดำเนินงานด้านการส่งเสริมสุขภาพ พบว่าผู้ที่มีบทบาทสำคัญ ได้แก่ ชาวบ้าน ผู้นำหมู่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และบุคลากรของโรงพยาบาลหรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข โดยชาวบ้านตระหนักและเห็นความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพ และเห็นว่าควรได้รับความรู้เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่ถูกต้อง และเน้นการพัฒนา อสม. ให้มีความน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น ควรเน้นการสร้างเครือข่ายสุขภาพในชุมชน ให้ความรู้เรื่องการใช้ยา เน้นการให้สุขศึกษาที่สอดคล้องกับปัญหาของชุมชน ขณะเดียวกันโรงพยาบาลควรเน้นการพัฒนาระบบบริการเชิงรุก โดยมีทีมงานเพื่อทำงานร่วมกับชุมชนen_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.format.extent1036075 bytesen_US
dc.format.mimetypeapplication/octet-streamen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Servicesen_US
dc.subjectโรงพยาบาลสิรินธร--บริการสาธารณสุขen_US
dc.subjectการบริหารสาธารณสุขen_US
dc.subjectระบบบริการสุขภาพen_US
dc.subjectโรงพยาบาลสิรินธร--การส่งเสริมสุขภาพen_US
dc.subjectการวิจัยเชิงคุณภาพen_US
dc.subjectการบริการสาธารณสุขen_US
dc.titleการหาแนวทางพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลสิรินธร : กรณีศึกษาชุมชนริมเขื่อนen_US
dc.title.alternativeSearch for methods to develop the health service model at Sirinthorn hospitals : a case study of the community by the damen_US
dc.description.abstractalternativeSearch for Methods to Develop the Health Service Model at Sirinthorn Hospital : A Case Study of the Community by the Dam. This study is a qualitative study and uses the Rapid Rural Appraisal (RRA) technique to study a community. The purpose is to find a model for the public health service for the promotion of health in the hospital for the community around the dam, so that is consistent with the operating principles and accepted by the community. Semi-structured interview was used to collect information by interviewing informants in the community and informants at the family level. The data obtained was analyzed collectively for content, and then taken to the community for approval. The results of the study were that the community around the dam was in a drought area, without rice fields and without their own land for farming for their living. The main occupation of the inhabitants of the area was general labourer. It is a community which is strongly dependent on outside, both for occupation and food which must be found outside the community. People in the community have 3 forms of treatment seeking behaviour when sick, which can be separated depending on type of illness: emergency illness, chronic illness and general illness. Each type of illness has its own pattern of acceptance and treatment. Villagers still having wrong understanding and acceptance with regard to health promotion behaviour in some aspects, especially some old beliefs such as using anti-biotics for the treatment of all diseases,using condensed milk for rearing babies etc. When studying ways in which the community and the hospital can collaborate in implementation of health promotion work, it was found that people with an important role were villagers, village leaders, village health volunteers and hospital personnel or public health officers. Villagers realize and see the importance of health promotion and see that they should be educated to create correct behaviour and stress the development of village health volunteers so that they have greater credibility. The setting up of a health network should be stressed in the community, as well as giving information about using medicine, and stressing health education which is consistent with the needs of the community. Also, the hospital should stress the development of an aggressive service system, with an active team working with the community.en_US
dc.identifier.callnoW84 ว676ก 2544en_US
dc.subject.keywordQualitative studyen_US
dc.subject.keywordHealth Promotionen_US
dc.subject.keywordRapid Rural Appraisal (RRA)en_US
dc.subject.keywordบริการสาธารณสุขen_US
dc.subject.keywordโรงพยาบาลสิรินธรen_US
.custom.citationวิยะดา ฆารวิพัฒน์, Wiyada Karwipat, อัญชลี แสนอ้วน, นาฏนภา สมโสภา, ธนาวุฒิ พรมดี and รัศมีแข ยิ่งอำนวยชัย. "การหาแนวทางพัฒนารูปแบบการบริการสาธารณสุขของโรงพยาบาลสิรินธร : กรณีศึกษาชุมชนริมเขื่อน." 2544. <a href="http://hdl.handle.net/11228/1977">http://hdl.handle.net/11228/1977</a>.
.custom.total_download90
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month2
.custom.downloaded_this_year2
.custom.downloaded_fiscal_year2

ฉบับเต็ม
Icon
ชื่อ: hs0773.pdf
ขนาด: 890.5Kb
รูปแบบ: PDF
 

ชิ้นงานนี้ปรากฎในคอลเล็คชั่นต่อไปนี้

แสดงรายการชิ้นงานแบบง่าย