Show simple item record

Models of health publication communication development and health publication communicators development

dc.contributor.authorบุญเรือง เนียมหอมen_US
dc.contributor.authorBoonruang Niamhomen_US
dc.contributor.authorกำพล ดำรงค์วงศ์en_US
dc.contributor.authorKampol Dumrongworngen_US
dc.coverage.spatialthen_US
dc.date.accessioned2008-12-04T05:24:13Zen_US
dc.date.accessioned2557-04-17T00:38:35Z
dc.date.available2008-12-04T05:24:13Zen_US
dc.date.available2557-04-17T00:38:35Z
dc.date.issued2549en_US
dc.identifier.urihttp://hdl.handle.net/11228/2051en_US
dc.descriptionชื่อหน้าปก: รายงานการวิจัยเรื่องรูปแบบการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพและนักสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์en_US
dc.descriptionงานวิจัยในชุดโครงการ "สังเคราะห์ระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพเพื่อประชาชน" แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชน(รสส.)en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ในการวิจัย เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการและขั้นตอนผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพของผู้เชี่ยวชาญด้านการสื่อสารสุขภาพ 2) ศึกษาความคิดเห็นของนักสื่อสารสุขภาพเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาชน 3) นำเสนอรูปแบบการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์เพื่อประชาชน และรูปแบบการพัฒนานักสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์ 4) นำเสนอรูปแบบการฝึกอบรมนักสื่อสารสุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ตในเรื่องทักษะการเขียนและการสืบค้นข้อมูลสุขภาพ และ 5) ประเมินและติดตามผลการใช้รูปแบบการฝึกอบรมนักสื่อสารสุขภาพผ่านอินเทอร์เน็ต กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยนักสื่อสารสุขภาพ 20 คน นักเขียนทดลองฝึกปฏิบัติการเขียนสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ จำนวน 9 คน และเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการสาธารณสุขที่เข้ารับการฝึกอบรมบนเว็บ จำนวน 32 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินรูปแบบการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพและนักสื่อสารสุขภาพ แบบประเมินผลงานเขียน เว็บไซต์การฝึกอบรม และ แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมบนเว็บ สรุปผลการวิจัย 1 รูปแบบการเขียนของนักสื่อสารสุขภาพ ประกอบด้วยปัจจัยที่ส่งเสริมการเขียน การวางแผนการเขียน ดำเนินการเขียน การประเมินผล และการเผยแพร่ สำหรับกระบวนการและขั้นตอนการเขียนบทความ สารคดี เริ่มจากการวางโครงเรื่อง นำข้อมูลมาจัดหมวดหมู่ตามโครงเรื่อง ต่อมาจึงเรียบเรียงต้นฉบับ ใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย น่าอ่าน มีพลัง ขั้นสุดท้ายจะนำเสนอความคิดเห็น ส่วนการเขียนเรื่องสั้นเริ่มจากการวางโครงเรื่อง โดยกำหนดตัวละคร ฉาก สถานการณ์ สร้างความขัดแย้งในเรื่อง สอดแทรกเนื้อหาสาระ เลือกมุมมองในการเดินเรื่อง หาแก่นหรือสาระสำคัญของเรื่อง จากนั้นจึงดำเนินเรื่องโดยเรียบเรียงข้อมูล บทสนทนา เริ่มจากการเปิดเรื่อง ดำเนินเรื่อง และ ปิดเรื่อง เป็นการคลี่คลายของเรื่อง ขั้นสุดท้ายเป็นการตรวจสอบแก้ไขเพิ่มเติมโดยเลือกใช้สำนวน โวหาร ใช้ภาษาเพื่อเร้าใจ ดึงดูดผู้อ่าน หรือ แทรกอารมณ์ขัน สำหรับการ์ตูนใช้หลักการเดียวกับเรื่องสั้น บทสนทนาหรือคำพูดต้องสั้น แต่ได้ใจความ ข้อความบรรยายใช้เท่าที่จำเป็น ภาพต้องสื่ออารมณ์ ความรู้สึก 2. รูปแบบการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์เป็นกระบวนการพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการเขียน ได้แก่ 1) ผู้จัดพิมพ์จะต้องได้รับการพัฒนาส่งเสริมให้มีศักยภาพในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพที่มีคุณภาพ เนื้อหาถูกต้อง น่าเชื่อถือ 2) ระบบการเผยแพร่สื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ จะต้องมีกลไกนำสื่อสิ่งพิมพ์ไปถึงประชาชน ไปสู่แหล่งเรียนรู้ และศูนย์ข้อมูลต่างๆ อย่างทั่วถึง 3) ประชาชนผู้อ่านควรได้รับการพัฒนาส่งเสริมในเรื่องการอ่าน นิสัยรักการอ่าน และการเข้าถึงสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพ 4) แหล่งเรียนรู้ ห้องสมุดในชุมชน จัดเป็นแหล่งเก็บรวบรวมเผยแพร่ความรู้ ด้านสุขภาพที่ประชาชนสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยตรง องค์กรที่รับผิดชอบจะต้องร่วมกันพัฒนาแหล่งเรียนรู้ สนับสนุนปัจจัยการพัฒนาโดยจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพให้กับแหล่งเรียนรู้ในชุมชน ห้องสมุดประชาชนอย่างทั่วถึงและเพียงพอ 5) พัฒนาเครือข่ายการสื่อสารสุขภาพ ได้แก่สถาบันวิจัยด้านสุขภาพ ศูนย์ข้อมูลข่าวสารสุขภาพ ให้เป็นแหล่งค้นคว้าวิจัย เพื่ออำนวยประโยชน์ในการการเขียนของนักสื่อสารสุขภาพ ในขณะเดียวกันควรจัดตั้งองค์กร ชมรม หรือสมาคมนักสื่อสารสุขภาพ เพื่อให้ความรู้ ให้คำปรึกษาการเขียน 3. รูปแบบการพัฒนานักสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์ มีองค์ประกอบสำคัญคือ 1) การพัฒนาปัจจัยการเป็นนักสื่อสารสุขภาพ 2) การพัฒนาด้วยรูปแบบการศึกษาในระบบ โดยจัดทำหลักสูตร การเรียนการสอนสาขาวิชาการสื่อสารสุขภาพ ในสถาบันอุดมศึกษา ในสาขาวิชานิเทศศาสตร์ สื่อสารมวลชน หรือสาธารณสุขศาสตร์ 3) การพัฒนาด้วยรูปแบบการศึกษานอกระบบได้แก่การฝึกอบรม การประชุม สัมมนาเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นและวิพากษ์ วิจารณ์ผลงานเขียน 4) การพัฒนาด้วยรูปแบบการศึกษาตามอัธยาศัย โดยจัดสภาพแวดล้อมหรือบริบทให้อำนวยความสะดวกแก่นักสื่อสารสุขภาพ เช่น การจัดแหล่งเรียนรู้ การจัดตั้งเครือข่ายนักสื่อสารสุขภาพ ชมรมหรือสมาคมนักสื่อสารสุขภาพเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ให้คำปรึกษาในการเขียน 5) การพัฒนานักสื่อสารสุขภาพด้วยปัจจัยทางการเงิน โดยจัดสรรงบประมาณหรือจัดตั้งกองทุนสนับสนุนการเขียน การจัดพิมพ์ และเผยแพร่ 6) การติดตาม และประเมินผลการพัฒนา 4. รูปแบบการฝึกอบรมบนเว็บเรื่องทักษะการเขียน ใช้วิธีการฝึกอบรมแบบผสมผสาน คือฝึกอบรมในห้องเรียน และฝึกอบรมบนเว็บให้เรียนรู้ด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติการเขียนสารคดีและเรื่องสั้นสุขภาพ การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้บนเว็บใช้แนวคิดการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองเป็นฐาน 5. การติดตามผลการฝึกอบรมบนเว็บ พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แสดงความคิดเห็นในระดับมาก กลุ่มตัวอย่างมีความรู้และทักษะการเขียนเพิ่มขึ้น สามารถนำความรู้ที่ได้รับการฝึกอบรมบนเว็บไปใช้ในการเขียนบทความหรือสารคดีเพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับประชาชนได้ แต่การนำความรู้และประสบการณ์ไปเขียนเรื่องสั้นสุขภาพยังอยู่ระดับต่ำ 6. หน่วยงานที่ควรรับผิดชอบในการจัดการฝึกอบรมทักษะการเขียนสื่อสิ่งพิมพ์สุขภาพในอนาคต ได้แก่ สถาบันการศึกษาทางสาขาวิชาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ รองลงมาเป็นสาขาวิชาสื่อสารมวลชน หรือนิเทศศาสตร์en_US
dc.description.sponsorshipสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.languagethaen_US
dc.language.isoen_USen_US
dc.publisherสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขen_US
dc.subjectHealth Communication Systemsen_US
dc.subjectCommunicationen_US
dc.subjectระบบสื่อสารสุขภาพen_US
dc.subjectกำลังคนด้านสุขภาพ (Health Workforce)th_TH
dc.titleรูปแบบการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพและนักสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์en_US
dc.title.alternativeModels of health publication communication development and health publication communicators developmenten_US
dc.identifier.callnoWA590 บ548ร 2549en_US
dc.identifier.contactno48ข049-3en_US
dc.subject.keywordHealth Publication Communicationen_US
dc.subject.keywordHealth Publication Communicatorsen_US
dc.subject.keywordHealth Publicationen_US
dc.subject.keywordการสื่อสารสุขภาพen_US
dc.subject.keywordนักสื่อสารสุขภาพen_US
dc.subject.keywordสื่อสิ่งพิมพ์en_US
.custom.citationบุญเรือง เนียมหอม, Boonruang Niamhom, กำพล ดำรงค์วงศ์ and Kampol Dumrongworng. "รูปแบบการพัฒนาการสื่อสารสุขภาพและนักสื่อสารสุขภาพด้านสื่อสิ่งพิมพ์." 2549. <a href="http://hdl.handle.net/11228/2051">http://hdl.handle.net/11228/2051</a>.
.custom.total_download353
.custom.downloaded_today0
.custom.downloaded_this_month0
.custom.downloaded_this_year12
.custom.downloaded_fiscal_year1

Fulltext
Icon
Name: hs1340.pdf
Size: 815.9Kb
Format: PDF
 

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record